ทั่วไป

สธ. วางยุทธศาสตร์ ‘1 จังหวัด 1 แล็บ 100 ห้องปฏิบัติการ’ คัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 ตั้งเป้าตรวจวันละ 2 หมื่นตัวอย่าง

THE STANDARD
อัพเดต 07 เม.ย. 2563 เวลา 09.56 น. • เผยแพร่ 07 เม.ย. 2563 เวลา 09.56 น. • thestandard.co
สธ. วางยุทธศาสตร์ ‘1 จังหวัด 1 แล็บ 100 ห้องปฏิบัติการ’ คัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 ตั้งเป้าตรวจวันละ 2 หมื่นตัวอย่าง

วันนี้ (7 เมษายน) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่ารัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข โดย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเชิงรุกในการจัดการการแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด-19 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ ‘1 จังหวัด 1 แล็บ 100 ห้องปฏิบัติการ’ เพื่อเร่งตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ตามแนวทางการปรับเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรคเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้เร็วและมากที่สุด 

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เร่งทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการการตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 เพิ่มขึ้นอีก 30 แห่งทั่วประเทศ เมื่อรวมกับห้องปฏิบัติการเดิมที่ผ่านการรับรองแล้วจำนวน 80 แห่ง ทำให้ในเดือนเมษายนนี้จะมีห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 รวม 110 แห่ง ครอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 12 เขตสุขภาพทั่วประเทศ รองรับความสามารถในการตรวจสูงสุดถึง 20,000 ตัวอย่างต่อวัน คือในกรุงเทพฯ 10,000 ตัวอย่าง และในภูมิภาค 10,000 ตัวอย่างต่อวัน (ภูมิภาค 835 ตัวอย่าง/เขตสุขภาพ)

 

นอกจากนี้อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังระบุว่า จากการประชุมคณะทำงานด้านภารกิจการจัดการห้องปฏิบัติการ โดยมีกรมควบคุมโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และเครือข่าย เมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อวางมาตรฐานสนับสนุนกระบวนการตรวจหาเชื้อและเชื่อมข้อมูลระบบรายงานผลให้รายงานผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

ยกระดับการทำงานให้เกิดความรวดเร็ว ทั้งขั้นตอนการออกรหัสการตรวจที่จะปรับไปในรูปแบบออนไลน์ การจับคู่ห้องปฏิบัติการกับโรงพยาบาลต้นสังกัดเพื่อให้การรับส่งเชื้อในการตรวจรวดเร็ว ตลอดจนการรายงานผลที่เชื่อมโยงกับกรมควบคุมโรคและโรงพยาบาลที่ส่งตรวจ รวมทั้งระบบ E-claim ที่ดูแลด้านการเบิกจ่ายงบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และช่วยให้เห็นภาพรวมของสถานการณ์ไปพร้อมกัน ทำให้การวางแผนการจัดการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“วันนี้ยังคงยืนยันวิธีการตรวจที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี Real-time RT PCR เนื่องจากมีความไว ความจำเพาะสูง ทราบผลภายใน 3-5 ชั่วโมง และสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสปริมาณน้อยๆ ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายในรูปแบบของสารพันธุกรรม และขณะนี้มีนวัตกรรมเครื่องมือตรวจใหม่ๆ ที่นำมาใช้ เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันบำราศนราดูรของกรมควบคุมโรคได้มีเครื่องดังกล่าวไว้ใช้งานแล้ว และการที่มีห้องปฏิบัติการหนึ่งแห่งหนึ่งจังหวัดจะยิ่งเสริมการตรวจหาเชื้อได้ดีและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น” นพ.โอภาส กล่าว

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • Sirot
    ไหนเห็นมีข่าวว่าไทยผลิตชุดตรวจโควิดได้ออกมาอยู่ตลอด55555 โม้ทั้งเพ
    07 เม.ย. 2563 เวลา 11.39 น.
  • ThinkPad
    เสร็จชาติหน้า เปล่าครับ ? 5000 x 3 เดือน อดตายก่อน ยังเบิกไม่ได้เลย
    07 เม.ย. 2563 เวลา 12.04 น.
  • CCN
    ปิด_จว...ใคร_จว. มันไปเลย_ท่านจะได้คุมอยู่และง่ายด้วย_ ห้าม_ๆๆๆๆๆ__ข้ามเขต_ครับ จว__ใคร. อยู่. บ้านตัวเองไป__จะได้สงบ_ดีขึ้น_ครับท่าน ปชช__จะได้สบายใจ. ใครทำกิน_ ส่งของ. เอาเขตใคร_ จง ใคร__ไปเลย__ข้าม_เขตแดน_ต่อเมื่อ_จำเป็น
    07 เม.ย. 2563 เวลา 12.58 น.
  • Pharada M.
    ถ้าจะใช้นโยบายเชิงรุกค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อก็ควรจะไม่แพง​เพื่อป้องกันโรคระบาด​ค่าตรวจวิเคราะห์​สำหรับประชาชนก็ไม่ควรเกินคนละบาท​(อันนี้ก็จะดีงามโดยแท้)​
    07 เม.ย. 2563 เวลา 11.58 น.
  • จริงๆโรงเรียนหยุดกัน น่าจะทำเป็นที่กักตัวคน เสี่ยงหรือคนเฝ้าระวัง
    07 เม.ย. 2563 เวลา 10.32 น.
ดูทั้งหมด