ไลฟ์สไตล์

ความรักคือหมุดหมายสำคัญของชีวิต หรือคือจอมวายร้าย ? - newness

LINE TODAY SHOWCASE
เผยแพร่ 17 ก.พ. 2565 เวลา 13.40 น. • newness

ความรักคือหมุดหมายสำคัญของชีวิต หรือคือจอมวายร้าย ??

* บางคนมองว่าความรักคือส่วนจำเป็นของประสบการณ์ในชีวิต

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

* บางคนมองว่าความรักโรแมนติกคือหายนะที่ไม่ก่อประโยชน์อันใด

* หญิงสาวหลายคนหลีกเลี่ยงที่จะมีความโรแมนติก เพราะไม่อยากหาความยุ่งยากวุ่นวายใส่ตัว

ดั่งที่เป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้เราจะอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 21 กันแล้ว แต่ความรักยังคงเป็นเรื่องท้าทายของผู้คน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

และยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันว่า ไม่มีอะไรที่จะยากยิ่งไปกว่าการมีความรักที่ดีและมีความสุข มีความรู้สึกที่แนบแน่นต่อกันระหว่างคู่รัก

การเป็นโสดตลอดชีวิตและการอยู่ตัวคนเดียวนั้น กลายเป็นเรื่องยุ่งยากและซับซ้อน (ซะงั้น)

ซึ่งทำให้การแสวงหาความรักและคาดหวังว่าจะได้ครองคู่กับใครสักคนนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องใส่ใจทุ่มเทอย่างมาก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

"แล้วทำไมเราต้องทำงั้นด้วยล่ะ" อาจจะมีใครอยากถามประโยคนี้ขึ้นมา Hara Estroff Marano เสนอความคิดเห็นใน Psychology Today ปี 2004

ไว้ว่า "ความรักเป็นหมุดหมายสำคัญของชีวิต" และ "มีเพียงความรักเท่านั้นที่ช่วยปกป้องพวกเราจนเกิดการเติบโตและเปลี่ยนแปลง"

มีเพียงความรักเท่านั้นที่มีค่าคู่ควรแก่การพยายามฝ่าฟันที่จะทำในเรื่องยากเพื่อให้ได้มา เพราะพื้นฐานของมนุษย์มีความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่ง

ของบางสิ่งบางอย่างที่ยิ่งใหญ่หรือนอกเหนือไปจากตัวเอง

อ่านมาถึงตรงนี้ ใครที่รู้สึกว่าไม่อินเอาซะเลย ขอแนะนำให้ไปลองอ่านงานเขียนของ Jane Austen หรือ Danielle Steele

หรือจะไปลองฟังเพลงของ Frank Sinatra หรือ Celine Dion ดูก็ได้ คุณจะรู้ว่า ไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะมีเวทมนต์ดุจดั่งความรัก

Marano ยังเตือนเราไว้ด้วยว่า จงวางเดิมพันอย่างระมัดระวัง ว่าคุณจะไม่สูญเสียมันไปต่อหน้าต่อตา (แน่นอนว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับความรัก :))

มุมมองต่อความรักที่ต่างออกไปล่ะ ???

นอกจากกลุ่มที่บูชาความรักแล้ว กลุ่มที่เห็นต่างที่ไม่เชื่อในการมีอยู่ และไม่อินกับการแสดงอารมณ์เอาซะเลยล่ะ

"การผสมผสานทางอารมณ์ที่น่ากลัวในแบบ Hollywood ลัทธิบูชาความรักยุควิคตอเรีย และนิตยสารแฟชั่นเจ้าสาว ทำให้เกิดกระแสที่ยิ่งใหญ่ของความรัก" Judith Hertog

ได้เขียน "un-Valentine" ลงใน New York Times ฉบับออนไลน์เมื่อวันวาเลนไทน์ ปี 2019 โดยบทความได้อธิบายแนวคิดไว้ และมีผู้อ่านตอบกลับโดยการเรีบกเธอว่า "วายร้ายแห่งความรักสมบูรณ์แบบ"

คราวนี้เรามาดูมุมมองของหญิงสาวในยุคมิลเลนเนี่ยนกันบ้าง (เกิดหลังปี 1980 และโตเป็นผู้ใหญ่ตอนต้นในช่วงศตวรรษที่ 21) ส่วนใหญ่พวกเธอจะไม่นำตัวเองไปสู่ความสัมพันธ์ที่จริงจัง

เพราะมันจะต้องมีความรักมาเกี่ยวข้อง (!!!!!) เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่นัก ย้อนไปในปี 1930 นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายถึงความรักไว้ว่า

เป็นความรู้สึกที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการโตเป็นผู้ใหญ่ รักเป็นเพียงจินตนาการของวัยเด็ก เป็นอารมณ์ที่มีประโยชน์เพียงน้อยนิด

Alfred Adler นักจิตบำบัด ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความรักเช่นกันและนำเสนอว่า การแต่งงานจะประสบความสำเร็จมากหากปราศจากความรัก

Marilyn French นักเรียกร้องสิทธิสตรียุค 1970 ได้ให้มุมมองต่อความรักไว้ว่า "เป็นภัยต่อการแสดงความเป็นตัวตนของผู้หญิงอย่างแท้จริง และขัดขวางความสามารถในการใช้ชีวิตให้มีความหมาย" นอกจากนี้ นักวิชาการ Pepper Schwartz ยังได้นำเสนอการแต่งงานที่เน้นความเท่าเทียมและมิตรภาพที่แท้จริง (Peer marriage) แทนที่ความลุ่มหลงและบทบาททางเพศสภาพ

โดนสรุป ความรักในมุมมองของคนอเมริกันยังคงเป็นเรื่องที่ชวนให้ถกเถียงและมีด้านที่ต่างอย่างสุดขั้ว

พวกเขาต่างวิ่งไล่ตามความรัก เพราะผลของมันนั้นชวนให้เคลิบเคลิ้ม

แต่ก็อยากจะหลีกเลี่ยง เพราะพิษของมันก็ทำให้เราฟั่นเฟือนได้เช่นกัน

เรียบเรียงจาก

Is Love "the Cornerstone of Humanity" or a "Tyranny"?

Experts strongly disagree on the value of romantic love.

by Lawrence R. Samuel Ph.D.

References

Samuel, Lawrence R. (2019). Love in America: A Cultural History of the Past Century. Jefferson, NC: McFarland.

--------------------------------------------------------------------------

ถึงแม้บทความจะอ้างอิงคนอเมริกัน แต่ผู้แปลแน่ใจว่า เรื่องนี้คนไทยอย่างเราๆ ก็น่าจะคิดไม่ต่างกันมากนัก

เพราะยังไงเราก็เป็น Homo Sapiens เหมือนกันอ่ะโน๊ะ

แต่อ่านจบแล้ว ใครจะมีเพลงนี้ วนกลับเข้ามาในหัว เหมือนผู้แปลบ้างไหม "นั่นคือความรักใช่ไหม

ที่วาดรอยยิ้มได้ คือความรักใช่ไหม ที่หลายคนร้องไห้ ความรักแท้จริงเป็นเช่นไร ยังคงไม่รู้ไม่เคยเข้าใจ"

สุขสันต์วันธรรมดา

16.02.22