อสังหาริมทรัพย์

เส้นทางแผนที่สถานีรถไฟฟ้า BTS-MRT ฉบับใหม่ พร้อมอัปเดตทำเลศักยภาพใหม่

DDproperty
เผยแพร่ 15 ม.ค. 2564 เวลา 18.07 น.
เส้นทางแผนที่สถานีรถไฟฟ้า BTS-MRT ฉบับใหม่ พร้อมอัปเดตทำเลศักยภาพใหม่

การเดินทางโดยรถไฟฟ้าได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากเหตุผลด้านความสะดวกรวดเร็ว ที่ช่วยประหยัดเวลาการเดินทางได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบันเส้นทางรถไฟฟ้า BTS-MRT ได้ถูกขยายเป็นหลายเส้นทาง ไม่เฉพาะภายในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังสยายปีกสู่ปริมณฑล

สิ่งเหล่านี้นอกจากจะเป็นโอกาสด้านการเดินทางแล้ว ยังนับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ควรเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าของทำเลทองในอนาคตอันใกล้ เราจึงขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักแผนที่รถไฟฟ้า BTS-MRT ฉบับสมบูรณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการลงทุน และมาอัปเดตราคารถไฟฟ้าใหม่ที่ทางภาครัฐเตรียมลดราคาลงเพื่อจูงใจประชาชนให้ใช้บริการมากขึ้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

อัปเดตราคาค่ารถไฟฟ้า

อัปเดตรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อัปเดตรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง

อัปเดตเวลาเปิด-ปิดรถไฟฟ้า

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อัปเดตราคาค่ารถไฟฟ้า

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS

รถไฟฟ้า BTS เตรียมปรับราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ประชาชน ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป โดยการเก็บค่าโดยสารจะเก็บเพียงครั้งเดียวต่อรอบ ไม่มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน โดยคิดจากเส้นทางต้นทางที่เริ่มเดินทาง ดังนี้

ปรับราคารถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว

1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงเส้นทางสัมปทานในปัจจุบัน (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่) เป็นไปตามตารางที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เป็นผู้กำหนด ซึ่งยังคงจัดเก็บในอัตราเดิม คือ 16-44 บาท

2. ส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จากสถานีห้าแยกลาดพร้าวถึงสถานีคูคต ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)

3. ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท จากสถานีบางจากถึงเคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)

4. ส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงที่ 2 จากสถานีโพธิ์นิมิตรถึงสถานีบางหว้า ค่าโดยสาร 15-24 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS สูงสุด คือ

- กรณีเดินทางจากส่วนหลักข้ามไปช่วงห้าแยกลาดพร้าว-คูคต สูงสุดอยู่ที่ 74 บาท

- กรณีเดินทางจากส่วนหลักข้ามไปช่วงบางจาก-เคหะฯ สูงสุดอยู่ที่ 74 บาท

- กรณีเดินทางทั้งระบบ 104 บาท (ลดจากเดิมที่ต้องจ่ายจริงตลอดสาย 158 บาท เพื่อบรรเทาผลกระทบในช่วงโควิด-19)

 

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS ปัจจุบัน (ก่อนปรับขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564)

1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS ได้แก่

- สายสุขุมวิท สถานีอ่อนนุช-หมอชิต ค่าโดยสาร 16-44 บาท

- สายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่ ค่าโดยสาร 16-44 บาท

2. ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS ส่วนต่อขยาย ได้แก่ 

- สถานีอ่อนนุช-แบริ่ง ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย

- สถานีวงเวียนใหญ่-บางหว้า ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย

3. ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ปัจจุบันเปิดให้บริการฟรี 18 สถานี ได้แก่

- สถานีหมอชิต-วัดพระศรีมหาธาตุ ฟรี 9 สถานี ได้แก่ ห้าแยกลาดพร้าว พหลโยธิน 24 รัชโยธิน เสนานิคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมป่าไม้ บางบัว กรมทหารราบที่ 11 และวัดพระศรีมหาธาตุ

- สถานีแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ฟรี 9 สถานี ได้แก่ สำโรง ปู่เจ้า ช้างเอราวัณ โรงเรียนนายเรือ ปากน้ำ ศรีนครินทร์ แพรกษา สายลวด และเคหะสมุทรปราการ

หมายเหตุ: ราคาข้างต้นเป็นราคาบัตรโดยสารบุคคลทั่วไปเท่านั้น

 

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมปรับราคาค่าโดยสารตามราคาปกติ 14-42 บาท (หากไม่ซื้อบัตรโดยสารแบบจำกัดวันจำกัดเที่ยว) เมื่อนั่งสายสีม่วงเข้าไประบบสายสีน้ำเงินจะเสียค่าโดยสารในอัตราปกติ จ่ายสูงสุด 70 บาท เริ่ม 1 กุมภาพันธ์ 2564

นอกจากนี้ ทาง รฟม. ได้จัดโปรโมชั่นเที่ยวโดยสาร ใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เริ่ม 1 กุมภาพันธ์ 2564 มี 5 รูปแบบ ได้แก่

- เที่ยวโดยสาร 15 เที่ยว ใช้เดินทางภายใน 30 วัน ราคา 450 บาท

- เที่ยวโดยสาร 25 เที่ยว ใช้เดินทางภายใน 30 วัน ราคา 700 บาท

- เที่ยวโดยสาร 40 เที่ยว ใช้เดินทางภายใน 30 วัน ราคา 1,040 บาท

- เที่ยวโดยสาร 50 เที่ยว ใช้เดินทางภายใน 30 วัน ราคา 1,100 บาท

- เที่ยวโดยสาร 60 เที่ยว ใช้เดินทางภายใน 60 วัน ราคา 1,200 บาท

สามารถเติมเที่ยวโดยสารได้ที่ห้อง MRTสายสีม่วงเท่านั้น โดยยังไม่สามารถเติมแบบออนไลน์ได้ ทั้งนี้ เที่ยวโดยสารจะมีอายุการใช้งานนับจากวันที่ใช้เดินทางครั้งแรกตามประเภทของเที่ยวโดยสารแต่ละชนิด (นับวันที่เริ่มใช้งานเป็นวันที่ 1) และต้องใช้เดินทางครั้งแรกภายใน 45 วันนับจากวันที่เติมเที่ยวโดยสาร

 

ค่าโดยสาร MRT สายสีม่วงปัจจุบัน (ก่อนปรับขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564)

รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน ค่าโดยสาร 14-20 บาท โดยจะเสียค่าแรกเข้า 14 บาท สถานีแรก 17 บาท และสถานีที่ 2-16 คิดค่าโดยสาร 20 บาท

หมายเหตุ: สำหรับผู้ถือบัตรโดยสารประเภทเด็ก อายุไม่เกิน 14 ปี (วันเกิดครบรอบ 14 ปี) และมีความสูงระหว่าง 91-120 เซนติเมตร และผู้สูงอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จะได้รับส่วนลด 50% และผู้ถือบัตรโดยสารประเภทนักเรียน/นักศึกษา ที่มีอายุเกินวันเกิดครบอายุ 14 ปี แต่ไม่เกินวันเกิดครบ 23 ปี จะได้รับส่วนลด 10% จากอัตราค่าโดยสารใหม่ข้างต้น

กรณีที่ผู้โดยสารเดินทางต่อเนื่อง 2 สาย ระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จะเก็บค่าโดยสารในอัตราสูงสุด 48 บาท/เที่ยว (รฟม. ยกเว้นค่าแรกเข้าในระบบ 14 บาท) 

 

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน อยู่ที่ 17-42 บาท (1 มกราคม 2564-2 กรกฎาคม 2565)

 

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (Airport Rail Link: ARL)

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เตรียมต่อขยายมาตรการ ลดค่าโดยสารเพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้ประชาชนออกไปอีก 3 เดือน

