ไลฟ์สไตล์

กินเผ็ดต้องระวัง ! โรคภัยถามหาไม่รู้ตัว

LINE TODAY
เผยแพร่ 29 พ.ย. 2562 เวลา 11.15 น.

อาหารไทยจะอร่อยต้องมีความเผ็ดร้อนเข้ามาเพิ่มรสชาติด้วยเสมอ ทำให้ความเผ็ดร้อนกลายเป็นวัฒนธรรมการกินของคนไทยที่นิยมอย่างแพร่หลาย สังเกตได้ง่าย ๆ จากอาหารหลายอย่างที่มักนำพริกมาเพิ่มรสชาติด้วยกันทั้งนั้น นอกจากจะทำให้รสชาติกลมกล่อมขึ้นแล้ว ความเผ็ดยังช่วยทำให้เจริญอาหาร กินได้อย่างเอร็ดอร่อยมากขึ้นด้วย

แต่รู้หรือไม่ความเผ็ดไม่ใช่รสชาติ ไม่เหมือนรสเปรี้ยว หวาน เค็มอย่างที่เรารู้สึกกัน แต่เป็นอาการแสบร้อนที่ปากและลิ้นที่มาจากสารแคปไซซิน (Capsaicin) ที่พบในพริก ซึ่งนอกจากพริกแล้ว เจ้าสารแคปไซซินก็ยังพบในขิง ยี่หร่า กระเทียม กะเพรา ฯลฯ ทำให้ผักสวนครัวกลุ่มนี้ได้รับความนิยมนำไปเป็นส่วนประกอบของอาหารทั้งสุกและดิบ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและรสชาติเผ็ดร้อนให้กับอาหารนั่นเอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างที่บอกว่าความเผ็ดช่วยให้เจริญอาหาร แต่คงไม่ใช่แค่นั้น ความเผ็ดมีดีกว่านั้นอีกเพียบ

• เป็นยาอายุวัฒนะ รสเผ็ดช่วยให้เจริญอาหาร ใครที่ผอมแห้งแรงน้อยหรือเบื่ออาหาร ถ้าเพิ่มพริกหรือผักสวนครัวที่รสชาติเผ็ดร้อนลงในอาหารสักจะช่วยให้กินอาหารได้มากขึ้น

• กระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญ ความเผ็ดร้อนช่วยทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้น ทั้งยังทำให้รู้สึกหิวน้อยลงได้ด้วย เพราะฉะนั้นจึงมีประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนักมากพอสมควรเลยทีเดียว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

• ลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย งานวิจัยบางชิ้นระบุเอาไว้ว่าพริกช่วยลดระดับไขมันเลวและเพิ่มไขมันดีได้ ส่งผลดีต่อระบบไหลเวียนโลหิต หลอดเลือดจะมีโอกาสอุดตันน้อยลง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมองได้ด้วย

แต่พริกก็ไม่ได้มีด้านดี ๆ อย่างเดียว เพราะอะไรที่มากเกินไปก็ส่งผลเสียอย่างมหาศาลให้กับร่างกายได้เหมือนกัน ไม่เว้นแม้แต่การกินเผ็ดมากและบ่อยมาก

• สุขภาพช่องปาก อย่างที่รู้กันว่าความเผ็ดร้อนส่งผลกับปากและท้องเราโดยตรง ดังนั้นถ้าเผ็ดเกินเหตุอย่างน้อยก็ทำให้ปากแห้ง หิวน้ำ หรือทำให้ลิ้นรับรสชาติผิดเพี้ยนได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

• ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น ทำให้รู้สึกปวดท้อง แสบร้อนช่องท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย อาเจียน เป็นต้น หากใครเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการกินเผ็ด เพราะความเผ็ดจะกระตุ้นทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น

• ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ การกินเผ็ดอาจกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ได้ แต่ว่าไม่ใช่ภูมิแพ้ที่เกิดจากร่างกายต่อต้านสารบางชนิดในอาหาร เป็นอาการมีน้ำมูกหรือเสมหะไหลลงคอเนื่องมาจากการกินเผ็ด

• เนื่องจากความเผ็ดส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตโดยตรง ก็เลยทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ด้วย

แม้ความเผ็ดสำหรับบางคนจะอร่อยและช่วยเพิ่มรสชาติได้ดี แต่การกินเผ็ดมากไปและบ่อยเกินไปก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายเราได้โดยตรง ดังนั้นอะไรที่เกินเหตุมักไม่ดีเสมอ สำหรับคนชอบกินเผ็ดลองเปลี่ยนพฤติกรรมการกินบางมื้อดูบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร บางทีคุณอาจหลงเสน่ห์กับรสชาติจืด ๆ บ้างก็ได้

ความเห็น 53
  • อร่อยปาก ลำบากตูด อุ้ยยย
    28 ธ.ค. 2562 เวลา 22.26 น.
  • *dao*
    🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰 ❗ด่วน❗🙎🏻‍♂️🙍🏻‍♀️ตามหาคนอยากทำงานพาสไทม์ เรียนก็ทำได้ อยากทำเป็นรายได้เสริมก็ทำได้ คนทำงานประจำก็ทำได้ ด่วน!!!!!📌📌📌📌📌 - คอนเฟิร์มลูกค้า Facebook/Line (ทำผ่านมือถือ) - รับอายุ 18-60 ปี #กรุงเทพปริมณฑลรับเป็นพิเศษ - 💰รายได้ 3,000-5,000 ต่อสัปดาห์ 20,000/เดือน💰 สนใจงานแอดไลน์ไอดี @260madvt (มี @ด้งยค่ะ) 🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰🏰
    19 ธ.ค. 2562 เวลา 23.07 น.
  • sri
    นักข่าว พาดหัวข่าวจนพริก ด้อยค่า อาหารไทย คงอยู่มาแต่บรรพบุรุษ พริก เป็นส่วนประกอบของเมนูอาหาร ยามร่างกายปกติ หรืออากาศหนาว กินเผ็ด ยามร่างกายป่วย กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย หรือ อากาศร้อน กิน ผัก ผลไม้ ที่ฉำ่นำ้ จะมีเผ็ดมีพริกปน จำพวกส้มตำ แต่มีผักกิน ก็อร่อยกลมกล่อม สรุป กินสายกลาง พอเหมาะกับร่างกาย
    05 ธ.ค. 2562 เวลา 00.00 น.
  • Kran
    เอามาลงทำไมให้เปลืองพื้นที่เนี่ย อะไรที่มันเกินพอดีมันก็ไม่ดีทั้งนั้น ขนาดน้ำเปล่ากินมากไปก็ไม่ดี ...
    04 ธ.ค. 2562 เวลา 00.07 น.
  • Zatané
    ข้อเสียจิ๊บมากเอามาลงทำไม
    03 ธ.ค. 2562 เวลา 23.42 น.
ดูทั้งหมด