เชื่อว่าเงินเก็บที่มีอยู่ในบัญชี ไม่ว่ามีมากหรือน้อยแค่ไหน แต่หากมีวิธีที่สามารถทำให้ตัวเลขในบัญชีเพิ่มขึ้นได้ก็คงเป็นเรื่องดีที่น่าลอง สัปดาห์นี้เรามาว่ากันเด้วยวิธีที่ทำให้เงินที่มีนั้นเพิ่มขึ้น เพื่อความชื่นใจเล็กๆ น้อยๆ ในช่วงยุคที่การเงินฝืดเคืองกันเช่นนี้ จะมีวิธีไหนที่พอจะทำกันได้บ้าง มาลองดู…
เริ่มกันที่ วิธีที่ 1 : “อย่า เป็น หนี้”
วงการลูกหนี้ เมื่อก้าวขาเข้าไปแล้วนอกจากจะออกยาก ยังรวยยากอีกต่างหาก เพราะเมื่อเริ่มเป็นหนี้ นั่นคือสัญญาณความฝืดเคืองของระบบหมุนเวียนทางการเงิน ซ้ำร้ายไปกว่านั้น การพยายามกระเสือกกระสนดิ้นรนออกจากสภาวะหนี้ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ยิ่งจมลงไปเรื่อยๆ และกลายเป็นการเพาะบ่มนิสัยที่ไม่ดีในการใช้เงิน ทางที่ดีเริ่มจาก ‘เปลี่ยนนิสัย’ ในการใช้เงินตั้งแต่วันนี้ เพื่อหยุดตัวเลขของ ‘หนี้’ ยกตัวอย่างเช่นการจ่ายหนี้บัตรเครดิตแบบเต็มจำนวนแทนที่จะจ่ายแบบขั้นต่ำ หรือการจัดระเบียบการเงินใหม่ แบ่งเงินที่ได้มาเพื่อมาชำระหนี้ แทนการที่จะไปยืมคนนั้นมาโปะหนี้ของคนนี้ เพราะมันเป็นแค่การเปลี่ยนเจ้าหนี้ แต่ไม่ได้ทำให้หนี้ก้อนนั้นหมดไป จงจำไว้ว่า ‘อย่าริเริ่มที่จะลงทุนใหม่จนกว่าจะปลดหนี้ก้อนเก่าให้ได้เสียก่อน’
วิธีที่ 2 : จงมี ‘วินัย’ ในการลงทุน
เป็นเรื่องธรรมดาที่คนส่วนใหญ่จะมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในระยะสั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกกำลังกายที่เดี๋ยวทำเดี๋ยวเลิก หรือการสนในเทรนด์ที่หวือหวาแต่ทว่าอยู่ได้ไม่นาน แต่เรื่องของการลงทุนจะทำนิสัยแบบนี้ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะอาจทำให้ผลตอบแทนวูบวาบเช่นกัน ทางที่ดีหากคิดจะลงทุนจงมุ่งมั่นตั้งใจ มีวินัย ทั้งเรื่องของการศึกษาข้อมูลและการติดตามข่าวสาร เพื่อผลการตอบแทนที่ดีกว่าการเอาเงินไปลงเอาไว้เฉยๆ
วิธีที่ 3 : รู้จักการ ‘กระจายความเสี่ยง’
อย่าเอาเงินทั้งหมดที่มีไปรวมลงทุนไว้ในที่เดียว การลงทุนหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกันไม่ถือเป็นการนอกใจ สามารถทำได้ไม่ใช่เรื่องผิด อยากแนะนำให้นักลงทุนมือใหม่นำเงินของคุณไปใช้กับตัวเลือกที่หลากหลาย เช่น อสังหาริมทรัพย์ พันธบัตร หุ้น และสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มเงินของคุณโดยลดโอกาสในการขาดทุนทั้งหมด หากการลงทุนเกิดการพลาดพลั้งก็ยังมีส่วนอื่นๆ ที่คอยรองรับเหมือนเบาะที่ไม่ว่าจะหนาหรือบางก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรมารองรับเลย
วิธีที่ 4 : ปรับเปลี่ยนการลงทุนตามความสนใจที่เปลี่ยนไป
อายุที่มากขึ้น ความสนใจย่อมมีความเปลี่ยนแปลงไป เปรียบเทียบได้กับหนุ่มหล่อวัยรุ่นที่ให้ความสนใจกับเรื่องที่แตกต่างกับหนุ่มใหญ่วัยกลางคน ฉันใดฉันนั้น ความต้องการทางการเงินของคุณย่อมเปลี่ยนไปตามอายุ และการลงทุนก็เช่นกัน ในช่วงอายุน้อยๆ คุณอาจคิดที่จะนำเงินไปลงทุนในการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงแต่ให้ผลตอบแทนสูง แต่เมื่อคุณโตขึ้นจะเริ่มมองหาความมั่นคง หรือการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำแต่ได้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ
วิธีที่ 5 : เริ่มไวก็ได้เปรียบ
ไม่มีต้นไม้ต้นไหนที่ดอาเมล็ดลงดินแล้วจะโตไวให้ดอกให้ผลในวันเดียว.. การลงทุนก็เช่นกัน ทุกอย่างต้องใช้เวลา ยิ่งคุณเริ่มลงทุนเร็วเท่าไร การลงทุนก็ยิ่งมีเวลามากขึ้นในการฟักไข่ และโอกาสของการเติบโตของเงินก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น สมมติว่าเป้าหมายทางการเงินของคุณคือการเกษียณอายุก่อนกำหนดเมื่ออายุ 55 ปีการเริ่มวางแผนเพื่อเกษียณตั้งแต่เริ่มชีวิตการทำงานใหม่ๆ จะยิ่งมีเวลามากเพื่อวางแผนเดินตามความฝัน เริ่มไวก็เหนื่อยน้อยกว่าและเครียดน้อยกว่าเริ่มตอนใกล้หมดวัยทำงาน
วิธีที่ 6 : จงลงทุนอย่างชาญฉลาด
อย่าหลงใหลในเสน่ห์โฆษณาการลงทุนที่หวือหวาน่าสนใจ จงทำความเข้าใจให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจที่จะลงเงิน..
ลงทุนในสิ่งที่คุณสนใจ, อย่าเอาเงินไปลงทุนที่ไม่เข้าใจ และอย่าลงทุนในสิ่งเกินตัว เช่นหากคุณถนัดขายของก็ขาย หรือหากคุณรับไม่ได้กับการปล่อยให้ความผันผวนของตลาดหุ้นกินเงินออมที่ได้มาอย่างยากลำบาก ก็อย่าริเล่นหุ้น ในทางกลับกันถ้าคุณกล้าบ้าบิ่นพอที่จะรับความเสี่ยงได้มาก รายได้ต่อเดือนคุณมากมายมหาศาลจนสามารถจะเสี่ยงได้แบบไม่ต้องกลัว เดี๋ยวก็หาเงินมาได้อีก จะลองดูก็ไม่เสียหาย
วิธีที่ 7 : สิ่งที่ต้องมีคือ ‘ความกล้า’