โดยจะมีการลดราคานอกช่วงเวลาเร่งด่วน (Off Peak Hour) ‪วันจันทร์-ศุกร์ ใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 05.30-07.00 น., ‪10.00-17.00 น. และ 20.00-24.00 น. ให้แก่ผู้โดยสารที่ถือบัตรสมาร์ทพาสประเภทบุคคลทั่วไป ‬(Adult Card) จากอัตราค่าโดยสารปกติ 15-45 บาท เหลือ 15-25 บาท โดยจะคิดอัตราค่าโดยสารสถานีแรก 15 บาท สถานีที่สอง 20 บาท และสถานีที่ 3 เป็นต้นไป คิดค่าโดยสาร 25 บาท

คาดว่าจะสิ้นสุดในเดือนมกราคม 2564

 

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีทอง

15 บาทตลอดสาย โดยผู้ใช้บริการกดบัตรโดยสารที่บริเวณสถานีแล้ว ผู้โดยสารที่ใช้บัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสรายเดือนและบัตรแรบบิท สามารถใช้บัตรดังกล่าวเข้าใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีทองได้เช่นกัน โดยหักเป็นรายเที่ยว หรือหักตามมูลค่าค่าโดยสารเที่ยวละ 15 บาท แล้วแต่ชนิดของบัตร

 

รถไฟฟ้า BTS-MRT มีด้วยกันหลายสาย

 

อัปเดตเส้นทางแผนที่รถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว

1. รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-เคหะสมุทรปราการ

เส้นทางแรกบนแผนที่รถไฟฟ้า BTS เดิมให้บริการจากสถานีหมอชิตและสิ้นสุดที่สถานีแบริ่ง และขยายต่อจนปัจจุบันเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้บริการถึงเคหะสมุทรปราการ เส้นทางนี้ทอดยาวผ่านหลายทำเลทองย่านธุรกิจและสิ่งอำนวยสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสยามสแควร์ ราชประสงค์ อโศก และพร้อมพงษ์ ทั้งยังมีหลายทำเลที่กำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางธุรกิจในอนาคตอย่างหมอชิต จตุจักร และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

 

2. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-หัวลำโพง

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT บางซื่อ-หัวลำโพง ถือเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของไทยที่ช่วยอำนวยความสะดวกการเดินทางจากขอบกรุงเทพที่ติดนนทบุรีสู่ศูนย์กลางเดินทางรถไฟที่หัวลำโพง โดยทำเลทองที่เติบโตสูง ได้แก่ สีลม สุขุมวิท อโศก และย่านธุรกิจใหม่ รัชดาภิเษก ย่านเหล่านี้เป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนำ ห้างสรรพสินค้าไฮเอนด์ โรงแรมหรู และสวนสาธารณะ ตลอดจนเป็นแหล่งรวมที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง

 

3. รถไฟฟ้า BTS สายสีลม และส่วนต่อขยาย ตากสิน-บางหว้า

รถไฟฟ้า BTS สายสีลม และส่วนต่อขยาย ตากสิน-บางหว้า เชื่อมต่อพื้นที่ฝั่งธนบุรี สู่ใจกลางกรุงเทพฯ โดยเป็นเส้นทางสำคัญในแผนที่รถไฟฟ้าที่มีโอกาสขยายตัวมากในอนาคต โดยเฉพาะวงเวียนใหญ่ กรุงธนบุรี และสะพานตากสิน อีกทั้งรองรับการเดินทางทั้งทางบกและทางเรือ มีห้างสรรพสินค้าชื่อดังที่ลูกค้ามีศักยภาพในการซื้อ และเดินทางต่อไปได้ยังทำเลธุรกิจ ศาลาแดง สีลม สาทร และสยามสแควร์

 

4. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท-สุวรรณภูมิ

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ หรือ ARL เป็นสายสำคัญที่สุดในแผนที่รถไฟฟ้าสำหรับนักเดินทางไทยและนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปมาจากสนามบินสุววรณภูมิ โดยมีสถานีพญาไทเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังศูนย์กลางสายสีเขียวที่เป็นแหล่งช้อปปิ้งและบันเทิง และมีสถานีมักกะสัน ซึ่งตั้งอยู่ในย่านธุรกิจอโศก เชื่อมต่อสถานีเพชรบุรีของสายสีน้ำเงินที่มุ่งสู่ย่านธุรกิจสุขุมวิทและสีลม และในอนาคตจะเชื่อมต่อกับสายสีเหลืองด้วย

