อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เป็นความหวังของการขับเคลื่อนประเทศไทย ให้เป็นชาติผู้นำในระดับภูมิภาค ในฐานะฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ทว่าหนึ่งในอุปสรรคใหญ่ที่เป็นข้อเสียเปรียบประเทศอื่นหลายๆ แห่ง นั่นคือ ประเทศไทยไม่มีแหล่งทรัพยากรแร่ลิเทียม จำเป็นต้องพึ่งการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งทั่วโลกยังมีปริมาณจำกัด ราคาสูง จนกระทั่งนักวิจัยไทยจาก สวทช. ได้ผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าทางเลือก ที่ผลิตจากหลากหลายทรัพยากรวัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศจำนวนมาก ซึ่งแต่ละชนิดมีจุดเด่น ไม่แพ้ “ลิเทียม” ที่ใช้กันอยู่ตอนนี้
ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ชี้ให้เห็นถึงจุดด้อยของ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ที่ทั่วโลกใช้กันอยู่ว่า แม้จะมีน้ำหนักเบาและความจุไฟฟ้าสูง แต่มีข้อเสียเรื่องความปลอดภัย เพราะแบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถติดไฟและระเบิดได้ตามที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งยังมีส่วนผสมของโลหะหนักที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
นี่จึงเป็นสาเหตุให้ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม พัฒนา “แบตเตอรี่สังกะสีไอออน” ให้เป็น แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า ทางเลือกใหม่ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งพร้อมต่อยอดสู่การตั้งโรงงานผลิตในประเทศแล้ว
“เนื่องจากการผลิตแบตเตอรี่ชนิดนี้ใช้อิเล็กโทรไลต์อินทรีย์ ซึ่งเป็นพิษและไวไฟ สามารถระเบิดได้ นอกจากนี้ แบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออนยังมีส่วนผสมของโลหะหนัก หากมีการใช้จำนวนมากและกำจัดไม่ถูกต้อง ย่อมมีโอกาสเกิดการรั่วไหลของสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมได้”
“และไม่เพียงปัญหาด้านความปลอดภัย การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่แบบลิเทียมในประเทศไทยยังต้องอาศัยการพึ่งพาต่างประเทศเป็นหลัก เพราะประเทศไทยไม่มีแหล่งผลิตแร่ลิเทียม ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ขณะเดียวกันทรัพยากรแร่ลิเทียมยังเป็นแร่หายาก หากมีความต้องการใช้ในปริมาณมากเพื่อสร้างระบบกักเก็บไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน รวมถึงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อาจจะทำให้เกิดภาวะขาดแคลน และเกิดการขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรในอนาคตด้วย”
“แต่สำหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออนที่ทีมวิจัยร่วมกันพัฒนาว่า ได้นำเทคโนโลยีกราฟีนเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บประจุของแบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่สังกะสีไอออนมีค่าการเก็บประจุสูงถึง 200-220 mAh/g และมีค่าความหนาแน่นพลังงานอยู่ในช่วง 200-250 Wh/kg ให้ค่าแรงดันได้ 1.2–1.4 โวลต์ สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า 2,000 รอบ มีประสิทธิภาพด้านความหนาแน่นพลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรด และสามารถเทียบเคียงกับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนบางชนิดได้”
โดย ดร.ศิวรักษ์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงที่มาของงานวิจัย แบตเตอรี่สังกะสีไอออน ว่า
