สุขภาพ

วิธีสังเกตอักษรใต้ขวดน้ำดื่มเพราะมันบอกได้ว่าน้ำดื่มขวดนี้ปลอดภัยหรือไม่

issue247.com
อัพเดต 07 ธ.ค. 2561 เวลา 09.02 น. • เผยแพร่ 10 ธ.ค. 2561 เวลา 00.00 น.

โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคิดมากเวลาที่ซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด แต่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าคุณควรตรวจสอบบริเวณก้นขวดทุกครั้งก่อนซื้อเพื่อสุขอนามัยของตัวเอง อย่างแรกคุณต้องไม่ลืมว่าน้ำดื่มทุกยี่ห้อต้องมีฉลากเพื่อบอกรายละเอียดต่างๆ อย่างเช่นขวดพลาสติกที่มีตัวอักษรอย่าง HDP, HDPE, PP จะไม่มีสารพิษเจือปนอยู่ในน้ำ ส่วนตัวอักษรที่เหลือจะแทนสัญลักษณ์ของสารเคมีต่างๆที่พบได้ในน้ำดื่ม และนี่คือวิธีแยกความแตกต่างระหว่างน้ำดื่มที่ปลอดภัยกับน้ำดื่มที่ปนเปื้อน

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1. PET หรือ PETE

โดยปกติขวดที่นำมาใช้ได้เพียงครั้งเดียวจะติดฉลาก PET หรือ PETE ซึ่งขวดชนิดนี้จะปล่อยโลหะหนักและสารเคมีต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุลของฮอร์โมน

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2. HDP หรือ HDPE

นี่คือฉลากที่แจ้งว่าน้ำดื่มของคุณปลอดภัย เนื่องจากขวดชนิดนี้จะไม่ปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายออกมา

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

3. 3V หรือ PVC

หากขวดน้ำดื่มติดฉลาก 3V หรือ PVC ก็หมายความว่าขวดชนิดนี้จะปล่อยสารเคมีที่ส่งผลเสียต่อฮอร์โมนของคุณออกมา

 

4. LDPE

แม้ว่าพลาสติกชนิดนี้จะไม่ปล่อยสารพิษที่เป็นอันตรายออกมา แต่ก็ไม่ควรนำมาใช้ในการผลิตขวดพลาสติก เนื่องจากเหมาะแก่การนำไปผลิตกระเป๋ามากกว่า

 

5. PP

นี่คือพลาสติกสีขาวหรือกึ่งโปร่งแสงซึ่งนิยมนำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์บรรจุน้ำเชื่อมและโยเกิร์ต

 

6. PS

หากบนขวดมีการติดฉลาก PS ก็หมายความว่าพลาสติกชนิดนี้จะปล่อยสารก่อมะเร็งบางส่วนออกมา ซึ่งโดยปกติพลาสติกชนิดนี้จะนิยมนำไปผลิตเป็นถ้วยกาแฟหรือภาชนะใส่อาหารฟาสต์ฟู้ด

 

7. PC หรือไม่มีฉลาก

เป็นที่รู้กันดีว่าพลาสติกชนิดนี้เป็นพลาสติกที่อันตรายที่สุดเนื่องจากมันจะปล่อยสาร BPA ซึ่งโดยปกติจะนิยมนำไปผลิตเป็นขวดน้ำดื่มสำหรับนักกีฬาและภาชนะใส่อาหาร ดังนั้นก่อนที่จะซื้อน้ำดื่มทุกครั้ง โปรดสังเกตก้นขวดเพื่อให้มั่นใจว่าคุณกำลังดื่มน้ำที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 31
  • 🎶Ta🎶
    อยากรู้ว่ายี่ห้อไหนจ้างเขียนลองหาว่ายี่ห้อไหนใช้ไอ้ตัวที่บอกว่าดี
    22 ต.ค. 2561 เวลา 01.13 น.
  • YP
    รัฐบาลไทยจ้างให่ก็ไม่เข้มงวดดูตัวอย่างตาช่างยางพาราสิ ใค้โต๊ะแผ๊บเดียวผ่าน. ยากจะดีขึ้นทุจริตฝังรากลึกละ
    05 ส.ค. 2561 เวลา 11.38 น.
  • ลุงทอม
    อย แม่งไปหลบที่ไหน ไม่ทำความกระจ่างวะ
    05 ส.ค. 2561 เวลา 11.26 น.
  • ปรีชา 687
    ผิดก็จับสิครับรอรัย..ชีวิตคนไทยจะได้ปลอดภัยไม่ต้องมาลุ้นว่าเป็นพลาสติกชนิดใด
    05 ส.ค. 2561 เวลา 10.34 น.
  • อย.ตื่นๆๆๆ ทำงานบ้างโว้ย
    05 ส.ค. 2561 เวลา 10.25 น.
ดูทั้งหมด