ไลฟ์สไตล์

จาก “ริบบิ้น” ธรรมดา สู่อีกหนึ่งการแสดงออกทางการเมืองของเยาวชนไทย

LINE TODAY ORIGINAL
เผยแพร่ 17 ส.ค. 2563 เวลา 17.37 น. • J.PNP

ขอบคุณภาพต้นฉบับจากผู้ใช้งานทวิตเตอร์ @GUITARTARR1

เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่สร้างความหวังใหม่ให้กับสังคมไทยอย่าง #ผูกโบว์ขาวต้านเผด็จการ เพราะเป็นการเคลื่อนไหวของ “เยาวชน” ที่ต้องการแสดงท่าทีต่อการทำงานของรัฐบาลปัจจุบัน โดยกลุ่มเคลื่อนไหวที่ใช้สัญลักษณ์ “ริบบิ้นสีขาว” ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา แสดงออกโดยการผูกผมด้วยโบว์สีขาว หรือติดโบว์สีขาวไว้บนกระเป๋าของตนเอง และถ่ายลงโซเชียลพร้อมติดแฮชแท็ก #ผูกโบว์ขาวต้านเผด็จการ นั่นเอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อเด็ก ๆ กลายมาเป็นกำลังหลักในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับระบบการเมืองที่พวกเขามองว่าไม่เป็นธรรม และอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดอนาคตของประเทศ อยากที่จะส่งเสียงให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองได้ยิน และรับฟังพวกเขาบ้าง ในการชุมนุมครั้งใหญ่ในวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา ก็นำโดยกลุ่ม “เยาวชนปลดแอก” ที่เป็นผู้เสนอ 3 ข้อเสนอ 2 หลักการ และ 1 ความฝัน หรือว่าจะเป็นกลุ่ม “ธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ที่เสนอข้อเรียกร้อง 10 ประการ ด้วยการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เพิ่มความเข้มข้นขึ้น จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในโรงเรียนระดับมัธยมด้วย ถือเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง เพราะโรงเรียนนั้นเป็นสถานที่ที่ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการขัดเกลาทางสังคมของคนในประเทศ เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของเด็ก ๆ ในโรงเรียน จึงเปรียบเสมือนการท้าทายกับระบบในอีกทางหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสังคมไทย

แต่รู้กันไหมว่าการใช้ “ริบบิ้น” มาเป็นการแสดงออกทางการเมือง หรือจุดยืนในเรื่องต่าง ๆ นั้นเริ่มต้นมาตั้งแต่ตอนไหนกัน? 

แม้ว่าจะไม่ได้มีประวัติศาสตร์ที่แน่ชัด เพราะบางคนก็เชื่อว่าเกิดขึ้นในยุคกลางที่ผู้หญิงนั้นจะมอบริบบิ้นให้กับเหล่านักรบ หรืออัศวินเพื่อแสดงถึงความรักและความภาคภูมิใจ หรือบ้างก็เชื่อว่าเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงยุคสงครามกลางเมือง โดยผู้หญิงจะติดริบบิ้นสีเหลือเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงคนรักของพวกเธอที่กำลังรบอยู่ในสนามรบ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับสมมติฐานข้อหลังนั้นดูจะมีมูลมากกว่า มีหลักฐานที่สนับสนุนการใช้ริบบิ้นสีเหลือง ผ่านเรื่องเล่าว่าในเดือนพฤศจิกายน 1979 มีหญิงสาวคนหนึ่งใช้ริบบิ้นสีเหลืองผูกรอบบ้านของตัวเอง เพื่อเป็นการยกย่องสามีของเธอที่ถูกคณะปฏิวัติจับเป็นตัวประกัน โดยเธอได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพลงเก่าแก่ที่ชื่อว่า “Tie a Yellow Ribbon Round the Ole Oak Tree”

