ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

อนาคต ‘คาราบาว’ กับแบรนด์ระดับโลก

The Bangkok Insight
อัพเดต 17 ก.ค. 2562 เวลา 06.07 น. • เผยแพร่ 17 ก.ค. 2562 เวลา 06.06 น. • The Bangkok Insight

บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG ผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลังของคนไทย ที่เคยมีช่วงเวลาอันสดใส เติบโตแบบก้าวกระโดดอยู่หลายปี เวลานั้นคาราบาวถูกมองว่าเป็น “Growth Stock”แห่งยุคเลยทีเดียว 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หุ้น CBG เคยพุ่งขึ้นไปทำราคาสูงสุดที่ 108.5 บาท เมื่อเดือนตุลาคม 2560 ขณะเดียวกันแบรนด์คาราบาว ก็ถูกคาดหวังว่าจะก้าวไปสู่ระดับโลก ตามรอยรุ่นพี่อย่างกระทิงแดง (Red Bull) ที่เคยเป็นตัวอย่างความสำเร็จมาแล้ว 

แต่จนแล้วจนรอดทำไมวันนี้ ฝันที่หลายคนคาดไว้กลับยังไม่เกิดขึ้นสักที ไม่ว่าจะด้วยราคาหุ้นที่ร่วงลงมาต่ำกว่าหลักร้อย หรือแผนตีตลาดต่างประเทศก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเท่าที่ควรนัก

ภาพรวมธุรกิจคาราบาวกรุ๊ป 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

CBG หรือ คาราบาวกรุ๊ป เป็น Holding Company ซึ่งลงทุนในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจ ผลิต ทำการตลาด จัดจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังและเครื่องดื่มอื่นๆ อย่างครบวงจร 

“คาราบาวแดง”คือสินค้าเรือธงของบริษัท ซึ่งไม่ได้มีแค่เครื่องดื่มชูกำลังเท่านั้น แต่ยังมีกาแฟผง กาแฟกระป๋อง น้ำเปล่า และเครื่องดื่มเกลือแร่ นอกจากนี้ ยังมีแบรนด์สินค้าอื่นๆ ที่รับจ้างจัดจำหน่ายให้แก่พาร์ทเนอร์ธุรกิจอีกมากมาย 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ผลประกอบการคาราบาวกรุ๊ป 4 ปีย้อนหลัง

ปี 2558 รายได้ 7,874 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.96% กำไรสุทธิ 1,255 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.50%

ปี 2559 รายได้ 10,112 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.42% กำไรสุทธิ 1,489 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.66%

ปี 2560 รายได้ 13,067 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.23% กำไรสุทธิ 1,245 ล้านบาท ลดลง 16.37%

ปี 2561 รายได้ 14,597 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.71% กำไรสุทธิ 1,158 ล้านบาท ลดลง 7.00%

คาราบาวมีรายได้ในประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 54.82% และรายได้จากการขายในต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 44.78%

คาราบาวยังขาดอะไร ?

1. ตลาดโลกไม่ง่ายอย่างที่คิด

คาราบาวมีการส่งออกสินค้าไปหลายประเทศทั่วโลก แต่มี 2 ประเทศ ที่เป็นหมุดหมายสำคัญ นั่นคือ จีนและอังกฤษ เนื่องจากจีนมีตลาดใหญ่มากประชากรกว่าล้านคนบริโภคเครื่องดื่มชูกำลัง ส่วนอังกฤษเองก็น่าสนใจมาก ด้วยราคาสินค้าที่ดีกว่าการขายในไทยเป็นเท่าตัว 

แต่การประสบความสำเร็จทั้ง 2 ตลาดไม่ใช่เรื่องง่ายเลย คาราบาวต้องทุ่มงบลงทุนมหาศาล เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เช่น การเป็นสปอนเซอร์สโมสรฟุตบอลในอังกฤษ หรือการสร้างโรงงานในจีน ซึ่งปัญหาคือยอดขายกลับไม่เติบโตตามเม็ดเงินลงทุน อีกทั้งยังไม่สามารถทำกำไรคืนมาได้เลย  

