ไลฟ์สไตล์

เข้าใจ “วัคซีน” ความหวังมนุษยชาติต้านโควิด - จุดประเด็น

LINE TODAY
เผยแพร่ 20 พ.ค. 2563 เวลา 19.20 น. • AJ.
ภาพจาก CDC / unsplash.com

นขณะที่โลกกำลังรอให้วัคซีนป้องกัน โควิด-19 เสร็จสมบูรณ์ 

เราคงต้องอดทนรักษาระยะห่างทางสังคมไปก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อเพิ่มให้ได้มากที่สุด จากอดีตจนถึงปัจจุบัน "วัคซีน" ช่วยหยุดการระบาดของโรคร้ายนานาชนิดที่คร่าชีวิตผู้คนเป็นผักปลา ทั้งโปลิโอ ฝีดาษ และอื่น ๆ อีกมากมาย 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ตอนที่โควิด-19 ระบาดใหม่ ๆ หลายคนพูดถึงภาพยนตร์เรื่อง “Contagion” ที่มีเนื้อหาเข้ากับสถานการณ์โรคระบาดขณะนี้มาก ๆ ในหนัง ผู้เชี่ยวชาญโรคระบาดต่างระดมสมองอย่างสุดกำลัง จนอเมริกาสามารถผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสได้ในวันที่ 131 ของการระบาด

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง วัคซีนไม่ได้คิดค้นกันได้ฉับไวทันใจขนาดนั้น

วัคซีน 101 : วัคซีนต่างจาก "ยา" อย่างไร

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“วัคซีน” กับยารักษาโรคต่างกันตรงที่“ยา” จะช่วยรักษาจุดที่เสื่อมของร่างกาย แต่วัคซีนจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยทั่วไปเป็นการนำเชื้อโรค (หรือบางส่วนของเชื้อโรค) เข้าสู่ร่างกาย เพื่อในอนาคต ถ้าเราได้รับเชื้อโรคดังกล่าว ร่างกายจะต่อต้านด้วยการขับไล่มันออกไปเองก่อนที่ไวรัสจะทันได้แพร่เชื้อ ซึ่งสิ่งที่คนทั้งโลกกำลังรอคอยก็คือเจ้าวัคซีนต้านโควิดนี่แหละ

คู่มือสร้างวัคซีน

ขั้นตอนการสร้างวัคซีนแต่ละโรคใช้เวลาและวิธีการต่างกัน ทุกวันนี้เรายังสร้างวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ไม่ได้แม้จะผ่านช่วงเวลาระบาดมา 20 กว่าปีแล้ว ในขณะเดียวกันบางโรคก็มีวัคซีนตั้งแต่ช่วงแรก ๆ อย่างไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ที่ระบาดหนักในปี 2009 กลับใช้เวลาเพียง 6 เดือนในการผลิตวัคซีนเท่านั้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ว่าแต่กว่าจะได้วัคซีน 1 เข็ม เหล่าแพทย์ต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง?

1.ถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส - สำหรับโควิด-19 โชคดีที่นักวิทยาศาสตร์ถอดรหัสได้ตั้งแต่แรก ๆ จึงใช้เวลาในขั้นตอนนี้ไม่นานนัก

2.พัฒนาวัคซีนโดยใช้เทคนิคเหล่านี้  :

  • ทำให้ไวรัสอ่อนแอลงโดยการนำไปเพาะเชื้อ
  • ดึงบางชิ้นส่วนของไวรัสออกมาใช้เป็นวัคซีน เพื่อให้ร่างกายมนุษย์สร้างภูมิคุ้มกันด้วยตัวเอง วิธีนี้กำลังใช้วิจัยวัคซีนโควิด-19อยู่ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก

3.เริ่มทดลองกับกลุ่มคนสุขภาพแข็งแรง เพื่อหาแอนติบอดี้ในเลือด และสังเกตการณ์ดูว่าวัคซีนไม่ส่งผลร้ายแรง - ตามปกติจะใช้เวลา 1 ปี

4.ทดลองกับคนกลุ่มใหญ่ขึ้น โดยมากจะทดลองกับกลุ่มเสี่ยง เช่น เจ้าหน้าที่แพทย์ต่าง ๆ และเพื่อบันทึกผลข้างเคียง ขั้นตอนนี้ต้องทดลองกับกลุ่มคนหลักพันขึ้นไป จึงค่อนข้างกินระยะเวลายาวนาน - ขั้นตอนนี้ปกติจะใช้เวลา 2-3 ปีเป็นอย่างต่ำ

5.อนุมัติวัคซีน ขั้นตอนนี้คนทั่วไปจะได้รับวัคซีนด้วย แต่กว่าจะเดินทางมาถึง ต้องใช้ทั้งเวลา ความอดทน และปัจจัยเสริมต่าง ๆ อาทิ ความพร้อมในการรองรับวัคซีนที่ต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ บางประเทศไม่ได้มีเทคโนโลยีหรือกำลังการผลิตมากพอ ก็อาจต้องใช้เวลาในการนำเข้าวัคซีนมากกว่าปกติ เป็นต้น

