ทั่วไป

2561 ห้างครองเมือง! ไม่มี “พื้นที่สาธารณะ” ที่ไม่ต้องเสียเงิน

Another View
เผยแพร่ 24 พ.ย. 2561 เวลา 13.00 น.

2561 ห้างครองเมือง! ไม่มี “พื้นที่สาธารณะ” ที่ไม่ต้องเสียเงิน

เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงพอสมควรบนโลกออนไลน์ว่าด้วย “ห้างใหม่” ที่เพิ่งเปิดตัวไปหมาดๆ กับ “สวน” ที่ถูกหยิบยกมาจับคู่กันใต้ประเด็นว่า “ห้างใหม่อีกแล้ว ทำไมไม่มีสวนสาธารณะใหม่ๆ บ้าง”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในพื้นที่อันแออัดของกรุงเทพฯ เมืองเทพสร้าง ประเด็นเรื่องสวนสาธารณะดูจะถูกพูดถึงมากขึ้นและมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่โครงการสิ่งปลูกสร้างใหญ่ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด คงเหลือแต่พื้นที่สีเขียวใหญ่ๆ ไว้อย่างสวนลุมพินี สวนรถไฟ บางกระเจ้า เป็นต้น และด้วยปริมาณพื้นที่สีเขียวที่มีน้อยอยู่แล้วเมื่อเทียบกับสัดส่วนพื้นที่คอนกรีต ปัจจัยสำคัญที่คนไปเดินห้างมากกว่าสวนนั้นยังมีอะไรอีกบ้าง

นอกจากการจัดสรรพื้นที่ของรัฐที่ทำได้ไม่ดี และขาดวิสัยทัศน์ในการบริหารพื้นที่สีเขียวแล้วนั้น สิ่งสำคัญคืออากาศที่  “ไม่เอื้อ”  ต่อการใช้ชีวิตในสวน

เราคงติดภาพไลฟ์สไตล์เก๋ๆ ในหนังฝรั่งที่คู่รักพากันไปเดินสวนนั่งอี๋อ๋อกันที่ม้านั่งใต้ต้นไม้ระหว่างวัน ตัดภาพกลับมาที่เมืองไทย หากทำเช่นนั้นเหงื่อน่าจะท่วมตัวหรือไหม้ตายไปเสียก่อนด้วยอานุภาพของแสงแดดและอุณหภูมิอันแสนระอุ ฉะนั้นการจะให้คนแห่ไปเดินเล่นชมนนกชมไม้ตอนกลางวันอย่างที่คิดนั้นพูดเลยเต็มปากว่า “ยาก”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การนำภาพจำของแดนยุโรปมาเปรียบเทียบกับเมืองไทยจึงเป็นสิ่งที่เอามาเทียบกันดอกต่อดอกไม่ค่อยจะได้นักด้วยอากาศที่หลากหลายกว่าของเขาที่มีฤดูร้อนอันแสนสั้น อุณหภูมิสามสิบกว่าองศาจึงดูเย้ายวนที่จะออกไปเดินเล่นในสวนมากกว่าบ้านเราเป็นไหนๆ ในส่วนของเมืองไทยนั้น แค่ก้าวขาออกจากบ้านก็แทบละลายเป็นเทียนแล้ว

ไหนลองเปรียบเทียบกับเมืองร้อนด้วยกันบ้างดีกว่า… สิงคโปร์ล่ะ อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่าบ้านเราเสียอีก แต่! สิงค์โปร์ได้เปรียบตรงที่การบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวให้ “ทั้งเมือง”ถูกแทรกด้วยต้นไม้ “ขนาดใหญ่”

ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ว่าจะช่วยเพิ่มร่มเงาและลดอุณหภูมิโดยรวมให้รู้สึกเย็นขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น ในขณะที่บ้านเรานั้นต้นไม้ใหญ่ๆ ตามถนนหนทางกลับถูกริดรอนพื้นที่ออกไปทีละน้อยๆ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ประเด็นนี้จึงส่งผลกระทบให้คนใช้พื้นที่กลางแจ้งน้อยลงไปกว่าเดิม เมื่อสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยแดดทำให้การหนีเข้าที่ร่มอย่างห้างนั้นง่ายกว่าไปสวนสาธารณะเป็นไหนๆ

สุดท้ายคือเรื่องการบริหารจัดการและการออกแบบสวนให้ “น่าไป” การบริหารจัดการในที่นี้คือทุกอย่างที่สวนแห่งหนึ่งพึงจะมี ทั้งเรื่องการเชื่อมต่อการคมนาคม ที่จอดรถ ความสะอาดเวลาเปิดปิดที่ตอบโจทย์ ต้นไม้ที่เพียงพอ และการออกแบบที่เอื้อกับสภาพอากาศบ้านเรา อย่างสวนแบบโล่งๆ ที่ไม่มีร่มเงา ก็อาจจะไม่เหมาะ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการขยันสร้างห้างก็ส่วนหนึ่ง แต่การบริหารจัดการและวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้สนับสนุนคนออกมาใช้ชีวิตกลางแจ้งก็ส่วนหนึ่ง ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่า คงต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร กว่าคนจะเดินห้างน้อยลงและออกไปเดินสวนสาธารณะแบบที่หลายๆ คนต้องการ

ความเห็น 57
  • Tom Power
    คำตอบง่ายๆ อะไรก็ตามที่ทำแล้วรัฐฯ ขาดทุน รัฐฯ ไม่มีรายได้ คนอนุมัติไม่ได้ผลประโยชน์ จะไม่มีวันเกิดขึ้นในประเทศไทย
    24 พ.ย. 2561 เวลา 13.17 น.
  • pingli
    ตรรกะ ของเรื่องนี้ ความเห็นส่วนตัวล้วนๆ
    24 พ.ย. 2561 เวลา 13.22 น.
  • ธนรัชต์ วิเชียรรัตน์.
    ทุนใหญ่มันยึดประเทศไทยเบ็ดเสร็จ มันสมคบกับใคร มันถึงทำได้ทุกอย่างแบบนี้ คนที่พยายามจะเข้ามาจัดการ จึงต้องลงขันขับออกนอกปรพเทศไทย
    24 พ.ย. 2561 เวลา 13.09 น.
  • Joy
    ที่ญี่ปุ่น เมืองหลวงและหัวเมืองหลักของญี่ปุ่น ก็มีแต่ตึก ห้าง โรงแรม ไม่ว่าจะโตเกียว โอซาก้า มีสวนสาธารณะใหญ่ๆ อยู่ 2-3 แห่ง ขนาดเล็กก็มีประปราย ไม่ต่างกะ กรุงเทพบ้านเรา แต่อากาศบ้านเค้าดีกว่าเรา ระบบการจัดการดีกว่าเรา การคมนาคมสาธารณะดีกว่าเรา คนของเค้ามีวินัยกว่าเรา การจัดการขยะดีกว่าเรา ร้านค้าร้านอาหาร มีทั้งบนห้าง ร้านริมถนน ถนนคนเดิน ตลาดสด หลายๆอย่างคล้ายเรา แรงกดดันในที่ทำงานมีสูงกว่าเรา ค่าครองชีพสูงกว่าเรา นายทุนคนมีเงินสร้างห้าง ชาวบ้านเปิดร้านของชำ ตามนั้น ต่างที่ ต่างปัญหา
    24 พ.ย. 2561 เวลา 15.23 น.
  • กุก้ไม่ได้ชอบประยุทธ์ แต่ไม่โง่ขนาดห่าไรก้โทษรัฐ พวกบ้าการเมือง โง่ จน ต่อไป
    24 พ.ย. 2561 เวลา 19.29 น.
ดูทั้งหมด