ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ทำไม LINE ต้องคลอด LINE JOBS แพลตฟอร์มหางานออนไลน์ เพื่อคนไทย

Marketing Oops
อัพเดต 24 เม.ย. 2561 เวลา 14.00 น. • เผยแพร่ 24 เม.ย. 2561 เวลา 14.00 น. • Ms.นกยูง

700
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แม้ว่าเราจะรับรู้และคุ้นเคยกับช่องทางจัดหางานผ่านออนไลน์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่วันนี้ คนไทยกำลังจะมีแพลตฟอร์มใหม่ในชื่อ LINE JOBS เข้ามาให้บริการจัดหางานออนไลน์ ภายใต้ร่ม LINE ประเทศไทย

ตลาดแรงงานมูลค่ามหาศาล! แต่ช่องทางหางานออนไลน์ยังไม่เอื้อ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย เล่าถึงผลสำรวจมูลค่าตลาดแรงงานทั่วโลกว่า จากผลสำรวจของ Forbes 2017 ระบุว่าตลาดแรงงานทั่วโลกมีมูลค่าถึง 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6.3 ล้านล้านบาท) แม้จะมีช่องทางการจัดหางานออนไลน์แล้ว แต่พบว่ายังมีอุปสรรคทั้งผู้จ้างงานและผู้สมัครงาน อาทิ ความล่าช้า ราคาสูง ต้องลงทะเบียนและกรอกข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ยอดผู้หางานผ่านเว็บไซต์มีจำนวนไม่เกิน 2 ล้านคน สะท้อนถึงจำนวนผู้สมัครงานที่ยังอยู่บนโลกออฟไลน์อีกมาก

3
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แรงงานกลุ่มธุรกิจบริการ Turnover สูงลิ่ว 300%

“ประเทศไทยมีแรงงานในตลาดรวม 38.2 ล้านคน ซึ่งอยู่ในสถานะลูกจ้าง 14.4 ล้านคน แบ่งเป็น White Collar (พนักงานออฟฟิศ) 2.1 ล้านคน Service (งานบริการ) 5.5 ล้านคน และ Blue Collar (ผู้ใช้แรงงาน พนักงานโรงงาน) 6.8 ล้านคน ซึ่งกลุ่มแรงงานบริการนั้นมีอัตราการลาออกสูงถึง 30-300% ต่อปี กลายเป็นหนึ่งใน Pain Point ของผู้จ้างงานที่ต้องจัดหาลูกจ้างอยู่ตลอด”

ปั้น LINE JOBS เน้นอุด Pain Point ธุรกิจบริการ

คุณพีรพล สง่าเมือง หัวหน้าฝ่ายบริการใหม่ LINE ประเทศไทย เล่าว่า บริการ LINE JOBS เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปีที่ผ่านมาในประเทศอินโดนีเซีย ไทยเป็นประเทศที่สอง

4

“แม้ LINEJOBS จะเปิดตัวในอินโดนีเซียมาแล้ว แต่อย่างที่รู้ว่าบริการของ LINE นั้นถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการให้บริการแต่ละประเทศ ไม่ใช่การสร้างเซอร์วิสขึ้นมาแล้วนำไปให้บริการในทุกประเทศ และจากจำนวนผู้ใช้งาน LINE ประเทศไทย 42 ล้านราย ทำให้เรามองว่า LINE JOBS จะเข้ามาตอบโจทย์ตลาดแรงงานกลุ่มบริการซึ่งมีความน่าสนใจและมี Pain Point ชัดเจนว่าบริการของเราสามารถตอบโจทย์ได้”

LINE JOBS ทดลองให้บริการมาแล้ว 4 เดือน มีตำแหน่งงานมากกว่า 30,000 ตำแหน่ง จากผู้จ้างงานราว 50 บริษัท และมีผู้ติดตามในระบบกว่า 550,000 คน มีผู้ส่งใบสมัครงานเข้ามาแล้วกว่า 100,000 ใบสมัคร และมีผู้ถูกเรียกสัมภาษณ์งานกว่า 10,000 คน อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าสัดส่วนผู้จ้างงานและผู้สมัครงานใน LINE JOBS จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 10 เท่าตัวภายในสิ้นปีนี้ ภายใต้เป้าหมายระยะแรกที่ LINE JOBS นำเสนอบริการเพื่อแก้ Pain Point ดังกล่าวให้ได้

1

2

ใช้ Machine Learning ช่วยจับคู่ผู้จ้าง-ผู้สมัคร

สำหรับระบบของ LINE JOBS เป็นการพัฒนาโดยทีม Scout Out พาร์ทเนอร์ของ LINE ทั้งยังนำเทคโนโลยี Machine Learning เข้ามาใช้งาน ทำให้ผู้จ้างงานและผู้สมัครงานเชื่อมโยงถึงกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่าน 3 เงื่อนไข คือ ตำแหน่งที่ตั้ง ทักษะหรือประสบการณ์ และสายงานที่สนใจ ทั้งยังแก้ไขปัญหาที่ผู้สมัครงานกังวลว่าข้อมูลจะถูกส่งถึงผู้จ้างงานหรือไม่ ด้วยระบบแสดงสถานะการเปิดอ่านข้อมูล พร้อมระบบแจ้งติดต่อจากผู้จ้างงาน ขณะเดียวกันก็มีการจัดลำดับด้วยฟิลเตอร์ให้ผู้จ้างงานได้พบกับผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการอีกด้วย ทำให้ผู้จ้างงานไม่ต้องเสียเวลากับการหาพนักงานผ่านรูปแบบเดิมที่กลุ่มธุรกิจบริการนิยมใช้ เช่น การแจกแผ่นพับ การติดโปสเตอร์ประกาศรับสมัครงานหน้าร้าน เป็นต้น

Data Privacy คือหัวใจของ LINE

“ส่วนประเด็นการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้บริการต่างๆ บนโลกออนไลน์นั้น LINE ยืนยันว่าเรื่อง Data Privacy เป็นสิ่งสำคัญที่เรายึดถือเป็นแนวทางเดียวทั่วโลก ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ประวัติสนทนาบนแอปจะหายไปเมื่อคุณย้าย LINE ไปยังเครื่องใหม่ ขณะเดียวกันความปลอดภัยบน LINE JOBS ก็จะแจ้งเตือนอยู่เสมอว่าคุณกำลังจะกรอกข้อมูลอะไรเพื่อเปิดเผยให้ผู้จ้างงานได้เห็น ขอยืนยันว่าเรื่องความปลอดภัยข้อมูลเป็นสิ่งที่ LINE ดูแลอย่างเข้มงวด”

อ่านบทความทั้งหมด ที่ MarketingOops.com

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • จินตนา ชุนเกาะ
    ขอให้จริงใจและจริงจังอย่าโกหกหลอกลวงก็แล้วกันค่ะ
    24 เม.ย. 2561 เวลา 16.45 น.
ดูทั้งหมด