วัคซีนที่คนทั้งโลกรอคอย / freepik.com

วัคซีนโควิด-19

หลายประเทศเริ่มเห็นแสงสว่างในการผลิตวัคซีนโควิด-19 เมื่อวันที่ 19 พ.ค.บริษัทเทคโนชีวภาพโมเดอร์นา (Moderna) ในสหรัฐอเมริกาเผยผลทดลองว่าร่างกายอาสาสมัครผลิตภูมิต้านทานไวรัสได้ สถาบันวิจัยในอิสราเอลก็เพิ่งค้นพบแอนติบอดี้ที่ทำลายไวรัสโควิด-19 ได้ กำลังอยู่ในขั้นตอนเตรียมงานกับโรงงานผลิตยาเพื่อทำวัคซีนต่อไป

ในขณะที่ไทยเองก็คืบหน้าไปไกล โฆษกศบค. (ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน แถลงว่าวัคซีนที่ผลิตโดยศูนย์งานวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำลังเตรียมทดสอบกับลิงในสัปดาห์หน้า หลังประสบความสำเร็จในหนูทดลองไปแล้ว

จนกว่าวัคซีนโควิด19 จะเสร็จสมบูรณ์แบบไม่ต้องลุ้น มนุษยชาติคงต้องทำตัวให้คุ้นเคยกับความเสี่ยงระบาดรอบสองสามสี่ห้าไปอีกนาน ตามวิถีชีวิตใหม่หรือ “นิวนอร์มัล” ที่คงไม่ใหม่อีกต่อไป แต่กลายเป็นชีวิต “ปกติ” ที่เราต้องยอมรับให้ได้ในเร็ววัน

-

อ้างอิง

- henryford.com

- heritage

- businessinsider

- thaipbs

- pptvhd36

ความเห็น 18
  • พี มินโฮ 88
    มันก็เป็นความหวังเดียวของมนุษย์ชาตินี่แหละ เข้าใจว่ามันต้องใช้เวลามากพอสมควร แต่ก็เพื่อให้มีประสิทธิ์ภาพในการควบคุมโรคได้ ไม่ใช่เสียเงินไปเปล่าๆ ทำแล้วให้ความคุ้มโรคได้ยาวนานแค่ไหน คุ้มได้กี่เปอร์เซนต์ เพราะทุกประเทศเขาก็กำลังคิดค้นพัฒนาวัคซีนตัวนี้ ใครทำสำเร็จก่อนก็โกยเงินไปก่อน อย่างน้อยก็ขอให้มันพึ่งพาได้เถอะ ต่างประเทศเขามีสภาพอากาศเย็นไม่ร้อนเหมือนบ้านเรา อาการของโรคถึงได้รุนแรงและเสียหายมากกว่า ถือเป็นความโชคดีของประเทศเรา.....
    21 พ.ค. 2563 เวลา 02.21 น.
  • Bobnathee
    มนุษย์ คน ที่แข็งแรงจะอยุ่รอด คน มนุษย์ที่อ่อนแอ ก้จะต้องนอมที่จะจากไปตายไป เราเรียนรุ้ศึกษามาตลอดพุดมาตั้งแต่เรียนประถมและพุดทั่วโลก ว่าออกกำลังกายสร้างภุมิออกจริงจัง รักษาความสะอาด รับแดด ซึ่งเป็นของธรรมชาติที่ให้โลกใว้ ในอดีตไม่มีแอร์มนุษย์ก้อยุ่มาถึงปัจจุบันใด้แต่เมื่อเราว่างคิดค้นสิ่งต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้เรา มนุษย์ก้อ่อนแอไร้ภุมิ ยังทัน วัคซีนคือทางเลือกในอนาคตแต่ตอนนี้คือ ร่างกายต้องแข็งแรงถึงจะรอดและเราก้จะอยุ่กะโควิดใด้เหมื่อนที่เราอยุ่กะ เอดส์กะไข้หวัดทุกสายพันธุ์ ต่อไปเด็กเกิดฉีด
    21 พ.ค. 2563 เวลา 09.26 น.
  • หวังว่าความสำเร็จคงจะเกิดขึ้นมาในเร็ววันนี้.
    23 พ.ค. 2563 เวลา 10.34 น.
  • กว่าจะค้นเจอมันก็พันธ์ไปเป็นโรคแล้ว
    21 พ.ค. 2563 เวลา 12.46 น.
  • สำเร็จก็ตายช้าหน่อย ไม่สำเร็จก็ตายเร็วหน่อย ไม่ตายด้วยโรค น้ำก็ท่วมตาย น้ำไม่ท่วมตาย ก็เเผ่นดินไหวตาย ไม่ตายด้วยภัยธรรมชาติ ก็เกิดอุบัติเหตุรถชนตาย ทะเลาะกันก็ถูกเเทงตาย ต่างประเทศคิด ไงก็ตาย จึงไม่มีการพัฒนา ส่วนไทยซื้อประกัน มีประกันสังคม คนป่วยนิดหน่อยกูเสีย 700 ไปรักษาเป็นหมื่น สิทธิ โรงพยาบาลในกรุงเทพจึงผุดเป็นดอกเห็บ ต่างจังหวัดไม่มีเงินจ่ายประกันสังคม เพราะไม่มีโรงงาน ก็ส่งคนไข้เข้ากรุงเทพทั้งหมด สะท้อน โรคซาไม่มีวิจัย มาโควิดวิจัย สรุปพึ่งมาคิดได้ว่าต้องตาย
    28 พ.ค. 2563 เวลา 00.00 น.
ดูทั้งหมด