ไม่มีใครทำอะไรเป็นตั้งแต่เกิด และไม่มีใครที่ทำอะไรเองได้โดยไม่เคลเริ่มลงมือทำ ดังนั้น หากคุณต้องการที่จะสร้างรายได้ให้เติบโตและร่ำรวย คุณก็ต้องทิ้งความกลัวไว้เสียก่อนแล้วเริ่มลงมือ การไม่เสี่ยงอะไรเลย ก็เหมือนเอาทุกอย่างไปเสี่ยงเหมือนกัน หลายคนคิดว่าการออมเงินก็เหมือนการลงทุน แต่แท้จริงแล้วมันไม่ใช่! หากคุณเลือกที่จะกอดเงินก็บของคุณเอาไว้ อย่าลืมว่าค่าของเงินนั้นลดลงไปเรื่อยๆ ปีนี้ข้าวจานหนึ่งอาจราคา 50บาท แต่อีกอีกสิบปีข้างหน้า 50บาทอาจไม่พอให้ท้องอิ่ม เห็นหรือยังว่าการอยู่เฉยๆ โดยไม่ลงทุนอะไรเลยใช่ว่าจะปลอดภัย แน่ๆ ว่าไม่ได้ผลกำไรอะไรเข้ามา และเล็งเห็นได้ชัดเจนเลยว่ามูลค่าของเงินนั้นก็ยังลดลงอีกด้วย .. เห็นหรือยังว่าการลงทุนนั้นสำคัญเพียงไหน
วิธีที่ 8 : ปรึกษา ‘ผู้เชี่ยวชาญ’
หากคุณรู้ตัวว่าไม่มีความถนัดในการลงทุน หรือไม่รู้จะตั้งเป้าหมายทางการเงินอย่างไร ขอแนะนำว่าคุณควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน หรือปรึกษากับคนใกล้ชิดที่เก่งเรื่องตัวเลขและสามารถเป็นตัวอย่างของการทำเงินด้วยการลงทุนที่ชาญฉลาด เพื่อให้ที่ปรึกษาทางการเงินช่วยตรวจสอบการเงินของคุณ และแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมกับความต้องการและและตอบโจทย์ตามความสนใจของคุณ เขาอาจช่วยให้คุณเข้าใจกลยุทธ์การลงทุนในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม คำถามที่น่าสนใจหนึ่งที่อยากทิ้งท้ายไว้ให้คิดกันก็คือ ‘เมื่อไหร่ที่เราจะรู้สึกว่าเรา รวย แล้วจริงๆ?’ หลายคนอาคิดตัดสินกันที่การมีเสื้อผ้าดีๆ มีของใช้แบรนด์เนม ได้กินอาหารหรูๆ ใช้ชีวิตอยู่ในคฤหาสน์ มีรถยุโรปราคาแพงขับ หรือแท้ที่จริงแล้วความร่ำรวยที่แท้จริง คือการสะสมเงินให้เพียงพอเพื่ออนาคตทางการเงินที่มั่นคง ส่วนเรื่องอื่นๆ นั้นเป็นเพียงเรื่องรองลงมา ลงค้นหาตัวตนและความต้องการที่แท้จริง แล้วตั้งเป้าหมายและเริ่มลงมือทำ
ข้อมูลจาก policybazaar.com
mylifemywaymyCIVIC แนะนำไปแต่ความเป็นจิงคือ ศูนย์ จะกินยังใม่พอกันเลยสมัยนี้
08 ส.ค. 2564 เวลา 07.37 น.
ยุ้ย ควรลงทุน ซื้อสินทรัพย์ไว้บ้าง ลงหุ้นบ้าง ซื้อทองคำ สลากออมสิน พันธบัตร กองทุน และอื่นๆ เก็บเงินสดไว้แค่ธนาคารละ 1 ล้านบาทก็พอ เพราะเค้าคุ้มครองแค่นั้น
08 ส.ค. 2564 เวลา 02.08 น.
Jude🌵🏝 5555อย่าเป็นหนี้ เขียนบทความมันง่าย ถ้าไม่เป็นหนี้คงเช่าบ้านตลอดชีวิต
08 ส.ค. 2564 เวลา 07.26 น.
อันดา ฟ้าใส เป็นบทความที่ดีมากๆเลย ขอบคุณผู่เขียนบทความนี้ครับ
ขอให้สุขภาพแข็งแรง
08 ส.ค. 2564 เวลา 00.19 น.
jf Ѡ흣 Sir like.😊😁👍👌
08 ส.ค. 2564 เวลา 04.27 น.
ดูทั้งหมด