ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

คนไทยเกินครึ่งก่อหนี้พุ่งเหตุรายจ่ายสูงนำรายได้

[invalid]
อัพเดต 22 ธ.ค. 2560 เวลา 10.30 น. • เผยแพร่ 22 ธ.ค. 2560 เวลา 09.19 น. • tnnthailand.com
ผลสำรวจสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งปี60 พบกว่า 51% ยังมีภาระหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ

ผลสำรวจสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งปี60 พบกว่า 51% ยังมีภาระหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ 

วันนี้ (22ธ.ค.60) สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำสำรวจข้อมูลโดยวิธีการสำรวจตัวอย่างและสำมะโนประชากรประมาณ 26,000-80,000 ราย ในด้านต่างๆ ในช่วงครึ่งปีแรก 2560 จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย หนี้สิน และทรัพย์สินของครัวเรือน ตลอดจนลักษณะที่อยู่อาศัย พบว่าครัวเรือนไทยทั่วประเทศมีรายได้เฉลี่ย 26,973 บาทต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 21,897 บาทต่อเดือน โดยรายได้และค่าใช้จ่ายของครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี และส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเกือบทุกภาคและทุกกลุ่มอาชีพ ซึ่งอัตราการเพิ่มของรายได้อยู่ที่ 0.1% น้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 1.7% และมีแนวโน้มว่าผลสำรวจรายได้และค่าใช้จ่ายของครัวเรือนไทยปี 2560 จะมีแนวโน้มใกล้เคียงตัวเลขในช่วงครึ่งปีแรก ทั้งนี้ ในทางกลับกันพบว่าภาคครัวเรือนไทยมีการออมลดลง  โดยในช่วงครึ่งปีแรกมีเงินออมเฉลี่ย 5,076 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นสัดส่วนเงินออมต่อรายได้ 18.8% และเมื่อเทียบหนี้สินต่อรายได้ของครัวเรือนในรอบ 11 ปี ตั้งแต่ปี 2550-2560 พบว่าหนี้สินต่อรายได้ในปี 2554 และ 2558 ต่ำสุดคือ 5.8 เท่าแล้วเพิ่มขึ้นเป็น 6.6 เท่าในปี 2560 หรือเฉลี่ย 177,128 บาทต่อครัวเรือน โดยมีข้อสังเกตว่าครัวเรือนที่มีรายได้สูงจะมีค่าใช้จ่ายและหนี้สินสูงขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ในส่วนของหนี้นอกระบบของครัวเรือนในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นเป็น 6.2% เมื่อเทียบกับปี 2558 ที่ 4.9% และมีหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นเป็น 4.6% เมื่อเทียบกับปี 2558 ที่ 3.7% อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีแรกพบว่าครัวเรือนที่มีหนี้สินคิดเป็น 51% ของครัวเรือนทั้งประเทศ หรือคิดเป็น 11 ล้านครัวเรือน โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 177,128 บาทต่อครัวเรือน หรือประมาณ 6.6 เท่าของรายได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือน แบ่งเป็น การใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค 40.3% ซื้อบ้านหรือซื้อที่ดิน 34% และหนี้เพื่อใช้ในการศึกษา 1.8% และการก่อหนี้เพื่อใช้ในการลงทุนและอื่นๆ แบ่งเป็น หนี้ใช้ทำการเกษตร 12.9% และใช้ทำธุรกิจ 10.5% โดยจะเห็นว่าสาเหตุการเป็นหนี้ส่วนใหญ่นำมาใช้ในครัวเรือน ซึ่งเป็นการก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 51
  • Kittipong Sir@8942
    ก็รัฐหนุน สังคมไร้เงินสด ยิ่งเพิ่มภาระหนี้ได้ง่ายขึ้น คนเราถ้าจ่ายเงินผ่านเงินสดอย่างน้อยพฤติกรรมจ่าย คนก็ยังยั้งใจได้ง่ายกว่าการคลิ้กๆกดไม่เชื่อลองสั่งเกตุง่ายๆเลย ลองใช้แอฟพวกe-Wallet ของเซเว่นดูครับลองเติมเงินสัก500ดูแป๊ปเดียวหมด
    23 ธ.ค. 2560 เวลา 16.15 น.
  • Mai.SVS
    โทษความอยากได้อยากมีของแพง ของตัวเองก่อนมั้ยอ่า ต่อให้ข้าวจานละ10บาท แต่ยังหิวไอโฟน หิวโน่นนี่ มันก็เป็นหนี้เหมือนเดิม
    23 ธ.ค. 2560 เวลา 15.06 น.
  • ร.ต.บัญญัติ ข.ธัญญา
    จะมาด่าทำไม รัฐฯ คสช. "เอาอยู่..." ได้แค่นี้ ก็ดี เท่าไหร่แล้ว ไปด่าไอ้พวก เป่านกหวีด! - พวก ตีนตับ! มือตับ! โน้น! ไม่รู้จะ โผล่ มาอีกตอนไหน เลือกตั้ง เมื่อไหร่? พวกมัน ก็โผล่ ออกมา กันเต็มถนนอีกไม่เชื่อคอยดู... ก็ปลดล๊อก!ไง??5555🐃🐂🐃🐂🐃🐂🐃🐂🐐
    23 ธ.ค. 2560 เวลา 14.51 น.
  • ของราคาแพงขึ้น แต่ค่าแรงก็ยังเท่าเดิม ไม่จนก็แปลกแล้ว
    23 ธ.ค. 2560 เวลา 14.34 น.
  • ปัทวรรณ
    ขึ้นค่าแรงม่เกี่ยวกับของราคาขึ้นอยู่ที่พ่อค้าคนกลางตังหากไปคุมตรงนั้นให้ได้เหอะแค่นี้รายวันก็อดตายอยู่แล้วอยากให้คนที่เม้นมาทำรายวันดูมั้งสิมันจะอดตายมั้ยเม้นให้ดูตาเรือมั้งม่รู้แล้วยังเผีอกอีก
    23 ธ.ค. 2560 เวลา 13.35 น.
ดูทั้งหมด