ไขมันทรานส์คืออะไร? ทำไมต้องแบน? มารู้จักกับ "ไขมันทรานส์" ให้มากขึ้น พร้อมส่องเมนูฮิต ว่ามีปริมาณไขมันทรานส์มากแค่ไหน!
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา หลาย ๆ คนคงเห็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข เป็นราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับสินค้าที่ใช้ “ไขมันทรานส์” แล้วสงสัยกันไหมว่า “ไขมันทรานส์” คืออะไร? ทำไมต้องแบน? แล้วจะส่งผลอะไรกับอาหารที่บริโภคในชีวิตประจำวันหรือไม่ วันนี้ Wongnai จะมาตอบคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัยกัน!
ไขมันทรานส์ (Trans-fatty acid) คืออะไร?
“ไขมันทรานส์” (Trans-fatty acid) คือการแปรรูปกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acid) ให้กลายเป็นกรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid) ด้วยการเติมไฮโดรเจนเข้าไป
ทำไมต้องแปรรูป?
เพื่อเปลี่ยนสภาพไขมันไม่อิ่มตัวจากของเหลวกลายเป็นของแข็ง ณ อุณหภูมิห้อง ช่วยให้เก็บได้นานขึ้น ทนความร้อนได้สูงขึ้น ไม่เหม็นหืน และไม่เป็นไข
ทำไมต้องแบนไขมันทรานส์?
“ไขมันทรานส์” นอกจากจะเพิ่มคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C) แล้ว ยังลดคอเลสเตอรอลตัวที่ดี (HDL-C) อีกด้วย ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (โรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคอ้วน)
ปริมาณไขมันทรานส์ที่ร่างกายได้รับต่อหนึ่งวันไม่ควรเกินเท่าไหร่?
ตามที่ FAO/WHO กำหนดไว้ว่าคนเราไม่ควรได้รับไขมันทรานส์เกิน 1% ของพลังงานรวมที่ได้รับ เช่น ถ้าความต้องการพลังงานต่อวันโดยเฉลี่ยคือ 2000 กิโลแคลอรีต่อวัน ปริมาณไขมันทรานส์ที่ไม่ควรได้รับเกินกว่านี้คือ 2.2 กรัม/วัน
ตัวอย่างเมนูที่มีไขมันทรานส์
1โดนัท
ขนมทรงกลมมีรูตรงกลางที่ใคร ๆ ต่างก็ชอบกิน แต่รู้หรือไม่ว่าโดนัทนั้นผ่านการทอดด้วยเนยขาว ทำให้อุดมไปด้วยไขมันทรานส์ในทุกคำที่กัด!
2ขนมปังปิ้งทาเนย (มาการีน)
อีกหนึ่งเมนูยอดฮิตที่พลาดไม่ได้เวลาไปร้านนม แต่รู้หรือไม่ว่า แต่ละแผ่นอุดมไปด้วยมาการีนแบบเต็มสูบ! เพราะบางร้านลดต้นทุนด้วยการใช้มาการีนแทนเนยสด เพราะฉนั้นก่อนจะสั่งกินที่ร้านไหน ก็อย่าลืมดูก่อนล่ะว่าที่กินเข้าไปนั้นเป็นมาการีนหรือเนยสด
3โรตี
สำหรับลิสต์เมนูอุดมไขมันทรานส์ พลาดไม่ได้เลยกับเมนูสตรีทฟู้ดยอดฮิตอย่างโรตี เห็นก้อนเหลือง ๆ ที่ใส่ลงไปก่อนทอดโรตีนั้นไหม มาการีนเน้น ๆ !
4ครัวซองต์
เมนูเบเกอรี่ยอดฮิตที่พบได้ทั่วไป ถ้าเป็นร้านที่ใช้เนยสดก็จะมีราคาสูงหน่อย เพราะฉนั้นถ้าจะลดต้นทุน ก็ต้องใช้มาการีนแทรกเข้าไปในทุกชั้นของแป้งแทน!
