ไลฟ์สไตล์

ชุมชนบ้านบุแหล่งทำขันลงหิน มรดกทางภูมิปัญญาสมัยอยุธยา หนึ่งเดียวในไทย

BLT BANGKOK
อัพเดต 18 พ.ย. 2562 เวลา 08.18 น. • เผยแพร่ 18 พ.ย. 2562 เวลา 08.14 น.

บริเวณปากคลองบางกอกน้อย ข้างวัดสุวรร-ณารามราชาวรวิหาร (วัด ทอง) มีชุมชนเก่าแก่นามว่า “บ้านบุ” ที่เล่ากันว่ามีต้นตระกูลสืบมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายหลังจากกรุงแตกเมื่อราวปี 2310 หรือกว่า 250 ปีที่แล้ว ได้อพยพมาอยู่ที่บางลำภูเป็นแห่งแรก ก่อนจะย้ายมายังบ้านบุในปัจจุบัน
ชาวบ้านบุมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการทำงานหัตถกรรมโบราณ คือ “ขันลงหิน” โดยคำว่าลงหิน มาจากการขัดผิวให้เรียบด้วยหิน ส่วนบุหมายถึงการตีขึ้นรูป ซึ่งปรากฏในนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ ที่ประพันธ์เอาไว้ว่า …ยลย่านบ้านบุตั้งตีขัน ขุกคิดเคยชมจันทน์แจ่มฟ้า…  

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยขันลงหินเป็นภาชนะที่นิยมกันในสมัยก่อน เฉพาะอย่างยิ่งระดับเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งเป็นของสูง ใช้ในงานมงคล ใส่น้ำมนต์หรือน้ำ การทำขันลงหินถือเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน โดยสืบทอดวิชาทางภูมิปัญญาของบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น อย่างไรก็ตามในอดีตอาชีพบุขันลงหินนั้นเป็นที่นิยมกันมาก แต่เดิมมีกว่า 10 ครัวเรือน ภายหลังกลับเสื่อมความนิยมลงไป ด้วยสาเหตุจากภัยสงครามในอดีต และวัตถุดิบที่มีราคาสูงขึ้น รวมถึงในโลกยุคใหม่มีภาชนะให้เลือกใช้หลากหลาย จนอาชีพนี้ไม่เป็นที่นิยม
ปัจจุบันการทำขันลงหินหลงเหลืออยู่เพียงครัวเรือนเดียวคือโรงงานขันลงหินบ้านบุ เจียม แสงสัจจา ซึ่งปัจจุบันดูแลโดยคุณเมตตา เสลานนท์ ทายาทรุ่นที่ 6 ในวัย 76 ปี โดยยังคงรูปแบบวิธีดั้งเดิม อันเป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ความปราณีตและพละกำลัง ซึ่งยังคงทำขันด้วยมือในทุกขั้นตอน โดยมี 6 ขั้นตอน ผ่านกระบวนการทำที่ต้องใช้ทั้งฝีมืออันชำนาญ บวกกับแรงกายและความอดทนสูง

การทำขันลงหิน เริ่มต้นจากขั้นตอนแรก เรียกว่าการตีขึ้นรูป โดยใช้ทองแดง ดีบุก และเศษขันลงหินเก่า นำมาหลอมในเบ้าที่ทำด้วยดินเผาประมาณ 15 นาที แล้วนำมาตีแผ่หรือเรียกว่า “บุ” ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด ช่างต้องมีความแข็งแรง ทั้งยังนั่งหน้าเตาไฟเป็นวันๆ และการตีก็ต้องอาศัยจังหวะ บวกกับความเข้าใจกันและกันของช่างที่มักจะเป็นสามีภรรยาหรือลูก ปัจจุบันมีช่างที่ทำงานนี้เพียง 4 คนเท่านั้น จากนั้นขั้นตอนที่ 2 เป็นการลาย เพื่อเก็บรอยค้อนจากการตีขึ้นรูปและแต่งขันให้เรียบ ขั้นตอนที่ 3 การกลึง ขัดเอาผิวภาชนะออกเพื่อให้เห็นสีทองของทองสำริด โดยนำชันมาทาก้นแล้วนำไปติดที่เครื่องกลึงซึ่งเรียกว่าภมร ซึ่งจะกลึงทั้งด้านนอกหรือกลึงดำ และด้านในหรืือกลึงขาว
จนมาสู่ขั้นตอนที่ 4 การกรอ โดยใช้ตะไบมากรอขอบปากขันให้เรียบเสมอกัน ขั้นตอนที่ 5 คือการเจียร อันเป็นขั้นตอนใหม่ที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งในอดีตจะไม่มี โดยใช้เครื่องเจียรไฟฟ้ามาตกแต่งรอบตำหนิให้ผิวภาชนะเรียบเนียน เรียกกว่าการเก็บเม็ด และสุดท้ายขั้นตอนที่ 6 ขัด ให้เกิดความเงางาม ในอดีตขัดด้วยหินจึงเป็นที่มาของ “ขันลงหิน” ซึ่งกว่าจะได้ขันลงหิน 1 ใบต้องใช้เวลาทั้งหมด 4 วัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ขันลงหินบ้านบุได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้าโอทอประดับ 5 ดาว ด้วยจุดเด่นคือความสวยงาม ผิวเงางาม ดูสูงค่า เนื้อภาชนะเหนียว แข็งแรง ไม่ขุ่นมัวง่าย มีน้ำหนัก ผิวเย็น และเมื่อเคาะจะเกิดเสียงกังวานใส คล้ายเสียงระฆัง จึงทำให้มีคนสนใจนำไปเป็นของตกแต่งบ้านหรือของที่ระลึก ถึงอย่างนั้น งานขันลงหินก็นับได้ว่าเป็นงานภูมิปัญญางานช่างฝีมืออีกหนึ่งแขนงที่ลมหายใจกำลังโรยรินลงทุกที ด้วยเพราะมีผู้ผลิตเพียงรายเดียวในไทย รวมถึงช่างฝีมือที่เหลืออยู่น้อยแล้ว ซึ่งต่างก็มีอายุมากกว่า 60 ปี น่าสนใจว่างานหัตถศิลป์อันล้ำค่าที่มีมาแต่โบราณนี้ จะสามารถยืนหยัดต่อไปอีกยาวนานเพียงใด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • 💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰 💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰 ‼️ด่วนครับ‼️🙎🏻‍♂️🙍🏻‍♀️ตามหาคนอยากทำงานพาทไทม์ เรียนก็ทำได้ อยากทำเป็นรายได้เสริมก็ทำได้ คนทำงานประจำก็ทำได้ ด่วน!!!!!📌📌📌📌📌 - คอนเฟิร์มลูกค้าทางไลน์ (ทำผ่านมือถือ📱) - รับอายุ 18-60 ปี - อยู่กรุงเทพปริมณฑลรับเป็นพิเศษ 💰รายได้ 3,000-5,000 ต่อสัปดาห์ 20,000/เดือน💰 สนใจงานแอดไลน์ @gmt9811n (มี @ ด้วยครับ) 💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰 💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰
    19 พ.ย. 2562 เวลา 02.14 น.
  • kris Senamart๗๘
    เสียดายภูมิปัญญาไทย
    19 พ.ย. 2562 เวลา 00.12 น.
ดูทั้งหมด