ทั่วไป

"แนน ทัดดาว"อดทนฝ่าฟันสู้อาการเจ็บ นักกายภาพฯ เล่าเรื่องราวที่น้อยคนจะรู้

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์
อัพเดต 11 ต.ค. 2565 เวลา 12.26 น. • เผยแพร่ 11 ต.ค. 2565 เวลา 11.53 น.

นักกายภาพบำบัดประจำทีมวอลเลย์บอลหญิงไทย เผยเรื่องราววเส้นทางการต่อสู้กับอาการบาดเจ็บของ"แนน"ทัดดาว นึกแจ้ง ความอดทนอันน่าชื่นชมในการฟื้นฟูร่างกาย กลับมาลงสนามช่วย วอลเลย์บอลทีมชาติไทยล่าสุด

เรียกได้ว่าต้องชื่นชมในความอดทนของ"แนน"ทัดดาว นึกแจ้ง และความตั้งใจนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย รายนี้ ที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นพยายามรักษาตัวและฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บ โดยทาง "เนตร" ทิพย์รัตน์ แก้วใส นักกายภาพคนเก่งประจำทีมตบสาวไทย ได้เผยเรื่องราวอาการบาดเจ็บ เเละการต่อสู้ฟื้นฟูสภาพร่างกายของ แนน ทัดดาว นึกแจ้ง เพื่อหวนคืนสนามอีกครั้ง ในการช่วยทัพวอลเลย์บอลทีมชาติไทยล่าสุด ลุยศึกวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก2022 ผ่านทางเฟซบุ๊คส่วนตัว Tibparat Kaewsai

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
เนตร ทิพย์รัตน์ แก้วใส

โพสต์นี้ขอโพสต์ถึงนักกีฬาคนเก่ง คนแกร่ง"แนน"ทัดดาว นึกแจ้ง อีกคนที่ฝ่าฟันทั้งปัจจัย trauma ทั้งทางกายและทางใจ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หลังจากที่ แนนได้รับบาดเจ็บแบบ rare case กระดูก transverse process ของ lumbar spine ร้าวหลายระดับเพราะของกล้ามเนื้อ iliopsoas กระชากตรงจุดเกาะอย่างรุนแรง (mri and ct scan) แนนได้พักฟื้นที่โรงพยาบาลปิยะเวทในการรักษาภาวะอักเสบและการร้าวของกระดูก ขอบคุณทางโรงพยาบาลปิยะเวทและแพทย์ในทีม วอลเลย์บอลหญิงไทย และผู้ใหญ่ทุกฝ่ายที่จัดการกานรักษาขั้นแรกให้แนนเป็นอย่างดี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หลังจากออกโรงพยาบาลเรามีเวลา 6 อาทิตย์สำหรับการฟื้นฟูนักกีฬาให้ทันและพร้อมที่สุดในการแข่งขันชิงแชมป์โลกเดินทางวันที่ 20 ก.ย. 2022 โปรแกรมของแนนแน่นไปด้วยโปรแกรมเวทเทรนนิ่งที่ต้องปรับให้เหมาะสมกับภาวะบาดเจ็บที่หลัง,โปรแกรมฟื้นฟูฯเพื่อเตรียมซ้อม skill และระบบทีม ในโปรแกรมฟื้นฟู ประกอบด้วย mobility, flexibility, neuromuscular activity, core stability, strengthening - functional exercise และเข้าซ้อมสกิลพื้นฐานทางวอลเลย์บอล

2 week แรก แนนต้องมี progress อะไรบ้าง, 4 week แนนต้อง progress อะไรเพิ่ม, 6 week แนนต้อง progress อะไรเพื่อเข้าสู่ performance ของนักกีฬาและสามารถนำตัวเองไปสู่ high performance ของตัวเอง

แทบทั้งวันที่แนนต้องเดินวนฝึกที่ตึกวิทย์ห้องกายภาพบำบัด, ห้องพยาบาล, ห้องเวท, ห้องสรีระ, ห้องซ้อมตัวเอง ต้องขอบคุณทุกงานทุกฝ่ายของศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาที่เอื้อเฟื้อและดูแลนักกีฬาไปด้วยกันค่ะ

ในระหว่างทางที่ต้องเพิ่ม mobility ของ spine แนนก็ติดโควิดก็ต้องทำออนไลน์กัน แนนถึงได้รู้ว่าหลังแข็งมากและความยืดหยุ่นหายไปหมด เราปรับให้แนนฝึก isokinetic ของกล้ามเนื้อขาในช่วง 2 อาทิตย์แรกที่เวทเพราะไม่อยากให้การเวทช่วงล่างส่งผลต่อหลังที่ยังแข็งๆแน่นๆอยู่555 ช่วงที่พี่ไม่อยู่ก็ได้นักกายภาพท่านอื่นคอยช่วยในโปรแกรมที่พี่ให้ไว้ผ่านไปด้วยดีทั้งน้องป๊อบและน้องเฟิร์น รวมไปถึงงานกายภาพบำบัดของ กกท. ขอบคุณมากๆขอบคุณมากๆนะคะ

การฝึก mobility ช่วงแรกเราฝึก front-back line และ lateral line จนน้องทำได้ดี ส่วนที่ยากที่สุดของแนน นักวอลเลย์บอลทีมชาติไทย คือท่าที่แนนบาดเจ็บมาคือ transvers plane หรือการ rotation ลำตัว การล้มหมุนตัวไปดีเฟนซ์บอล สมองมันจำว่าการเคลื่อนที่แบบนี้ทำให้เจ็บ ตัวแนนแข็งไปหมด หมุนตัวด้านซ้ายไม่ได้ เราต้องประคองและช่วยไกด์ให้จนแนนรู้ว่าทำได้ ไม่เจ็บแล้ว ใช้ท้องsuckเข้าตลอดเวลา

เราดีใจมากๆที่เห็นแนนเริ่มซ้อมระบบกับทีมทั้งรับและบุก จนมาข้อเท้าพลิกก่อนเดินทางอาทิตย์นิดๆ นักกายภาพบำบัดใจสลาย ทีมใจสลาย นักกีฬาก็ใจสลาย55555 เอาว่ะ…มาสู้ต่อ

cr.Tibparat Kaewsai

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่ tnews

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 8
  • 🌷p.lek 🌿🌷
    ยอดเยี่ยมค่ะ เป็นกำลังใจให้ทุกคน
    11 ต.ค. 2565 เวลา 13.26 น.
  • N.K.Asia Consult_97
    สู้ต่อไปครับ
    11 ต.ค. 2565 เวลา 13.36 น.
  • a
    บล็อกเก่ง
    11 ต.ค. 2565 เวลา 13.23 น.
  • Yutthana
    ปรบมือสิครับ
    11 ต.ค. 2565 เวลา 13.12 น.
  • ครูอ้อ👑อัญชลินทร์
    เลิฟๆๆๆๆ
    11 ต.ค. 2565 เวลา 12.45 น.
ดูทั้งหมด