5ข้าวโพดคั่ว
คอหนังจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบข้าวโพดคั่ว เนื่องจากเป็นขนมที่กินเพลิน เหมาะสุด ๆ สำหรับกินเวลาดูหนัง แต่รู้หรือไม่ว่า การที่จะคั่วข้าวโพดให้แตกนั้นใช้ความร้อนสูงจนทำให้เนยแท้ ๆ ไหม้ได้ ดังนั้นการใช้มาการีนที่ทนความร้อนจึงเป้นทางออกที่ดีเลยทีเดียว
6ไก่ทอด
การจะทอดไก่ทอดให้สีเหลืองกรอบน่ารับประทาน บางร้านเลือกที่จะใช้เนยขาวในการทอด เพราะคุณสมบัติทนความร้อน ทำให้อาหารที่นำลงทอดนั้นสีสวย กรอบนาน
7เนื้อย่างกระทะร้อน
พลาดไม่ได้กับสายปิ้งย่าง กับเนื้อย่างกระทะร้อนหอมกรุ่นกลิ่นเนย(เทียม) แต่รู้หรือไม่ว่าการจะตั้งกระทะบนเตาถ่านร้อน ๆ เป็นเวลานานนั้น ถ้าใช้เนยสดเนยจะไหม้ง่ายแบบสุด ๆ เพราะฉนั้นตามร้านเนื้อย่างกระทะร้อน ต่างใช้มาการีนเพื่อให้ทนต่อความร้อนกันแทบทั้งนั้น
8ขนมขาไก่
ขนมปี๊บยอดฮิตสำหรับวัยเด็ก กินเป้นประจำเวลาไปออกค่ายหรือทัศนศึกษา ทุกชิ้นที่กินอุดมไปด้วยไขมันทรานส์ เพื่อให้กรอบนาน เก็บได้นาน และไม่เหม็นหืน
ในช่วง 180 วันก่อนราชกิจจานุเบกษาจะถูกบังคับใช้ ควรหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์อย่างไร?
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของเนยเทียม (Margarine) หรือเนยขาว (Shortening)
- อ่านฉลากโภชนาการทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีข้อความว่า “Partially Hydrogenated Oil” อยู่บนฉลาก
- เลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง
- ดื่มนมไขมันต่ำ (Low fat milk) หรือนมที่ไม่มีไขมัน (Skim milk) แทนนมไขมันเต็มส่วน (Whole milk)
หากไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันทรานส์ แล้วจะใช้อะไรแทน?
- ในด้านของเบเกอรี่อาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้เนยสดแทน ซึ่งอาจจะทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น อีกทั้งเนื้อสัมผัสอาจจะเปลี่ยนไปจากสูตรเดิม
- ส่วนของทอดซึ่งเดิมทีอาจจะใช้เนยขาวในการทอดเพื่อให้มีเนื้อสัมผัสกรอบอร่อย สามารถเปลี่ยนมาใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันปาล์ม
เท่านี้ก็รู้คำตอบกันแล้วใช่ไหมล่ะว่า “ไขมันทรานส์” คืออะไร? และทำไมต้องแบน? การแบนไขมันทรานส์ครั้งนี้ นอกจากจะส่งผลอย่างใหญ่หลวงกับวงการอาหารแล้ว ก็ยังส่งผลไปถึงโรงงานหรือผู้ผลิตสินค้าโดยตรงอีกด้วย ในอนาคตก็อาจจะมีการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารบางอย่างทำให้รสชาติดั้งเดิมที่เราเคยกินนั้นหายไป รวมไปถึงผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ก็ต้องปรับตัวด้วยการปรับเปลี่ยนสูตรผลิตภัณฑ์ทั้งหมดให้ปราศจากไขมันทรานซ์ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นสุดท้ายแล้วการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่เกิดขึ้นก็ล้วนแล้วแต่ส่งผลดีต่อสุขภาพของประชาชนทุกคน ก็หวังว่าในอีกไม่ช้าพวกเราจะได้กินอาหารอร่อย ๆ ที่ปราศจากไขมันทรานส์ตัวร้าย และมีผลิตภัณฑ์ทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ ออกมาให้พวกเราได้เลือกสรรกันอย่างมีความสุข
References : กองโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, (2013). “ตารางปริมาณไขมันทรานส์ในอาหาร.” เข้าถึงได้จาก: https://www.honestdocs.co/trans-fats-in-baked-and-fried-thai-food สืบค้น 17 กรกฎาคม 2561
💗Min ldd rb💗 แหลกไปหลายปีหละเพิ่งจะบอกคงใกล้เป็นมะเร็งตายหละ
22 ก.ค. 2561 เวลา 02.37 น.
เปลี่ยนสูตรกันหัวฟูเลยข่ะ
21 ก.ค. 2561 เวลา 22.49 น.
สะสมมาเยอะแล้ว5555
22 ก.ค. 2561 เวลา 02.03 น.
rewadee ของโปรดทั้งนั้นเลยน่ะฮ่ะ
22 ก.ค. 2561 เวลา 04.36 น.
blue litex ผมเลิกกินได้หลายปีแล้วน้ำหนักค่อยๆลดโดยออกกำลังวันเว้นวันแบบไม่หนักอาหารผมผลกับเราแน่นอนตามประสบการ์
22 ก.ค. 2561 เวลา 02.22 น.
ดูทั้งหมด