คำว่า ‘เพอร์เฟค’ แปลว่าอะไร?
จริงๆ แล้วที่เราใช้ๆ กันอยู่
ไม่ได้หมายถึง ‘สมบูรณ์แบบไร้ที่ติ’
โดยเฉพาะเมื่อพูดว่าใครสักคนเพอร์เฟค
เขาหรือเธอแค่ ‘มีครบอย่างที่คนคนหนึ่งอยากมี’
ในทางโลก
หล่อสวยรวยเก่งครบสูตร
คือเพอร์เฟคในสายตาของคนอื่น
แต่จะเพอร์เฟคสำหรับความรู้สึกของเจ้าตัวหรือไม่
ต้องถามว่า อิ่มหรือยัง? เต็มแบบไม่ต้องเติมแล้วไหม?
ไม่รำคาญตัวเอง ไม่เกลียดตัวเอง
ไม่หลอกตัวเองหรือใครต่อใครจริงแล้วไหม?
ถ้าเช็คทุกข้อแล้วโอเค ไม่ขาดสักอย่าง
อันนั้นแหละ เพอร์เฟคแบบโลกๆ
ในทางสามัญสำนึก
คนเราอยู่กับความรู้สึกของตัวเองตลอด ๒๔ ชั่วโมง
ขณะที่อยู่ในสายตาของคนอื่นได้แค่วันละไม่กี่นาที
ฉะนั้น จะมีแค่ไหน ถ้าไม่อิ่ม ไม่เต็ม
หรือยังแอบรู้สึกกะพร่องกะแพร่งบ่อยๆ
อันนั้นไม่ใช่แล้ว
ขอให้เห็นโลกความจริงว่า
ที่คนบางคนต้องเหน็ดเหนื่อย
กับกับการสร้างภาพแสนดี มีชีวิตสมบูรณ์พร้อม
แท้ๆ แล้วสะท้อนจิตใจที่ยังพร่อง ยังดิ้น ยังกลัวไม่ดีพอ
จนต้องหลอกตัวเอง หลอกคนอื่น
ในทางธรรมแบบพุทธ
เป้าหมายอันเป็นถ้วยรางวัลสูงสุด
ไม่ใช่เงิน ไม่ใช่เกียรติยศ ไม่ใช่สมณศักดิ์
แต่เป็นการมีความรู้สึกว่า เราไม่เป็นทุกข์แล้ว
ไม่เดือดเนื้อร้อนใจแล้ว
นับเริ่มจากถือศีลได้สะอาดอย่างต่อเนื่องยาวนาน
แม้รู้อยู่ในใจ ไม่ประกาศให้ใครทราบ
ก็ใจนั่นแหละ ที่จะรู้ได้เองว่า
ความไม่เดือดเนื้อร้อนใจ
อันเกิดจากความมั่นคงในศีลเป็นอย่างไร
สามารถอาศัยจิตที่ไม่เดือดเนื้อร้อนใจแล้วนั้น
ไปต่อยอดเป็นสมาธิได้ง่ายแค่ไหน
จิตที่เป็นสุขอยู่กับสมาธินั้น
ต่อยอดให้ถึงปัญญาที่ ‘เป็นสุขอย่างสมบูรณ์แบบ’ ได้
กล่าวคือ อาศัยจิตที่พร้อมรู้ ไปรู้สิ่งที่ควรรู้
รู้ว่ากายเป็นแค่เปลือก ไม่ใช่แก่น
รู้ว่าแก่นคือจิต และจิตก็ไม่ใช่เรา
จิตเป็นกุศลก็ดวงหนึ่ง จิตเป็นอกุศลก็อีกดวง
จิตสว่างเบาก็ดวงหนึ่ง จิตมืดทึบก็อีกดวง
จิตโปร่งโล่งไร้ความฟุ้งซ่านก็ดวงหนึ่ง
จิตยุ่งเหยิงวุ่นวายก็อีกดวง
ประสบการณ์ภายในเหมือนเป็นคนละตัวกันชัดๆ
เมื่อไม่ยึดว่าจิตดวงใดดวงหนึ่งเป็นตน
ฝึกจนพ้นจากอุปาทานยึดมั่นได้ขาดสิ้นแล้ว
จะเกิดธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า
‘จิตพรากจากขันธ์’ คือ หลุดออกมาเป็นผู้รู้ผู้ไร้ทุกข์
จะเกิดภาวะกระทบกระเทือนกายใจอย่างไร
จิตก็เป็นต่างหาก ไม่กระเพื่อมขึ้นเป็นทุกข์เลย
จิตที่พรากจากขันธ์ถาวร
คือจิตของพระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์
เราทำความเข้าใจได้ว่า
เมื่อปฏิบัติไปได้ถึงแล้ว
ก็มีความสมบูรณ์แบบทางความไร้ทุกข์
เท่าเทียมเสมอกันหมด
และเราจะเริ่มนับก้าวแรกได้
ก็จากมองว่า เพอร์เฟคแบบพุทธ
หาใช่คนที่ใครต่อใครยอมรับนับถือ
หรือยกให้เป็นที่สุดในปฐพี
แต่เป็นคนที่มีใจไม่เป็นทุกข์เลย
พูดง่ายๆ
มาเลิกยึดความเพอร์เฟคภายนอกที่ไม่มีจริง
หันมาหาความเพอร์เฟคภายในที่เป็นไปได้แน่
นับจากก้าวแรก คือ ถือศีล
แล้วไปให้ถึงก้าวสุดท้าย คือ เจริญปัญญาเถอะ!
