ทั่วไป

โรควิตกกังวล ภัยเงียบคนไทย กรมสุขภาพจิตเผยป่วย 1.4 แสนราย

Khaosod
อัพเดต 23 ก.ย 2561 เวลา 11.36 น. • เผยแพร่ 23 ก.ย 2561 เวลา 11.36 น.
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต (แฟ้มภาพ)

อธิบดีกรมสุขภาพจิต เผยคนไทย 1.4 แสนรายป่วย โรควิตกกังวล สาเหตุเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุล ของสารสื่อประสาทในสมอง มีอาการกระสับกระส่าย เหนื่อยง่าย ใจสั่น ฯลฯ แพทย์แนะวิธีสังเกต ห่วงผู้ป่วยไม่รู้ตัว ทำให้ไม่มาพบแพทย์ 

โรควิตกกังวล  /  เมื่อวันที่ 23 ก.ย. น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดี กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า การเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช ยังมีในกลุ่มของ โรควิตกกังวล (anxiety disorders) ซึ่งผู้ป่วยจะมีจิตใจแปรปรวนอ่อนไหวง่าย ที่พบได้บ่อย คือ โรควิตกกังวลทั่วไป (general anxiety disorder)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซึ่งในคนปกติทั่วไปอาจเกิดความวิตกกังวลได้ เช่น กังวลเรื่องลูกไปโรงเรียน เรื่องการเข้าทำงานใหม่ แต่ว่าจะเป็นไม่นานอาการจะหายไปเอง แต่ในผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไป จะมีอาการติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน อาการเด่นที่สำคัญคือ คิดฟุ้งซ่าน กลัวและกังวลเกินกว่าเหตุ ในหลายๆเรื่องในเวลาเดียวกัน

ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น มีอาการใจลอย ตกใจง่าย ไม่สามารถหักห้ามใจไม่ให้คิดได้ และจะมีอาการทางกายปรากกฎร่วมด้วย อย่างน้อย 3 อย่าง เช่น กระสับกระส่าย เหนื่อยง่าย ใจสั่น ปวดตึงกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่ต้นคอ ไหล่ หลัง ใจเต้นเร็วและแรง หายใจไม่อิ่ม ท้องเสีย ปัสสาวะบ่อย มือเท้าเย็น นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ เป็นต้น

เผยคนไทยป่วย1.4แสนราย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า ผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตล่าสุดในปี 2556 พบประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นโรคนี้ร้อยละ 0.3 คาดว่าทั่วประเทศมีประมาณ 140,000 คน สาเหตุของโรควิตกกังวลทั่วไป เกิดมาจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง

เป็นโรคที่ประชาชนไทยมักเข้าใจผิดกันบ่อย คิดว่าผู้ป่วยแกล้งทำ หรือคิดว่าเกิดมาจากตัวเองคิดมากไปเอง ไม่ได้เจ็บป่วย จึงไม่ไปพบแพทย์หรือจิตแพทย์ เพื่อรักษาแก้ไขที่ต้นเหตุ ซึ่งโรคนี้มียารักษา และต้องใช้วิธีการบำบัดทางจิตสังคมร่วมด้วย เพื่อปรับความคิดและพฤติกรรมควบคู่กัน

ที่น่าเป็นห่วงก็คือการซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมากินเอง เพื่อแก้ไขอาการที่ตัวเองเป็น เช่นนอนไม่หลับ ความกังวล ปวดศีรษะ เป็นต้น ซึ่งจะมีผลเสียมากกว่า นอกจากจะไม่ได้ผล หรือได้ผลเพียงชั่วขณะ ยังอาจทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้นไปอีก เพราะไม่ได้รับการแก้ไขที่ต้นเหตุ จึงขอให้ผู้ที่มีปัญหาและอาการที่กล่าวมา เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรืออาจโทรขอรับคำปรึกษาทางสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แพทย์ห่วงลามป่วยซึมเศร้า-แนะวิธีดูแล

ด้านนพ.กิตต์กวี โพธิ์โน ผอ.รพ.จิตเวชนครพนมราชนครินทร์ จ.นครพนม กล่าวว่า โรควิตกกังวลทั่วไป หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคทางใจและทางกาย ตามมาอีกหลายโรคได้แก่ โรคซึมเศร้า นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับ

สำหรับผู้ที่กำลังมีอาการวิตกกังวลในขณะนี้ มีวิธีช่วยควบคุมหรือบรรเทาอาการให้ทุเลาลงได้ดังนี้ 1. พักผ่อนให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงหรืองดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง เนื่องจากคาเฟอีนอาจกระตุ้นให้อาการแย่ลงได้

2.รับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างครบถ้วนต่อเนื่อง หากมีความจำเป็นต้องซื้อยารักษาโรค หรือสมุนไพรต่างๆตามร้านขายยาทั่วไป ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน 3. ฝึกทำสมาธิ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย และรู้จักการปล่อยวาง ซึ่งจะช่วยให้จิตใจสงบขึ้น

“ประการสำคัญ ญาติหรือคนรอบข้าง ควรทำความเข้าใจ ว่าอาการของผู้ป่วยไม่ได้เกิดจากการแกล้งทำ หรือคิดมากไปเอง ซึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในร่างกาย และเกี่ยวกับพื้นฐานสุขภาพจิตของแต่ละบุคลด้วย จึงควรเข้าอกเข้าใจและให้กำลังใจผู้ที่เป็นโรคดังกล่าว” ผอ.รพ.จิตเวชนครพนมราชนครินทร์ จ.นครพนม กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 28
  • Kla
    เป็นแบบนี้เยอะ เพราะมีหน้ากากยิ้มและในมือแอบถือมีดไว้ข้างหลัง การให้อภัยน้อย แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน
    23 ก.ย 2561 เวลา 16.01 น.
  • 1คนในนั้นก็เรานี่ละ
    23 ก.ย 2561 เวลา 21.49 น.
  • ย่อมกังวลเป็นธรรมดา กลัวคนภายใต้หน้ากากแสนดี
    23 ก.ย 2561 เวลา 16.12 น.
  • (เดี่ยวเว้ย)😎
    กูมาเป็นก้อตอนคสช.นี่แหละ
    23 ก.ย 2561 เวลา 20.06 น.
  • หมูปิ้ง
    คุณหมอพูดถูกค่ะโรคนี้ถ้าไม่เจอกับตัวคงไม่เข้าใจคนที่เป็นโรคนี้ทรมานมากเหมือนตายทั้งเป็นค่ะมันเกิดจากการผิดปกติของสมดุลสมองไม่ใช่เรื่องล้อเล่นนะคะแต่เป็นโรคที่ต้องกินยาตลอดชีวิตไม่ใช่โรคซึมเศร้านะเรื่องจริงคะ
    24 ก.ย 2561 เวลา 03.03 น.
ดูทั้งหมด