ไอที ธุรกิจ

ร้อง ‘สหพันธ์แรงงานนานาชาติ’ กดดันรัฐบาลคงสวัสดิการ ‘คนการบินไทย’

The Bangkok Insight
อัพเดต 27 พ.ค. 2563 เวลา 12.50 น. • เผยแพร่ 27 พ.ค. 2563 เวลา 12.49 น. • The Bangkok Insight

ยืมมือ “สหภาพแรงงานนานาชาติ” กดดันรัฐบาลคงสวัสดิการ “พนักงานการบินไทย” ด้าน “สมาพันธ์แรงงานฯ ไทย” ลุยตั้งคณะทำงานคู่ขนาน ตรวจสอบการฟื้นฟูของรัฐบาล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายนเรศ ผึ้งแย้ม อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (26 พ.ค.) อดีตตัวแทนสหภาพฯ ได้เข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ของไทย ซึ่งเป็นการประชุมวาระพิเศษเกี่ยวกับกรณีที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการผ่านศาลล้มละลายกลางและให้กระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้นลง จนทำให้การบินไทยหลุดพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ

ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้มีมติให้ส่งคำร้องต่อสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ เพื่อให้ทำหนังสือกดดันเกี่ยวกับการบินไทยมายังรัฐบาลไทย 3 ข้อ คือ 1.คงสวัสดิการและสภาพการจ้างพนักงาน 2.การปลดพนักงานให้ทำหลังจากแผนฟื้นฟูสำเร็จ และ 3.แผนฟื้นฟูให้มีตัวแทนแรงงานเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (27พ.ค.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยังได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 แต่งตั้งคณะทำงานฟื้นฟูการบินไทย เนื่องจากประธานสหภาพแรงงานองค์กรสมาชิกทุกแห่ง ที่ปรึกษา และพนักงานการบินไทย ที่มาเข้าร่วมประชุมหารือเมื่อวานนี้ (26 พ.ค.) ได้อภิปรายเรื่องการบินไทยอย่างกว้างขวางและเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ "ไม่ไว้วางใจต่อกระบวนการในการฟื้นฟูของรัฐบาล" เพราะการฟื้นฟูนั้น ไม่ได้เริ่มที่การค้นหาความจริงและการทำความจริงให้ปรากฎ

เพราะทราบกันดีว่าปัญหาที่แท้จริงของการล้มละลายของการบินไทย ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติ คือการทุจริตของนักการเมืองละผู้บริหาร ทั้งทุจริตเชิงโยบายและการบริหารงานในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การจัดซื้อเครื่องบิน การเปลี่ยนเครื่องยนต์ การให้ผู้แทนจำหน่ายบัตรโดยสาร การตั้งบริษัทลูกเพื่อแข่งขันในสายการบินตันทุนต่ำ เป็นต้น แต่สุดท้ายมาจบลงที่การลดเงินเดือน ใส่ร้ายพนักงานที่ตั้งใจทำงาน และยุบสหภาพฯ คือเงื่อนงำที่ไม่อาจไว้วางใจและยอมรับได้

ที่ประชุมจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะต่อสู้ร่วมกันจนถึงที่สุด เพื่อให้บริษัท การบินไทย กลับมาเป็นสายการบินแห่งชาติ ที่เป็นความภาคภูมิใจของคนทั้งชาติต่อไป และได้มีการตั้งคณะทำงานฟื้นฟูการบินไทยขับเคลื่อนคู่ขนานกับรัฐบาล และจะแถลงให้ทราบถึงการดำเนินงานเป็นระยะต่อไป

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • surachit
    เข้าใจไหมว่า การบินไทยเป็นของเอกชนแล้ว ทำมาจนเจ๊งขนาดนี้ ยังมีหน้าเรียกร้อง
    27 พ.ค. 2563 เวลา 15.22 น.
  • Thomas
    แผนฟื้นฟู ควรลดพนักงานสัก90%
    27 พ.ค. 2563 เวลา 15.26 น.
  • weera
    ทำเจ๊ง ขนาดนี้ ยังกล้าร้องเรียนอีกเนาะ คนหน้าด้าน ประเทศไทยมี สหภาพ รักแต่ตัวเอง ไม่เคยรัก การ บิน ไทย หน้าไล่ออกทั้ง สหภาพ คนซื้อตั๋ว ไปแล้ว ยังไม่ได้บิน ขอเงินคืน ก็ยังไม่ได้ สหภาพ เคยคิดจะช่วย ประชาชนไหม
    27 พ.ค. 2563 เวลา 13.51 น.
  • j
    รัฐบาลให้เวลามาแล้ว5ปีไม่ใช่หรือขาดทุนยับเยิน.. โหดูเรียกร้องสิเพื่อชาติทั้งนั้น
    27 พ.ค. 2563 เวลา 16.14 น.
  • R-sak
    พูดได้เต็มปากนะ เป็นสายการบินแห่ง"ชาด" เพื่อเป็นความพากภูมใจของคนไทยทังชาติต่อไป ไม่สมควรเหมารวมนะครับ
    27 พ.ค. 2563 เวลา 15.50 น.
ดูทั้งหมด