ทั่วไป

การชนครั้งโบราณของกาแล็กซีทางช้างเผือก

ไทยรัฐออนไลน์ - Social
อัพเดต 19 ม.ค. 2563 เวลา 05.35 น. • เผยแพร่ 20 ม.ค. 2563 เวลา 01.01 น.
ภาพไฮไลต์

(Milky Way galaxy ภาพจาก : NASA/JPL-Caltech)

เมื่อราวๆ 10,000 ล้านปีที่แล้วดาราจักรหรือกาแล็กซีทางช้างเผือกมีการชนกับกาแล็กซีขนาดเล็กกว่าชื่อไกอา-เอนเซลาดัส (Gaia-Enceladus) ปัจจุบันก็ยังเห็นดวงดาวจำนวนมากจากกาแล็กซีไกอา-เอนเซลาดัส ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คิดต้องมีผลกระทบอย่างมากต่อวิวัฒนาการกาแล็กซีทางช้างเผือก ล่าสุด ดาวฤกษ์เดี่ยวในกลุ่มดาวอินเดียนแดง (constellation of Indus) ที่มองเห็นได้ทางซีกโลกใต้ ได้เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับการชนในครั้งโบราณของ 2 กาแล็กซี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาตินำโดยมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ในอังกฤษ เผยว่า ได้นำวิธีการแบบใหม่มาประยุกต์ใช้พิสูจน์ลักษณะทางนิติวิทยาศาสตร์ของดาวฤกษ์ที่เรียกว่า v Indi เพื่อสำรวจประวัติศาสตร์ของทางช้างเผือก ดาวฤกษ์ v Indi ถือเป็นบันทึกซากดึกดำบรรพ์ที่จะให้คำตอบถึงสภาพแวดล้อมเมื่อก่อตัวขึ้น โดยทีมได้ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะขององค์การนาซา คือดาวเทียมเทสส์ (Transiting Exoplanet Survey Satellite-TESS) และกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินเพื่อปลดล็อกข้อมูลนี้

ทีมอธิบายว่าการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ v Indi ได้รับผลกระทบจากการชนของกาแล็กซีไกอา-เอนเซลาดัส และการชนจะต้องเกิดขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อดวงดาวก่อตัว นั่นคือวิธีที่จะสามารถใช้การสั่นกระเพื่อมบนผิวดาวฤกษ์ มาระบุอายุ ตำแหน่ง และขีดจำกัดใหม่ เมื่อเหตุการณ์ชนกับกาแล็กซีไกอา-เอนเซลาดัสเกิดขึ้น ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงเทคนิคสั่นกระเพื่อมบนผิวดาวฤกษ์ (Asteroseismology) ของดาวเทียมเทสส์ที่มีศักยภาพ.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