ถึงแม้ว่าเทคโนโลยี GPS หรือ Google Maps จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของคนยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างมาก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้อีกเหมือนกันว่า ก็มีอยู่หลายครั้งที่เราต้องหงุดหงิด หัวเสีย จากการ ‘นำทาง’ ของเจ้า A.I. อัจฉริยะเหล่านี้
บางครั้งปัญหาก็มาจากการคำนวนเส้นทางผิดพลาด ที่ตัวระบบยังไม่ได้อัพเดตเส้นทางใหม่เท่าตามความเป็นจริง แต่อีกหลายครั้ง ที่ความผิดพลาดเกิดจากการ ‘อ่าน’ เส้นทางบนแผนที่ผิดของตัวผู้ขับขี่เองด้วย
วันนี้เรามีเทคนิคเพิ่มง่าย ๆ นอกจากพื้นฐานการใช้งานเบื้องต้น ที่ถ้ามีการเตรียมตัวไว้ก่อน อาจจะช่วยลดปัญหาการทะเลาะกับระบบนำทางไปได้มากทีเดียว
1. ก่อนออกเดินทาง (โดยเฉพาะทางไกล) ถ้าเส้นทางแรกที่แผนที่แนะนำมีพื้นที่สีแดงเป็นจำนวนมาก ลองกดแตะที่เส้นทางสีเทาที่เป็นทางเลือกหลาย ๆ อันดูก่อน เพราะทางที่ ‘เร็วที่สุด’ ที่แผนที่คำนวนให้ อาจไม่ใช่ทางที่ดีที่สุด เสมอไป
2. เช็คสัญญาณ GPS ให้ดีก่อนเริ่มกดคำนวน เพราะสัญญาณที่เสถียร จะทำให้การคำนวนเส้นทางเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา และสร้างความสับสนให้กับเราได้เป็นอย่างมาก ถ้าสัญญาณไม่ดี ให้ถอดเคสออกมาก่อน หรือลองแกว่งโทรศัพท์เพื่อหาสัญญาณ หรืออาจจะรีอินเตอร์เน็ตหรือรีสตาร์ตเครื่องอีก 1 รอบ หากยังไม่ดี แนะนำให้ขับรถออกไปยังจุดที่สัญญาณดีขึ้นก่อนค่อยกดคำนวนจะดีที่สุด
3. ฝึกคำนวนระยะทางในหลัก 10 - 500 เมตรให้แม่นยำ หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยที่สุด คือการเลี้ยวเข้าซอยไม่ทัน หรือคำนวณระยะผิดในกรณีที่บริเวณนั้นมีซอยหรือทางเลี้ยวที่อยู่ใกล้ ๆ กันในระยะไม่เกิน 50 เมตร การมองออกว่าเหลือระยะทางเท่าไหร่บนแผนที่ บวกกับรู้ว่าความเร็วปกติของเราอยูที่ประมาณเท่าไหร่ จะทำให้คำนวนระยะทางเผื่อได้ว่าควรจะชิดซ้ายเตรียมเลี้ยว หรือตัดสินใจเลี้ยวเข้าแยกไหนได้แม่นยำมากขึ้น
4. ในเส้นทางที่มีเลนถนนตรงกับแผนที่กูเกิลแม็พ เพื่อป้องกันการสับสนว่าควรจะเข้าหรือออกจากช่องทางต่าง ๆ เมื่อไหร่ ให้ยึดเลนตามที่ระบบแนะนำรอไว้ก่อนได้เลย (จากประสบการของผู้เขียน) โอกาสพลาดมีไม่ถึง 5% แต่อย่างที่บอกไปว่า จะแม่นยำเฉพาะบางจุดเท่านั้น กับถนนบางเส้นที่เพิ่งมีการตัดทางใหม่ หรือมีทางเบี่ยงเพิ่มเติม จนทำให้เลนถนนไม่ตรงกัน ต้องใช้การคำนวนข้อต่อไปมาช่วย