ถ้าคนเรามีความพอดีให้กับตนเองแล้ว ก็ย่อมที่จะช่วยทำให้ชีวิตมีความสุขเสมอ.
28 มิ.ย. 2563 เวลา 06.38 น.
🐦🐦🐥🐥 กราบ 🙏🙏🙏 ความงามจากภายในจิต สำคัญที่สุด
28 มิ.ย. 2563 เวลา 06.26 น.
ในกุศล4
ทาน. ศีล. สมาธิภาวนา. วิปัสสนาพิจารณากัมฏฐาน.
ทาน สัมพันธ์ กับ ศีล5 ข้อแรก ปานาติปาตา
สัมพันธ์กับ อทินนาทานา
. สอดคล้องกับ กาเมสุมิจฉาจารา
ทาน. สัมพันธ์ กับ พรหมวิหาร4 ข้อแรก เมตตา
กรุณา มุฑิตา อุเบกขา
ศีล 1 3 4 5 8 10 227
ให้นึกถึงศีลบ่อยๆให้มาก ศีล12345 ...........
ให้เป็น ศีลานุสติกรรมมัฏฐาน พิจารณา
ปัญญา จาก สุตตะมะยะปัญญา
ฯจาก จิตตะมะยะปัญญา
ฯแล ภาวนามะยะปัญญา
ปัญญาทางโลก, ปัญญาทางธรรม เกิดขึ้นพัฒนาได้ด้วย กุศล4
ปัญญาทางธรรม เพื่อละกิเลส เพื่อพ้นทุกข์
ปั
28 มิ.ย. 2563 เวลา 07.15 น.
ทรงศักดิ์ อุดมสิน เป็นปกติที่ปุถุชน ไม่มีทางสมบูรณ์พร้อม
ทั้ง ทางกาย และ ทางจิต ...เป็นโดย ธรรม
และ ก็โดย ธรรมนั่น ที่ ทำให้จิต ตามพุทธ พบความเป็น อริย พ้นออกจากสมมุติ ....พ้นจากโลกของความสมบูรณ์ และ ไม่สมบูรณ์
28 มิ.ย. 2563 เวลา 07.02 น.
ปัญญาทางธรรม เพื่อละกิเลส เพื่อพ้นทุกข์
ปัญญาทางโลกเพื่อ แก้ปัญหา ทางโลก
1000ปีแรก แห่งพุทธกาลใน5,000ปี
มีพระสงฆ์ผู้บรรลุธรรม ปฏิสัมภิทาญาณ สำเร็จเป็นพระอรหันต์เจ้า เยอะมาก
พันปีที่2 มีพระอรหันต์ผู้บรรลุธรรม อภิญญา6 มาก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า “ จะไม่มีผู้บรรลุ ” วิชา3, สุขขะวิปัสสะโก , ปฏิสัมภิทาญาณ
ณ ปัจจุบัน ในช่วงกึ่งพุทธกาลตอนนี้ 2563
พันปีที่ 3 ) จะมีพระอรหันต์เจ้า ผู้บรรลุ วิชา3 มากแลก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผู้ทรง อภิญญา , ปฏิสัมภิทา เหลือ
พันปีที่4 มีพระอรหันต์เจ้าผู้บรรลุธรรมสุขขะ
28 มิ.ย. 2563 เวลา 07.36 น.
ดูทั้งหมด