“ทุกวันนี้แบตเตอรี่ที่นิยมใช้เชิงพาณิชย์คือแบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออน เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงานสูงที่สุดเมื่อเทียบต่อน้ำหนักของแบตเตอรี่ เหมาะต่อการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องเคลื่อนย้ายพกพาได้สะดวก แต่ยังมีข้อจำกัดคือ ปัญหาด้านความปลอดภัย”
“นอกจากนั้น แบตเตอรี่สังกะสีไอออนยังมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น ด้านราคา ด้านความปลอดภัย และด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวัตถุดิบสังกะสีมีราคาถูกและมีปริมาณมากในธรรมชาติ แบตเตอรี่สังกะสีไอออนมีความปลอดภัยสูง ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิดแม้ถูกเจาะ ที่สำคัญไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำมารีไซเคิลได้”
“ทั้งยังให้สมรรถนะที่ดี สำหรับแนวทางการนำไปใช้งาน เช่น ระบบกักเก็บพลังงานแบบอยู่กับที่ แบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย สถานีวิทยุสื่อสารทหาร รถไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้า หรือสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยสูง อาทิ แท่นขุดเจาะน้ำมัน”
ดังนั้น ดร.ศิวรักษ์ จึงย้ำว่า แบตเตอรี่สังกะสีไอออนที่ศูนย์ NSD วิจัยพัฒนาขึ้นมา มีประสิทธิภาพที่ไม่ได้ด้อยกว่าแบตเตอรี่แบบลิเทียมที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และที่สำคัญประเทศไทยมีแหล่งสำรองแร่สังกะสี จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่จะสร้างอุตสาหกรรมใหม่ทางด้านการผลิตแบตเตอรี่สังกะสีแบบปลอดภัยได้เองในประเทศ ซึ่งประโยชน์ที่เกิดขึ้นนอกจากจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศด้วย
“โครงการศึกษาวิจัยที่ดำเนินการในปัจจุบัน ได้แก่ แบตเตอรี่สังกะสีไอออน ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบตเตอรี่ โซเดียมไอออน ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น แบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออน ที่ได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เทคโนโลยีตัวเก็บประจุยิ่งยวด (Supercapacitor) และระบบกักเก็บพลังงานจากคาร์บอนที่ได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร”
อย่างไรก็ดี จากการศึกษาของทีมนักวิจัยพบว่าทั้งโพแทสเซียมคลอไรด์และโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่จะนำมาผลิต แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าทางเลือกนั้น เป็นวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโลหะลิเทียม และมีศักยภาพนำมาผลิตเป็นแบตเตอรี่ ที่สำคัญประเทศไทยมีแหล่งแร่โพแทชและเกลือหินอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน จากการประเมินปริมาณสำรองแร่เบื้องต้น พบว่าประเทศไทยมีแร่โพแทชมากกว่า 407,000 ล้านตัน ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งโพแทชที่มีศักยภาพสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย
หากโครงการศึกษาวิจัย แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าทางเลือก ที่กล่าวมานี้ ประสบความสำเร็จทั้งระบบ ย่อมเป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่จะต่อยอดให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย มีความก้าวหน้าและเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่เป็นความหวังของชาติได้ไม่ยาก
ที่มา :https://www.salika.co/2022/06/03/ev-car-battery-thai-researcher/
รายงานข่าว เรื่อง “แบตเตอรี่สังกะสีไอออน” นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัย จากเว็บไซต์ nstda.or.th
