ไลฟ์สไตล์

#พูดผิดชีวิตเปลี่ยน... คำไทยเหล่านี้ ระวังให้ดี อย่าได้พูดสลับกัน!

LINE TODAY ORIGINAL
เผยแพร่ 18 ธ.ค. 2564 เวลา 17.00 น. • pp.p
Photo by Ben White | unsplash.cm

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความสละสลวย และมีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือใคร อาทิเป็นภาษาดนตรี กล่าวคือ มีการเปลี่ยนระดับเสียงวรรณยุกต์ทั้ง ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ, เอก, โท, ตรี, จัตวา และแต่ละเสียงก็จะมีความหมายที่แตกต่างกัน มีการแบ่งวรรคแบ่งตอน และในครั้งนี้จะขอกล่าวถึงอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของภาษาไทยที่มีการเล่น “สลับคำ” ซึ่งบางครั้งการสลับคำก็ไม่ได้ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปมากนัก แต่ก็มีอีกบางกลุ่มคำที่หากสลับคำแล้วความหมายเปลี่ยนไป ลองมาดูกันว่ามีคำไหบ้าง

Photo by Marivi Pazos | unsplash.com
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ไม้ดอก - ดอกไม้

ไม้ดอก” เป็นคำนาม หมายถึง ไม้ที่ปลูกไว้เพื่อใช้ดอกเป็นประโยชน์เช่น ประดับตกแต่งจัดสวน.

ดอกไม้” เป็นคำนามเช่นกัน หมายถึงดอกของพืช, เรียกสั้น ๆ ว่าดอก. นอกจากนี้ยังหมายถึงฟันของเด็กเมื่อแรกขึ้น. เป็นหนึ่งในความเชื่อของคนโบราณจะเรียกฟันของเด็กที่กำลังจะขึ้น เป็นการเปรียบให้เห็นถึงสิ่งที่สวยงาม เพราะมีความเชื่อกันว่าหากทักเด็กว่า “ฟันขึ้น” ฟันซี่ต่อๆไปจะขึ้นช้า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
Photo by madison lavern | unsplash.com

มือแข็ง - แข็งมือ 

มือแข็ง” นั้นเป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่ค่อยไหว้คนง่ายๆ, ไม่นอบน้อม เช่นเวลาที่ผู้ใหญ่ตำหนิเด็กมือไม้แข็ง ไม่มีสัมมาคารวะ และยังอีกความหมายหนึ่งหมายถึง เก่ง เอาชนะได้ยาก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วน “แข็งมือ” นั้นเป็นคำกริยา หมายถึงทำเต็มที่, ทำเต็มกำลังอย่างไม่ย่อท้อ. 

Photo by Aziz Acharki | unsplash.com

ใจเสีย - เสียใจ

ใจเสีย” เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึงมีใจหวาดหวั่นเพราะความกังวล, ขวัญ และกำลังใจหายไป, ไม่สบายใจเพราะวิตกกังวล.

ในขณะที่ “เสียใจ” จะเป็นคำกริยาหมายถึงไม่สบายใจเพราะทำพลาด, เศร้าใจเพราะผิดหวัง

Photo by Kristine Wook | unsplash.com

ตัวร้อน - ร้อนตัว

ตัวร้อน” เป็นคำนาม มีความหมายตรงตัวคืออาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ.

แต่ “ร้อนตัว” เป็นคำกริยา หมายถึงความเกรงว่าโทษ หรือความเดือดร้อนจะมาถึงตัวเพราะความผิดที่ทำไว้.

Photo by Austrian National Library | unsplash.com

กินอยู่ - อยู่กิน

กินอยู่” เป็นคำกริยา หมายถึง ทำงานกินอาหารและพักอยู่ในที่เดียวกันกับเจ้าของ. เช่นแม่บ้าน คนรับใช้ ส่วนใหญ่จะกินอยู่บ้านเดียวกับนายจ้าง

แต่หากสลับเป็นคำว่า “อยู่กิน” เป็นคำกริยาเช่นกัน แต่จะหมายถึงการใช้ชีวิตร่วมกันฉันผัวเมีย.

Photo by Jordan Whitt | unsplash.com

นอนหลับ - หลับนอน

นอนหลับ” เป็นคำกริยา เป็นสภาวะธรรมชาติที่ร่างกายมีการลดลงของการรู้ตัว,การรับรู้จากภายนอก หรือสิ่งกระตุ้น,การเคลื่อนไหว

แต่หากเป็น “หลับนอน” นั้นก็เป็นคำกริยา แต่หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ อย่าได้พูดกลับกันเชียว

ใจเย็น - เย็นใจ

เย็นใจ” เป็นคำกริยาที่หมายถึงสบายใจ, ไม่ร้อนใจ, ไม่กังวลใจ.

และ “ใจเย็น” เป็นคำวิเศศณ์ หมายถึง มีใจหนักแน่นไม่โมโหฉุนเฉียวง่าย, ไม่เร่งรีบ, ไม่ใจร้อน.

ยังมีอีกหลายชุดคำที่เมื่อนำมาสลับตำแหน่งแล้วความหมายเปลี่ยนไป ลองมาเล่นสนุกกับภาษาไทย ใครคิดคำไหนออกลองมาแชร์กันนะคะ 

ความเห็น 63
  • Kulavir P. Pipat
    ด้านหน้า กับ หน้าด้าน ไงจ๊ะ!
    24 ก.ย 2565 เวลา 15.17 น.
  • ลุงป๋อง
    ยากจนกับจนยากล่ะ
    01 ก.ย 2565 เวลา 01.30 น.
  • Pisa
    ลูกมด กับ มดลูก
    21 ธ.ค. 2564 เวลา 05.40 น.
  • YAMAWA
    ไม่เหมือนใคร ไม่ใช่ ไม่เหมือใคร คำไหนบ้าง ไม่ใช่ คำไหบ้าง คำวิเศษณ์ ไม่ใช่ คำวิเศศณ์ แม่ต้องเป๊ะและละเอียดกว่านี้จึงจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนอ่านได้ของอย่างนี้มันเรียนรู้และพัฒนากันได้อย่าให้เหมือนข่าวสดที่งานชุ่ยซ้ำซาก ย่ำยีภาษาชาติตัวเองอยู่เป็นนิจ
    20 ธ.ค. 2564 เวลา 03.47 น.
  • al far อัลฟา farook
    ผมเป็นคนเล่นขี้ เอ้ย ขี้เอา เอ้ย ขี้เล่น ถุ้ย.....คนไทยมากกว่า 80% ออกเสียง ร เรือ เป็น ล ลิง มึงไปฟังโทรศัพท์ วิทยุ สิ ขนาดรัฐมนตรี ยังพูดไม่ชัดเลย มึงคิดว่าคนไทยจะสนภาษาพ่อ ภาษาแม่มันเหรอ กูไม่เชื่อหรอก เพราะว่าตัวมึง มึงนั่นแหละ ที่ทำให้ภาษาไทยวิบัติ
    19 ธ.ค. 2564 เวลา 12.35 น.
ดูทั้งหมด