5. อย่ามองเฉพาะเส้นทางที่อยู่ตรงหน้า หรือภาพมุมแคบของแผนที่แค่อย่างเดียว ก่อนจะเลี้ยวตามที่ระบบบอก ให้ดูทางโค้งด้านหน้าก่อนด้วยว่า ตรงกับทางที่ระบบคำนวนมาหรือไม่ ที่เจอบ่อย ๆ คือ ในแผนที่บอกให้เลี้ยวซ้าย แล้วจะเจอทางโค้งขวา แต่ทางที่กำลังจะเลี้ยวไป มันเป็นโค้งซ้ายที่รออยู่แน่ ๆ ก็ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า อาจจะอยู่ผิดเลน ให้เลือกเชื่อตามทางโค้งจริงที่อยู่ตรงหน้า
วิธีนี้ยังช่วยได้ดีในกรณีที่เจอทางออก, ทางแยก หรือสะพาน หลายเส้นทางให้ตัดสินใจ การมองว่าโค้งอันไหนตรงกับที่แผนที่คำนวนเอาไว้ให้มากที่สุด จะทำให้เราตัดสินใจเลือกเส้นทางที่ถูกต้องได้ง่ายยิ่งขึ้น
6. เลือกให้ดีระหว่าง ‘สัญชาตญาณ’ และ ‘การคำนวน’ ของ A.I. เป็นปัญหาระดับชาติที่คนใช้ GPS ต้องเคยเจอ เพราะบางครั้งแผนที่เจ้ากรรมก็มักจะคำนวณเส้นทางประหลาด ๆ คาดไม่ถึงมาให้เราลังเลอยู่เสมอ ในกรณีนี้ต้องแล้วแต่ความชำนาญในเส้นทางส่วนบุคคล แต่สำหรับผู้เขียนเลือกที่จะเชื่อการคำนวนของแผนที่มากกว่า เพราะเวลาเชื่อสัญชาตญาณแล้วพลาดมากกว่า 90%) ยกเว้นในกรณีแผนที่จะคำนวนให้เข้าซอยเปลี่ยว ลึก และมืดจริง ๆ ที่ควรจะเลือกความปลอดภัยไว้เป็นอันดับหนึ่งเสมอ
7. ฝึกลูกเล่นอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ชำนาญ เช่น การเลี่ยงค่าผ่านทาง, การเลี่ยงทางหลวง ไปจนถึงการเสิร์ชหาปั๊มน้ำมัน,ร้านอาหาร, ตู้ atm, สถานีตำรวจ ฯลฯ จะช่วยให้การใช้แผนที่ในการเดินทางได้ราบรื่นขึ้นเยอะ
15🇹🇭🦈𝕭𝖊𝖙𝖆𝖌𝖊𝖓🦈51 ก่อนให้GPSนำทางควรศึกษาเส้นทางก่อนเช่นชื่อถนนชื่อซอยสถานที่ใกล้เคียงจำให้ได้แล้วค่อยใช้ระบบนำทางรับรองไม่หลง อย่ามองแผนที่ใช้ฟังเสียงเอา ตามองถนน
06 เม.ย. 2562 เวลา 03.49 น.
sp srirak ให้ศึกษาเส้นทางตามที่ gps บอก เช่นทางแยก ทางเลี้ยว หรือ ตรอก ซอย หรือ จุดสังเกตุก่อนถึงทางแยก ทางเลี้ยว เพื่อที่จะให้เราเตรียมตัวได้ทัน อีกอย่างให้ใช้ gps เพียงแค่เป็นแนวทางพอ อย่าไปตาม gps 100%
06 เม.ย. 2562 เวลา 04.28 น.
Sorn ใช้ GPS เพื่อประกอบการตัดสินใจ..เท่านั้น
อย่าใช้..นำทาง 100% (โดยที่เราไม่ได้คิดอะไรเลย)
ก่อนจุดทางแยก...
ต้องใช้ความน่าจะเป็น - การคาดเดา -ใช้สัญชาติญาณตัดสินใจล้วนๆ
06 เม.ย. 2562 เวลา 03.52 น.
ตนเป็นที่พึ่งของตนจะด้วยวิธีใดก็ตามดีที่สุด เห็นมีปัญหาหลงเส้นทางเพราะเรื่องทำนองนี้มาก็มาก.
06 เม.ย. 2562 เวลา 08.10 น.
NFg_Nitirat 🎮 สนับสนุนให้ศึกษาเส้นทางโดยรวมก่อน อีก1 เสียงครับผม
08 เม.ย. 2562 เวลา 05.28 น.
ดูทั้งหมด