 

5. รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-คลองบางไผ่

รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ เส้นทางที่คนนนทบุรีควรไฮไลต์บนแผนที่รถไฟฟ้าให้เป็นทางเลือกสำหรับการพักอาศัยและการเดินทางเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะบางใหญ่ แจ้งวัฒนะ งามวงศ์วาน และที่น่าจับตาคือ สถานีบางซื่อ เพราะถูกวางให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมสำคัญที่จะรองรับทั้งระบบรางในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และระบบรางรถไฟความเร็วสูงที่มุ่งหน้าไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ

 

รถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางเชื่อมต่อใจกลางเมือง-ปริมณฑล

รถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางเชื่อมต่อใจกลางเมือง-ปริมณฑล

บทความ • กันยายน 2563

 

6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง

รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง เส้นทางน้องใหม่บนแผนที่รถไฟฟ้า โดยผ่านวัดมังกรและเมืองเก่า เช่น สนามไชย ถนนเจริญกรุง สามยอด ซึ่งมีอาคารบ้านเรือนและสถานที่สำคัญที่โดดเด่นด้านสถาปัตยกรรม จึงมีศักยภาพในการเติบโตด้านท่องเที่ยว นอกเหนือจากด้านที่อยู่อาศัย สิ่งอำนวยความสะดวก และเศรษฐกิจในเส้นทางชาญเมืองมุ่งสู่ภูมิภาคตะวันตก

 

ทำเลมาแรงในแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่น่าลงทุน

ทำเลมาแรงในแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่น่าลงทุน

บทความ • กรกฎาคม 2562

 

7. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เตาปูน-ท่าพระ

ปัจจุบันเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้ว ทำเลที่น่าปักหมุดในแผนที่รถไฟฟ้าคือ บางซื่อและเตาปูน เพราะจะถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมเชื่อมต่อหลายเส้นทางการเดินทางที่สำคัญ โดยท่าพระ สถานีปลายทาง ก็เป็นอีกหนึ่งทำเลที่น่าจับจอง เพราะจะกลายเป็นศูนย์รวมการเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งธนบุรี

 

8. รถไฟฟ้าสายสีทอง

รถไฟฟ้าสายสีทอง หรือรถไฟฟ้าสถานีกรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-สะพานพุทธ เป็นโครงการขนส่งมวลชนบนพื้นที่ฝั่งธนบุรี แม้ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าสายสั้น ๆ ที่มีระยะทางทั้งสิ้นเพียง 2.8 กิโลเมตร แต่ก็ช่วยให้ทำเลที่รถไฟฟ้าสายสีทองพาดผ่านมีศักยภาพเพิ่มขึ้น

โดยความพิเศษของรถไฟฟ้าสายสีทองคือ เป็นรถไฟฟ้าไร้คนนขับสายแรกของประเทศ ใช้รางเบานำทาง แนวเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองแบ่งออกเป็น 2 ระยะ 4 สถานี โดยระยะแรก มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสาน ส่วนระยะที่ 2 มี 1 สถานี ได้แก่ สถานีประชาธิปก ค่าบริการ 15 บาท ตลอดสาย

 

อัปเดตรถไฟฟ้าสายสีทอง รู้จักเส้นทางและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น

อัปเดตรถไฟฟ้าสายสีทอง รู้จักเส้นทางและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น

บทความ • ธันวาคม 2563

 

9. รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มีสถานีแรกคือ ห้าแยกลาดพร้าว ทำเลศักยภาพที่แวดล้อมด้วยแหล่งช้อปปิ้งและโรงเรียน รวมทั้งเชื่อมต่อการเดินทางไปยังย่านธุรกิจสำคัญทั้งจากเส้นทางตรงของสายสีเขียวนี้และการเปลี่ยนที่สถานีพหลโยธินของรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT

ส่วนต่อขยายนี้ ซึ่งเชื่อมการเดินทางจากชานเมืองมาสู่ย่านธุรกิจใจกลางเมือง จะเติบโตขึ้นอย่างมากด้วยโครงการที่อยู่อาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย โดยขณะนี้ราคาที่ดินสูงขึ้นและมีโครงการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณห้าแยกลาดพร้าว รัชโยธิน แยกเกษตร และหลักสี่