บทความ เรื่อง “สวทช. ตั้ง ‘โรงงานแบตปลอดภัย’ ใช้วัตถุดิบในประเทศไม่ง้อ ‘ลิเทียม’ โดย กัญญาภัค ทิศศรี จาก เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ
โซเดียมไม่ใช่แค่เกลือ
เมื่อพูดถึงโซเดียมเชื่อได้เลยว่าคนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเกลือ (โซเดียมคลอไรด์ NaCl) ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำอาหาร แต่ทราบหรือไม่ โซเดียมนั้นเป็นโลหะอ่อนที่อยู่ในกลุ่มโลหะอัลคาไล
มีลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน ไม่ได้เป็นผงสีขาวแบบเดียวกันกับเกลือ เนื่องจากเกลือ (โซเดียมคลอไรด์ NaCl) เป็นเพียงสารประกอบโซเดียมชนิดหนึ่งเท่านั้น
คุณสมบัติของโซเดียม คือ เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่ดี ไม่เป็นพิษ ทำปฏิกิริยาว่องไว โดยเกลือโซเดียมนี้ สามารถนำมาผลิตเป็นแบตเตอรี่ได้อีกด้วย เรียกว่า “แบตเตอรี่ โซเดียมไอออน (sodium-ion)” มีคาร์บอนแข็งเป็นแอโนด และมีวัสดุสารประกอบโซเดียม เป็นแคโทด ซึ่งหลักการทำงานของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือ ในขณะชาร์จไอออนของโซเดียม (Na+) จะหลุดออกจากแคโทดโดยอิเล็กโทรไลต์ที่มีส่วนประกอบของเกลือโซเดียมจะเป็นตัวกลางในการเคลื่อนที่ของไอออน และเข้าไปแทรกตัวในขั้วแอโนด
เมื่อมีการใช้งานแบตเตอรี่ไอออนจะไหลออกจากขั้วแอโนดกลับไปที่ขั้วแคโทดตามเดิม พร้อมให้พลังงานไฟฟ้าออกมา เมื่อโซเดียมไอออนไหลกลับจนหมด ปฏิกิริยาจะสิ้นสุดลง หรือเท่ากับการใช้งานแบตเตอรี่หมด การนำแบตเตอรี่ไปชาร์จใหม่ก็จะทำให้แบตเตอรี่เข้าสู่กระบวนการเช่นเดิม ทุกคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วเกี่ยวกับความสำคัญของแบตเตอรี่ในชีวิตประจำวันทั้งยานพาหนะ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ล้วนแล้วต้องการแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพดีในการเก็บกักพลังงานกันทั้งนั้น ซึ่ง
ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่นั้นกำลังวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับวัสดุพื้นฐานสำหรับแบตเตอรี่กันทั่วโลก ซึ่งวัสดุที่นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีได้แนะนำว่า องค์ประกอบใหม่ของแบตเตอรี่ในอนาคตที่ควรนำมาใช้ทดแทน ลิเทียม- ไอออน ก็คือโซเดียมนั่นเอง
แม้ว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน จะให้ประสิทธิภาพสูงแต่ด้วยแหล่งแร่ที่มีจำกัด ทำให้ลิเทียมขาดตลาดและมีราคาสูงขึ้น แตกต่างจากแบตเตอรี่โซเดียมไอออน ที่สามารถสร้างขึ้นได้จากเกลือที่ใช้ในการปรุงอาหาร ซึ่งโซเดียมไอออนนั้น นอกจากจะเอื้อให้การผลิตแบตเตอรี่มีความสะดวกมากขึ้นแล้ว ยังมีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตอีกด้วย เนื่องจากต้นทุนการผลิตโซเดียมไอออนนั้นต่ำกว่าการผลิตลิเทียมไอออน อีกทั้งแบตเตอรี่
โซเดียมไอออนยังมีความปลอดภัยสูงกว่า เมื่อพิจารณาตามหลักการทางเคมี ทำให้นักวิจัยหันมาวิจัยแบตเตอรี่โซเดียมไอออนกันมากขึ้น โดยคุณสมบัติของแบตเตอรี่โซเดียมไอออนประกอบไปด้วย ความหนาแน่นของพลังงานที่สูง ชาร์จไฟได้รวดเร็ว มีความเสถียรต่อความร้อน สามารถคงประสิทธิไว้ได้ในอุณหภูมิต่ำ และมีประสิทธิภาพสูงในการประกอบเข้ากับยานยนต์ พร้อมทั้งหลักการเคลื่อนที่
ระหว่างแคโทดและแอโนดของแบตเตอรี่โซเดียมไอออน มีความคล้ายกับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนอีกด้วย ทำให้โซเดียมเป็นวัสดุที่ได้รับความสนใจทั้งในเชิงวิชาการและเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่โซเดียมไอออนยังมีข้อจำกัดที่ต้องคำนึงถึงอยู่ เช่น ขนาดของแบตเตอรี่ที่ใหญ่ (มาก) และปัญหาเรื่องเซลล์ไฟฟ้าเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วหลังการใช้งานไม่นาน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ยังต้องศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแบตเตอรี่ให้สามารถใช้งานได้จริงในเชิงพาณิชย์ต่อไป
