ไอที ธุรกิจ

‘บัตรคนจน’ ได้เยียวยา 3,000 บาทแล้ว ‘ม.33’ ได้อะไรบ้าง? โซเชียลฯ โวย

The Bangkok Insight
อัพเดต 03 ก.ค. 2563 เวลา 12.29 น. • เผยแพร่ 03 ก.ค. 2563 เวลา 11.58 น. • The Bangkok Insight

พรุ่งนี้ (4 ก.ค. 63) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จะโอนเงินเยียวยาไวรัสโควิด-19 ล็อตเก็บตก ให้ผู้ถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน ที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการอื่นของรัฐบาลมาก่อน จำนวน 1.14 ล้านราย เป็นวงเงิน 3,000 บาท เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนผู้มีรายได้น้อย

อย่างไรก็ตาม โลกออนไลน์บางส่วนแสดงความไม่พอใจว่า ในขณะที่ผู้ถือ บัตรคนจน ได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาท แต่ทำไมประชาชนบางกลุ่มจึงไม่เคยได้รับช่วยเหลือด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในระบบประกันสังคม ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นอย่างดุเดือดในหลายแพลตฟอร์ม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนใหญ่ระบุว่า ได้รับความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่นกัน แต่ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือใดๆ เพิ่มเติม รวมถึงไม่สามารถเบิกเงินของตัวเองที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมทุนเดือน เพื่อมาบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงนี้ได้

บัตรคนจน บัตรประกันสังคม ม.44

โลกออนไลน์โวย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ม33 คือเงินเราส่งไปนะคะ ไม่ได้รับอะไรเลย ส้วนเงินที่มาให้ เนี่ยภาษีประชาชน ถึงจะกู้มาก็เถอะ เราควรได้นะคะหรือว่าคนมีม 33 ไม่ต้องจ่ายภาษีใดๆ เลย ถึงไม่ได้รับอะไรเลย”

“กรมบัญชีกลาง​ กรุณาตอบคำถามประชาชน​ด้วยค่ะ​ กรณี​ ม.33​ ทำไมไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ เลย​ มันชัดเจนอยู่แล้วว่า​ เรามี บัตรคนจน เพราะรายได้น้อยตามเกณฑ์​บัตร​ เพียงแต่เรามีงานประจำซึ่ง​ต้องเข้า ม.33 ​เพราะมันบังคับในตัวอยู่แล้ว​ เมื่อมีความเดือดร้อน​จากโรคระบาด​ พวกเราก็ไม่ได้รับการยกเว้นว่าเราไม่ได้เดือดร้อน เพียงแต่เราไม่ได้ตกงาน ​แต่พวกเราก็ได้รับความเดือดร้อนไม่แพ้ใครๆ เลย​ แล้วกลุ่ม​ที่มีบัตรและมี ม.33​ ทำไมจึงไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ เลย​ กรุณาตอบด้วยค่ะ​ ด้วยความเคารพ​”

“สรุป ม.33 ถูกลอยแพ”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ม.33
บัตรคนจน บัตรประกันสังคม ม.44

ผู้ประกันตนมาตรา 33คือใคร?

ผู้ประกันตนตามมารตรา 33 คือ ลูกจ้าง ผู้ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ หรือพนักงานเอกชน

โควิด-19: บัตรคนจน ได้ 3,000 บาท แล้วมาตรา 33 ได้อะไรบ้าง 

ในช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้

  • ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ยังคงทำงานอยู่ ให้ลดอัตราเงินสมทบจาก 5% หรือสูงสุด 750 บาทต่อเดือน เหลือ 1% หรือ 150 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563

  • ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เข้าข่ายกรณีต่อไปนี้ สามารถรับเงินชดเชยรายได้กรณีว่างงานได้

  • ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง

  • ถูกเลิกจ้าง

  • รัฐบาลสั่งปิดกิจการชั่วคราว

  • สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงติดโรคระบาด ต้องกักตัวเอง 14 วันที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล

  • นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ

  • นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ เนื่องจากมีลูกจ้างสุ่มเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19

จำนวนเงินชดเชยที่จะได้รับจากกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย (โควิด 19) มีผลตั้งแต่ 1มีนาคม 2563เป็นต้นไป โดยบังคับใช้เป็นระยะเวลา 2ปี

กรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย จากเดิมให้เงินชดเชย 50%ปรับเพิ่มเป็น 62%

  • นายจ้างไม่ให้ทำงาน หรือต้องกักตัว 14 วัน รับเงินกรณีว่างงาน 62% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน
  • หน่วยงานภาครัฐสั่งหยุดกิจการชั่วคราว รับเงินกรณีว่างงาน 62% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน

กรณีว่างงานเพราะลาออก หรือถูกเลิกจ้าง

  • ว่างงานจากการลาออก รับเงินกรณีว่างงาน 45% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน
  • ว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง รับเงินกรณีว่างงาน 70% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 200 วัน

กรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 จะไม่ได้รับเงินทดแทนรายได้กรณีว่างงานจากประกันสังคม แต่สามารถลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังได้ที่เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยหากผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติจะได้รับเงิน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563

บัตรคนจน

บัตรคนจน ได้อะไร

ผู้ถือ บัตรคนจน ที่ยังไม่เคยได้รับเงินเยียวยาโควิด-19 จำนวนทั้งสิ้น 1.14 ล้านคน จะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาเดือนละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน คือเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 รวมเป็นเงินจำนวน 3,000 บาทต่อคน

โดยผู้มีสิทธิ์รับเงิน 3,000 บาท คือ ผู้ถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 1.14 ล้านคน ซึ่งไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของสำนักงานประกันสังคม และไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ อีกทั้งยังไม่เคยได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการใด ๆ ของภาครัฐ ได้แก่ โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการช่วยเหลือเกษตรกร และโครงการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง

“กรมบัญชีกลางได้ดำเนินการเบิกเงินแทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ โดยการโอนเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ใน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 3,000 บาท ซึ่งจ่ายเพียงครั้งเดียว ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2563 ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวัน เวลาราชการ ” โฆษกกรมบัญชีกลางกล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 103
  • ⚜👑🔱 BM.MAKEUP🔱👑⚜
    เป็นผู้ประกันตนเหมือนกัน 3 เดือนที่ผ่านมาก็โดนหักเต็มจำนวนทุกบาทสุกสตางค์ ถึงแม้นว่าจะมีงานประจำมาเงินเดือนที่เหมือนเงินทน แล้วผลกระทบจากงานเสริมที่เราไม่ได้ทำในช่วงเวลาโควิด หรือติด พรก. ฉุกเฉินละไม่มีใครรับผิดชอบ 5,000 ก็ไม่ได้ 3,000 ก็ไม่ได้ สรุปคนที่ส้งประกัรสังคมมาตตรา 33 นี่ลูกเมียน้อยหรอ ไม่เคยสอบถามผลกระทบจากเราเลย แล้วประกันสังคมมาตรานี้ก็บังคับใช้เราไม่ได้มีสิทธิ์เลือกเลยด้วยซ้ำ รายได้เสริมที่เราต้องได้มาเลี้ยงดูครอบครัวศูนย์ไปเดือนละหลายพันถึงหมื่นบาท ไม่คิดจะมีใครช่วยหน่อยหรอ
    08 ก.ค. 2563 เวลา 10.52 น.
  • เอื้อยแม่น้อรวงข้าว
    ลดหย่อน 3 เดือนไม่ได้หรอกค่ะ ลดเดือนเดียว ม.33 นิเป็นคนถูกลอยแพเนอะ ต้อง ออกงาน หรือเลิกจ้างเท่านั้นื สงสัยจิได้ออกงาน (ประชดสะ) ถึงจะเห็นใจ
    07 ก.ค. 2563 เวลา 23.27 น.
  • @ Veerayutt Yev🐲🍄
    แบบนี้ ม.33 ต้องลาออกจากงาน ไปเป็นคนจน เพื่อไปนั้งรอเงินช่วยเหลือจากรัฐกันหมดดีมั้ย คนรายได้เยอะ รายได้น้อย เค้าก็สู้ทนทำงานปากกันตีนถีบ ขับเคลื่อนประเทศ นะครับ ควรช่วยเหลือทั้งหมด หรือป่าว เพร่ะผลกระทบอาจจะโดนกับคนที่มีงานมากกว่าด้วยซ้ำ
    07 ก.ค. 2563 เวลา 07.12 น.
  • mali 99
    เป็นเกษตรกรอยู่ดีๆๆพอได้ประกันอดได้เงินเกษตรกรเลย แล้วจะให้หาอะไรกิน เงินค่าตอบแทนแค่สี่ห้าพัน ม.33เป็นพิษเป็นภัยขนาดนี้...ก..ไม่ทำ ยิ่งกว่าโควิด19
    05 ก.ค. 2563 เวลา 03.45 น.
  • ทำไมไม่ให้ลูกจ้างหยุดจ่ายจนถึงสิ้นปีให้นายจ้างจ่ายส่วนที่นายจ้างต้องจ่ายก็พอ
    04 ก.ค. 2563 เวลา 12.13 น.
ดูทั้งหมด