 

ชี้ทำเลน่าลงทุนของรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

ชี้ทำเลน่าลงทุนของรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

บทความ • ธันวาคม 2563

 

เส้นทางแผนที่รถไฟฟ้า BTS และ MRT ฉบับสมบูรณ์

เส้นทางแผนที่รถไฟฟ้า BTS และ MRT ฉบับสมบูรณ์ via: www.mrta.co.th

 

ดาวน์โหลดเส้นทางแผนที่รถไฟฟ้า BTS และ MRT ฉบับเต็มได้ที่นี่

อัปเดตแผนที่รถไฟฟ้าที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

1. รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี

คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2564 โดยผ่านจากแหล่งที่อยู่อาศัยในนนทบุรี เขตชานเมืองกรุงเทพฯ จนถึงมีนบุรีซึ่งเป็นขอบกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ สถานศึกษา ห้างสรรพสินค้า และตลาดนัด ที่สำคัญ เช่น กรมชลประทาน ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมืองทองธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และตลาดนัดจตุจักร 2 รวมทั้งผ่านรามอินทราและวัชรพลที่เป็นทำเลแห่งศักยภาพของที่พักอาศัยในแผนที่รถไฟฟ้า

 

อัปเดตรถไฟฟ้าสายสีชมพู และทำเลที่น่าสนใจ

อัปเดตรถไฟฟ้าสายสีชมพู และทำเลที่น่าสนใจ

บทความ • ตุลาคม 2563

 

2. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง

คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2564 เป็นสายที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ที่สถานีรัชดา (สถานีลาดพร้าวของรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT) สายสีส้มที่สถานีลำสาลี และรถไฟฟ้า Airport Rail Link ที่สถานีพัฒนาการ (สถานีหัวหมากของรถไฟฟ้า Airport Rail Link) จุดเชื่อมต่อเหล่านี้นำไปสู่ย่านธุรกิจและการศึกษา บนถนนลาดพร้าวและถนนศรีนครินทร์

หลังสร้างเสร็จ มีแนวโน้มเติบโตเป็นทำเลเศรษฐกิจสำหรับสำนักงานที่พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และ Community Mall โดยเฉพาะบริเวณโชคชัย 4 ลาดพร้าว บางกะปิ พัฒนาการ และศรีนครินทร์

 

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ทำเลอนาคต น่าลงทุน

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ทำเลอนาคต น่าลงทุน

บทความ • พฤษภาคม 2563

 

3. รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต

เส้นทางนี้เปิดให้บริการปี 2564 โดยมีทำเลทองอยู่ที่บางซื่อ ซึ่งถูกวางให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมยิ่งใหญ่ระดับอาเซียน และเชื่อมต่อไปวัดเสมียนนารี ดอนเมือง และสิ้นสุดที่รังสิต ประตูสู่ภาคเหนือและภาควันออกเฉียงเหนือที่คนนิยมพักอาศัย เนื่องจากเป็นที่ตั้งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัยชื่อดัง

 

รถไฟฟ้าสายสีแดงกำลังมา อสังหาฯ ชานเมืองรับเต็ม ๆ

รถไฟฟ้าสายสีแดงกำลังมา อสังหาฯ ชานเมืองรับเต็ม ๆ

บทความ • มกราคม 2563

 

4. รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน หมอชิต-ตลิ่งชัน

อีกหนึ่งเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ที่สถานีหมอชิต ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว แต่ต้องรอเปิดบริการพร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม และสถานีกลางบางซื่อในปี 2564 ในอนาคตมีแผนจะต่อขยายจากสถานีตลิ่งชันไปจนถึงสถานีศาลายา

 

5. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี

เปิดให้บริการปี 2567 สถานีต้นทางตั้งอยู่แนวถนนรัชดาภิเษกและพระราม 9 ทำเลทองของโครงการอสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นจุดตัดเส้นทางสู่ใจกลางเมือง มีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ แหล่งความบันเทิง และรถไฟฟ้าที่ช่วยเสริมศักยภาพพื้นที่เชื่อมต่อรามคำแหง ตลอดจนมีอาคารสำนักงานจำนวนมาก จึงทำให้รถไฟฟ้าสายนี้เป็นอีกหนึ่งเส้นทางเศรษฐกิจ

เส้นทางรถไฟฟ้า BTS-MRT มีส่วนสำคัญที่ทำให้การคมนาคมในมหานครเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งยังส่งเสริมการเติบโตของทำเลทองที่มีอยู่และสร้างทำเลทองแห่งใหม่บนแผนที่รถไฟฟ้า โดยเฉพาะบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ที่ในอนาคตจะกลายเป็นแลนด์มาร์กสำคัญและเป็นพื้นที่ที่หลายคนต้องการเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะผู้ที่สนใจหาทำเลทองเพื่อลงทุนธุรกิจ

 

แนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทำเลใหม่สำหรับที่อยู่อาศัย

แนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทำเลใหม่สำหรับที่อยู่อาศัย

บทความ • พฤษภาคม 2563

 

6. สถานีกลางบางซื่อ

สถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของประเทศไทย ที่มีระบบขนส่งคมนาคมระบบรางที่ดีที่สุดของประเทศ อีกทั้งสถานีรถไฟระบบใหม่แห่งนี้ยังเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รวบรวมการเชื่อมต่อทุกการเดินทางด้านคมนาคมและธุรกิจเข้าไว้ด้วยกัน

โดยจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อการเดินทางในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT หรือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีแดง รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน และรถขนส่งสาธารณะต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยลดปัญญาการจราจรที่ติดขัด เพิ่มความสะดวก และประหยัดเวลาในการเดินทาง

 

สถานีกลางบางซื่อ ระบบรถไฟใหม่ศูนย์กลางคมนาคมใหญ่ระดับอาเซียน

สถานีกลางบางซื่อ ระบบรถไฟใหม่ศูนย์กลางคมนาคมใหญ่ระดับอาเซียน

บทความ • ตุลาคม 2563

 

รถไฟฟ้า BTS-MRT เปิด-ปิดกี่โมง

 

อัปเดตเวลาให้บริการรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้า MRT เปิดกี่โมง

รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายแรก) รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง และเตาปูน-ท่าพระ ให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น.

ความถี่

- ชั่วโมงเร่งด่วนเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.30-19.30 น. ความถี่ไม่เกิน 5 นาทีต่อขบวน

- ชั่วโมงปกติ ความถี่ไม่เกิน 10 นาทีต่อขบวน

รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-24.00 น.

ผู้โดยสารสามารถตรวจสอบตารางการเดินรถและเวลารถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายได้จากประกาศภายในสถานี หรือเฟซบุ๊ก MRT Bangkok Metro โมบายแอพลิเคชั่น Bangkok MRT เว็บไซต์ www.bemplc.co.th ศูนย์บริการข้อมูล โทร. 0-2624-5200

 

รถไฟฟ้า BTS เปิดกี่โมง

รถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท เปิดให้บริการเวลา 05.15-24.00 น. ความถี่ 2.25 นาทีต่อขบวน

รถไฟฟ้า BTS สายสีลม เปิดให้บริการเวลา 05.30-24.00 น. ความถี่ 3.45 นาทีต่อขบวน

สำหรับลานจอดแล้วจร บริเวณรถไฟฟ้า BTS หมอชิต จะเปิดให้บริการจอดรถฟรี ตามเวลาปกติ ตั้งแต่เวลา 05.00-01.00 น.

อัปเดตตารางเวลารถไฟฟ้า BTS เปิด-ปิดกี่โมง และ MRT เปิด-ปิดกี่โมง

อัปเดตตารางเวลารถไฟฟ้า BTS เปิด-ปิดกี่โมง และ MRT เปิด-ปิดกี่โมง

บทความ • ธันวาคม 2563

 

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • wantana
    ผลงานลุงตู่
    17 ม.ค. 2564 เวลา 14.58 น.
ดูทั้งหมด