ไลฟ์สไตล์

อย่าอินเกิน - เฟื่องลดา

THINK TODAY
เผยแพร่ 23 พ.ค. 2562 เวลา 10.30 น.

“อย่าอินเกิน” คำกล่าวที่คนสมัยนี้มักพูดเตือนกันบ่อยๆ มาดูกันว่าทุกวันนี้เรา “อิน” กับอะไรกันบ้าง ? 

อินข่าวดาราจากสื่อและตามไปเม้นต่อว่าในไอจี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อินละคร อินรายการ Drama Reality 

อินคู่จิ้น อยากให้เป็นคู่จริง

อินชีวิตดารา 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อินดราม่า 

ถ้าคุณชอบเผือกเราคือเพื่อนกัน  

คำว่าเผือกอาจดูรุนแรงไปซักนิด แต่เพื่อให้เห็นภาพตามได้ง่ายและกระชับ ขออนุญาตนำมาใช้นะคะ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เผือกในที่นี้ คือ การที่เราสนใจ อยากรู้เรื่องราวของคนอื่น 

และการที่เราอินเรื่องคนอื่นมากเกินไป มีที่มาจากการที่มนุษย์เรามีนิสัยชอบเผือกนี่แหละค่ะ  

ความจริงแล้วการอยากรู้เรื่องคนอื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์สังคม  

ไม่ใช่เรื่องผิดเสียทีเดียวค่ะ ในสมัยก่อน มนุษย์ยุคหินอยู่ในสังคมเล็กๆที่ทุกคนรู้จักกัน 

เมื่อมีคนรู้จักไม่มากนัก เราจึงสามารถมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ลึกซึ้งกับกลุ่มคนรู้จักทุกคนได้  

หนึ่งในสิ่งที่ทำให้สนิทกันมากขึ้น คือ การเม้าท์แชร์เรื่องราวเบื้องลึกของกันและกันทั้งนิสัยส่วนตัวและชีวิตประจำวัน นั่นแปลว่า แม้สมัยก่อนไม่มีดาราออกสื่อ เราก็ยังชอบอยากรู้อยากเห็นและอินกับเรื่องของเพื่อนบ้านอยู่ดี ! 

มาถึงสมัยนี้… วิถีชีวิตของคนที่เราได้เผือกบ่อยที่สุด น่าจะเป็นคนดัง

เราทุกคนรู้จักคนดังจากภาพลักษณ์ที่สื่อนำเสนอ

หลายคนมีคนดังที่ติดตามตลอด ไม่ว่าจะ Follow ทาง Instagram หรือ Twitter 

แม้จะไม่รู้จักคนเหล่านี้ในชีวิตจริง แต่ก็รู้สึกเหมือนเป็น “เพื่อน” คนหนึ่ง

ธรรมชาติออกแบบมาให้มนุษย์มีต่อมอยากรู้เรื่องราวของเพื่อนที่เรามีความสัมพันธ์ทางสังคมด้วย จึงไม่แปลกที่เราจะรู้สึกตื่นเต้นเมื่อมีความเคลื่อนไหวเรื่องส่วนตัวของคนดัง โดยเฉพาะดารา 

คนเหล่านี้เป็นเหมือน Mutual Friend ที่ทุกคนในสังคมรู้จักร่วมกัน 

เป็นประเด็นหัวข้อที่หยิบยกมาเม้าท์กับคนรอบตัวได้ไม่ว่าจะรู้จักผิวเผินกันแค่ไหน

เพราะเหตุนี้… การเผือกจึงกลายเป็นเหมือนอาวุธหรือทักษะในการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง ! 

แต่เมื่อไหร่ที่การอยากรู้เรื่องคนอื่นเริ่มเลยเถิดจากแค่ “ทางสังคม” จนกลายเป็น “อินเกินไป” ? 

คำตอบคือ เมื่อเราเริ่มขยับจากแค่การอัพเดทเรื่องราวมาเป็นการตัดสิน “เพื่อน” ของเราโดยใช้อารมณ์ เวลาที่รู้สึกว่าคนๆหนึ่งทำไม่ถูก วิธีท่ีมองคนๆนั้นจะเริ่มเปลี่ยนไปโดยไม่รู้ตัว เปลี่ยนมามองด้วยเลนส์ที่จับผิด ยิ่งมองมุมไหน ก็ยิ่งเจอแต่มุมที่แย่  

แสดงออกด้วยการคอมเม้นต์ต่อว่าบ้าง แซะคนที่ไม่เห็นด้วยบ้าง

เราต่างลืมนึกกันไปว่าครั้งหนึ่งคนที่เราต่อว่าเหล่านี้ก็ถือเป็นเพื่อนที่เรารู้จักเหมือนกัน 

หากคิดว่าทุกคนคือเพื่อนของเรา เมื่อวิจารณ์ใคร เราก็จะระวังตัวให้ไม่เผลอ “อินเกินไป” ได้ 

อินกว่าเดิม…เมื่ออยู่ในโซเชียล    

ตัวอย่างการเผลอ “อินเกินไป”แบบสุดโต่ง เช่น แอนตี้แฟนในประเทศเกาหลี ที่รุนแรงเกินกว่าเหตุไปซักหน่อ

คนกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่ไม่ชอบหรือเกลียดเหล่าไอดอล แต่ถึงขั้นวางแผนทำร้ายร่างกาย 

ทั้งบุกไปที่บ้าน ส่งจดหมายขู่ฆ่า ลอบทำร้ายและอีกมากมาย ทั้งๆที่ส่วนใหญ่จุดเริ่มต้นความไม่พอใจไอดอลเริ่มก่อตัวจากเรื่องเล็กๆน้อยๆ 

เช่น คำพูดบางคำที่ให้สัมภาษณ์ออกสื่อ ข่าวซุบซิบเรื่องความรัก

เมื่อแคปเจอร์ข้อผิดพลาดเหล่านั้นแล้วเอามารวมในเพจแอนตี้ ก็ยิ่งสุมความไม่ชอบให้รุนแรงขึ้นไปอีก  

โลกโซเชียลมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเราเกินคาด 

ขยายดราม่าเรื่องเล็กๆให้เป็นเรื่องใหญ่ขึ้นและทำให้เราหลงลืมมิตรภาพระหว่างกันได้

เมื่อมีคอมเมนต์จากใครซักคนที่รุนแรงดั่งไฟ

ก็จะเกิดการเม้นต์ต่อๆกัน เหมือนไฟที่ไหม้ลุกลามอย่างรวดเร็ว 

ยิ่งไหม้ ยิ่งแรง กลายเป็น “ความอินเป็นหมู่คณะ” โดยไม่รู้ตัว

เรามักจะลืมกันไปว่าเราทุกคนมีน้ำใจที่พร้อมเข้าใจเรื่องราวอีกมุมของคนอื่น และสามารถใช้นำ้ดับ “ไฟ” ที่หลายครั้งไหม้ลุกลามใหญ่โต จนทำให้ข่าวดราม่าซุบซิบเล็กๆกลายเป็นวาระแห่งชาติได้ 

“การอินเกินไป” ไม่ใช่แค่อินเรื่องคนอื่นเท่านั้นนะคะ  

หลายครั้งการอินเกินไปสามารถเป็นเรื่องราวภายใน 

อินกับความคิด ความรู้ มุมมองของตัวเองเกินไปจนไม่ฟังคนอื่นด้วยเช่นกัน  

วิธีสังเกตง่ายๆอีกอย่าง คือ เมื่อเรื่องจบแล้วแต่เรายังไม่จบ 

นั่นอาจแปลว่า เรากำลังอินเกินไปค่ะ 

ที่มา

https://www.koreaboo.com/lists/12-idols-antifans-conspire-kill/

https://www.psychologytoday.com/us/blog/out-the-ooze/201503/why-caring-about-celebrities-can-be-good-you

https://www.theodysseyonline.com/why-do-we-love-celebrity-drama

About Me

Instagram:http://www.instagram.com/faunglada

Facebook: http://www.facebook.com/faunglada

Youtube: http://www.youtube.com/faunglada

Twitter: @faunglada

Website: www.faunglada.com

ความเห็น 7
  • N_Tansuwannarat
    ผมให้นิยามว่า "การอินคือศิลปะของการสร้างสัมพันธภาพของมนุษย์" หมายความว่า เวลาที่เราชัดเจนกับการอินสิ่งใด เราจะคลั่งไคล้มาก ๆ แต่กลับกัน เมื่อการอินไม่มีความชัดเจน เราจะไม่เข้าใจอะไรเลย เมื่อการอินทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี อินจนเกินเลย อินจนไม่มีขอบเขต เราถึงต้องมีคำว่า "กาลเทศะ" มาตีกรอบพฤติกรรมของตัวเองว่าอย่าไปทำร้ายใคร อย่าไปทำร้ายอะไรด้วยวาจาและการกระทำ "ก่อนพูดอะไร เรายังเป็นเจ้านายของคำพูดอยู่ แต่เมื่อพูดออกไปแล้ว คำพูดจะเป็นเจ้านายเราทันที" นี่คือประโยคที่ควรจะเตือนใจหากวันใดเราพลาดไป
    23 พ.ค. 2562 เวลา 12.03 น.
  • .~★☆ PikaPiPi ☆★~.
    ไม่เห็นอยากรู้เรื่องของใครเลย น่าเบื่อ! 🙄
    23 พ.ค. 2562 เวลา 12.15 น.
  • Fewling Nopparuj
    เพราะถ้าลองมองกลับกัน ถ้าให้ใครลองมายุ่งเรื่องของตัวเองมากเกินไป ตัวเราก็คงไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่นัก สิ่งที่สำคัญเลยก็คือ อย่าลืมเรื่องนี้ไป "คนเราทำอะไรมักจะได้แบบนั้น"
    24 พ.ค. 2562 เวลา 04.49 น.
  • Fewling Nopparuj
    เรื่องแบบนี้มันต้องรู้ได้ด้วยตนเองตั้งแต่แรก ว่าอย่าเข้าไปยุ่งเกินขอบเขต
    24 พ.ค. 2562 เวลา 04.45 น.
  • คนเรามีจิตสำนึกและมารยาทก็ย่อมที่จะรู้ได้ดีว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร.
    23 พ.ค. 2562 เวลา 13.00 น.
ดูทั้งหมด