ถึงเรื่องราวนี้จะผ่านมาเป็นเวลานาน แต่การใช้ริบบิ้นสีเหลืองนั้นยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน และริบบิ้นเหลืองเองก็ถูกใชเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงทหารที่รบต่างแดนโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา แต่ริบบิ้นเหลืองก็มีความหมายอื่น ๆ ด้วย เช่นในอังกฤษใช้เป็นสัญลักษณ์สร้างความตระหนักถึงผู้สูญหาย รวมไปถึงการถูกใช้เป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ประชาธิปไตยในฮ่องกง

สำหรับสีของริบบิ้นที่มีความหมายเป็นสากล ก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น สีขาว หมายถึง การยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี, สีเหลือง หมายถึง ความหวัง การรอคอย และการกลับมาพบกัน, สีดำ หมายถึง ความอาลัย การไว้ทุกข์ การระลึกถึง, สีแดง หมายถึง วันเอดส์โลก, สีชมพู หมายถึง การรณรงค์มะเร็งเต้านม และสีน้ำเงิน หมายถึง ความเป็นเลิศ ดีเยียม มีสีของริบบิ้นอีกมากมายที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการแสดงออกต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสีของริบบิ้น และเวลาในการติด สามารถเช็กได้ที่นี่ https://fundraisingforacause.com/pages/ribbon-color-meanings

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สุดท้ายการเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งนี้ของประเทศไทย ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพลังของคนรุ่นใหม่ที่อยากกำหนดอนาคตของตัวเอง และมีความเชื่อว่าถ้าการเมืองดี  อนาคตของพวกเขาก็จะดีด้วย นอกจากการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย ใช้เนื้อหาจากป็อปคัลเจอร์ หรือจากสื่อต่าง ๆ ทั้งไทยและเทศ ไวรัล ฯลฯ มาเป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมแล้ว ก็ยังมีการขับเคลื่อนทางโซเชียลมีเดียอีกมากมาย ถือเป็นอีกประวัติศาสตร์หน้าใหม่สำหรับการเคลื่อนไหวทางการเมืองประเทศไทย .

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.allheart.com

https://favforward.com

ความเห็น 135
  • Kittichat P.
    นี่ล่ะพลังบริสุทธิ์ที่แท้จริง ที่พวกสลิ่ม กปปส. ไดโนเสาร์ไม่มีวันเข้าใจ
    25 ส.ค. 2563 เวลา 12.50 น.
  • (^ㅅ^)
    พวกเด็กควายส้ม กรูแนะนำ ให้พวกเมิง ไปชุมนุน ที่ บ้านทอน บูด ช่อ ไม่ใช่เอาสถานที่ ศึกษา ที่ไม่ได้ มีแค่กลุ่่ม ควายๆ อย่างพวกเมิง อยากจะโชว์ ควาย ไปทำที่ บ้าน ไอดอล ของพวกเมิง จบนะ 🐂🍊
    22 ส.ค. 2563 เวลา 10.33 น.
  • ด่าประเทศที่จะเองซ
    22 ส.ค. 2563 เวลา 02.45 น.
  • Mong
    ตอบคำถาม หน่อย . 1.ประชาธิปไตย..คืออะไร.. 2.ชู 3นิ้ว หมายถึงอะไร..(จำจากหนังมาหรอ..แล้วก็ชูต่อๆกันมา) 3. เราเดือดร้อนอะไรจากรัฐธรรมนูญ (จากคนทำมาหากิน)
    22 ส.ค. 2563 เวลา 02.22 น.
  • prasan bhamonchant
    ใช้เด็กออกมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองแบบนี้มันจะลงเอยได้ยังไงนะ​ นึกไม่ออกจริงๆ​ บ้านเมืองจะดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไรกัน​ ในเมื่อนักการเมืองบางกลุ่มบางคนยังคิดแต่ผลประโยชน์​ของตนเองและพวกพ้องเป็นหลัก​
    22 ส.ค. 2563 เวลา 01.06 น.
ดูทั้งหมด