2. ส่วนแบ่งตลาดในประเทศลดลง

ตลาดในประเทศ M-150 คือผู้นำตลาด และเป็นคู่แข่งสำคัญที่คาราบาวอยากก้าวข้ามมาโดยตลอด โดยการทำตลาดในประเทศของคาราบาวในสินค้าเครื่องดื่มชูกำลังในปีล่าสุดนั้นมีส่วนแบ่งลดลง แม้ช่องว่างระหว่างเบอร์ 1 กับเบอร์ 2 จะหดลง แต่โดนคู่แข่งรายย่อยอื่นๆ ชิงเค้กก้อนนี้ได้มากขึ้น

ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังปี 2560 

M-150 ส่วนแบ่ง 57.7%

คาราบาวแดง ส่วนแบ่ง 21.1%

กระทิงแดง ส่วนแบ่ง 16.3%

อื่นๆ ส่วนแบ่ง 4.9%

ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังปี 2561

M-150 ส่วนแบ่ง 54.4%

คาราบาวแดง ส่วนแบ่ง 23.2%

กระทิงแดง ส่วนแบ่ง 15.3%

อื่นๆ ส่วนแบ่ง 7.1%

อย่างไรก็ดี หลังราคาหุ้นซึมไปนาน ล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2562 CBG กลับมาเป็นหุ้นฮอตอีกรอบ เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปทะลุ 70 บาท เรียกว่าปรับขึ้นมากกว่า 100% จากสิ้นปี 2561 ที่ราคาอยู่ระดับ 30.75 บาท 

ทั้งนี้ มีปัจจัยบวกมาจากบทวิเคราะห์ต่างๆ ที่พากันปรับเป้าหมายราคา CBG ขึ้นกันถ้วนหน้า เพราะมีมุมมองเป็นบวกมากขึ้น หลังเข้าชมโรงงานของบริษัท และมองว่าปัญหาต่างๆ ที่ผ่านมาได้รับการแก้ไขแล้ว คาดว่าจะส่งผลให้ปี 2563 คาราบาวกลับมาเติบโตได้เต็มประสิทธิภาพอย่างที่เคยเป็นมานั่นเอง

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • TOMMY T. NAKNAKORN
    ที่แบรนด์มันไปไม่ได้ไกล ผมคิดว่าใครๆ ก็ไม่ชอบสัญลักษณ์ ซากหัวควายนี้เท่าไหร่ ถึงพยายามยังไง มันก็ยังดูไม่แข็งแรง ไม่มีพลังอย่างกระทิงแดง ที่ใช้รูปกระทิงทั่งตัวพุ่งไปข้างหน้า แต่นี่คาราบาวแดง.. แค่จะหยิบมากินก็หดหู่ เห็นซากหัวควายหราเลย มันรู้สึกไม่คึก! เหมือนกันกระทิงแดง อืมม ก็เป็น คหสต. นะ แล้วก็จะบอกตรงๆ ไม่ว่าเค้าจะทำตลาดไปขนาดไหน ซื้อทีมฟุตบอล เป็น sponsor ทีมฝรั่ง หรือว่าผลักดันให้เกิดการชิงถ้วย ผมด็ไม่เคยคิดกินเลยจริงๆ
    17 ก.ค. 2562 เวลา 12.28 น.
  • 🍰 อู๊ดค่ะ 🍨
    👍👍👍👍
    17 ก.ค. 2562 เวลา 10.44 น.
  • Rawd.M
    สมัยก่อนพี่แอดก็ด่าน้ำชูกำลัง พอขายเองก็ชื่นชอบซะงั้น มีวิตามิน บี 12 เข้าไปอีก
    17 ก.ค. 2562 เวลา 08.58 น.
ดูทั้งหมด