ปัจจุบัน Contemporary AmperexTechnology Limited (CATL) บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำจากจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ให้ทั้ง Tesla และ Volkswagen ได้ทำการเปิดตัวแบตเตอรี่โซเดียมไอออน (sodium-ion) ทางเลือกใหม่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าโดยมีการนำเซลล์แบตเตอรี่โซเดียมไอออน และแบตเตอรี่ ลิเทียมไอออน ประกอบสลับกัน เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดของแบตเตอรี่ทั้ง 2 ชนิด ทางบริษัทได้นำเสนอนวัตกรรมใหม่ในการผลิตแบตเตอรี่นั้น คือ การสร้างแบตเตอรี่โดยไม่มีส่วนประกอบอย่างโคบอลต์ หรือนิกเกิล ซึ่งทำให้มีต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด และคาดการว่า จะเป็นโซลูชั่นส์ใหม่สำหรับการใช้พลังงานสะอาด และระบบคมนาคมไฟฟ้าแห่งอนาคต ซึ่งในขณะนี้แบตเตอรี่ตัวใหม่นี้ยังเป็นเพียงต้นแบบ แต่ทางผู้พัฒนา CATL กล่าวว่า ได้ทดลองและพัฒนาแก้ไขอุปสรรคต่างๆ สำเร็จแล้ว สามารถผลิตเพื่อการใช้งานจริงได้ในอีกไม่ช้า
เมื่อปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2564) กองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง มีโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่จากแหล่งแร่เกลือหิน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมศักยภาพ เป็นการมุ่งเป้าศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแหล่งแร่ในประเทศ โดยมีการเก็บข้อมูลจากสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาแบตเตอรี่และทดสอบในการใช้จริง ซึ่งในโครงการนี้ได้พัฒนาแบตเตอรี่ต้นแบบได้
สำเร็จ และในปีนี้ (พ.ศ. 2565) มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ต้นแบบให้สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่สร้างทางเลือกใหม่ ในอนาคต ประเทศไทยจะมีทางเลือกในนวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่มากขึ้น
อ้างอิง
https://www.mmthailand.com/แบตเตอรี่-โซเดียมไอออน/
https://www.mreport.co.th/news/trend-and-innovation/393-CATLBattery-Sodium-Ion
https://urbancreature.co/sodium-ion-battery/
https://www.xinhuathai.com/china/218506_20210730
https://www.autofun.co.th/news/รู้จักแบตเตอรี่-“โซเดียมไอออน”-ต้นทุน
ถูกสุด-ความหวังใหม่ของคอรถยนต์ไฟฟ้า-31579
https://th.wikipedia.org/wiki/โซเดียม
https://hmong.in.th/wiki/Sodium-ion_battery
การพัฒนาแบตเตอรี่แบบโซเดียม - ไอออน เกิดขึ้นควบคู่กับการวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่ ลิเทียมไอออน ในปี 1970 และต้นทศวรรษที่ 1980 อย่างไรก็ตาม ในปี 1990 เป็นที่ชัดเจนว่า ความนิยมจากประสิทธิภาพของของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนนำมาสู่ธุรกิจที่มีการทำสัญญาทางการค้ามากขึ้น ความนิยมดังกล่าวทำให้ความสนใจในแบตเตอรี่โซเดียมไอออนลดลง ในช่วงต้นปี 2010 แบตเตอรี่ โซเดียม - ไอออน กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความต้องการและต้นทุนของวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แบตเตอรี่โซเดียมไอออน สามารถใช้อิเล็กโทรไลต์ที่เป็นน้ำได้เช่นเดียวกับอิเล็กโทรไลต์ที่ไม่ใช่น้ำ เสถียรภาพทางเคมีไฟฟ้าที่จำกัดของน้ำ ส่งผลให้แบตเตอรี่โซเดียม ไอออน มีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่าและความหนาแน่นของพลังงานที่จำกัด เมื่อใช้อิเล็กโทรไลต์ในน้ำ เพื่อขยายช่วงแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่โซเดียมไอออน มีการ ใช้โซเดียมเฮกซาฟลูออโรฟอสเฟตเป็นเกลือละลายในส่วนผสมของตัวทำละลายเหล่านี้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้สารเติมแต่งอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งสามารถปรับปรุง ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่โซเดียมไอออน ได้ สารดังกล่าวยังได้รับการพิจารณาให้เป็นวัสดุแคโทดสำหรับแบตเตอรี่กึ่งแข็งอีกด้วย
ล่าสุด นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ ให้ความสนใจกับการพัฒนาแบตเตอรี่ ‘โซเดียมไอออน’ อย่างต่อเนื่อง โดยทีมค้นคว้าในประเทศฝรั่งเศส ได้ก้าวสู่การพัฒนาแบตเตอรี่แบบ Rechargeable ที่ต้นทุนต่ำกว่าแบตเตอรี่ลิเทียม นับเป็นครั้งแรกที่มีการพัฒนาแบตเตอรี่ ‘โซเดียมไอออน’ ด้วยการใช้เกลือหรือ Sodium ในรูปแบบที่เรี่ยกว่า ‘แบตเตอรี่ 18650’ ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ที่ใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่โน้ตบุ๊ก ไฟฉาย LED หรือแม้กระทั่งรถยนต์ไฟฟ้า อย่าง Tesla Model S คาดว่า ในอนาคตแบตเตอรี่ โซเดียมไอออน นี้ จะได้รับการพัฒนามากขึ้น สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าแบตเตอรี่ลิเทียม
การเกิดขึ้นของแนวทางการพัฒนาที่เป็นทางเลือกใหม่ สำหรับการสร้างแบตเตอรี่ โซเดียมไอออน เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่แบบ ลิเทียมไอออน ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันแล้ว แบตเตอรี่ โซเดียมไอออน สามารถกักเก็บประจุได้มากกว่า แต่ปัญหาสำคัญก็คือเซลล์ไฟฟ้าเกิดการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว หลังผ่านการใช้งานไม่นาน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ยังต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแบตเตอรี่แบบใหม่ ให้สามารถใช้งานจริงได้ ภายใต้เงื่อนไขของต้นทุนการผลิตต่ำ และสามารถหาวัสดุเป็นวัตถุดิบได้อย่างยั่งยืน จะช่วยลดมลภาวะในการทำเหมืองเพื่อขุดหาแร่ลิเทียมอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และแร่ธาตุอะไรก็ตาม เมื่อเราขุดขึ้นมาใช้ ก็ย่อมจะมีวันที่หมดไปอย่างแน่นอน
อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีการพัฒนาแบตเตอรี่ โซเดียมไอออน จะเป็นเป็นอนาคตของแบตเตอรี่คุณภาพสูง สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้ในอนาคต เพื่อทดแทนแบตเตอรี่ ลิเทียมไอออน โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนานั้น มีเสถียรภาพต่อการใช้งานมากพอ ทันกับการขับเคลื่อนของกระแสเทคโนโลยีอื่นๆ โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการพัฒนาในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วจนตามแทบไม่ทัน.
ข้อมูลจาก https://www.mmthailand.com
อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : สังกะสี และโซเดียม ไอออน เทคโนโลยีแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงแห่งอนาคตของประเทศไทย!
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง
- หวังดึงราคาให้ถูกลง! เพิ่มคนใช้ จ่อคลอดมาตรการภาษีหนุนผลิตแบตรถยนต์ไฟฟ้า
- ชม เคน บล็อค ดริฟต์อย่างโหดในลาสเวกัสกับรถยนต์ไฟฟ้า Audi S1 HOONITRON
- BMW i7 xDrive60 M Sport (First Edition) รถยนต์ไฟฟ้าหรูสำหรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก 2022
ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath