ไลฟ์สไตล์

หลุยส์ที่ 14 มีพี่ชายฝาแฝดจริงหรือไม่? ใครคือนักโทษปริศนาหลังหน้ากากเหล็ก - เพจพื้นที่ให้เล่า

TOP PICK TODAY
เผยแพร่ 17 ม.ค. 2563 เวลา 17.00 น. • เพจพื้นที่ให้เล่า

ในปี 1680s ข่าวลือกระพือไกลถึงนักโทษชายสวมหน้ากากที่ไม่มีใครรู้ตัวตน ที่มา หรือความผิด รู้เพียงว่าเขาได้รับโทษหนักจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ให้สวมหน้ากากตลอดเวลา หน้ากากเหล็กถูกจัดทำเป็นพิเศษให้มีช่องเปิดได้บริเวณปากสำหรับรับประทานอาหาร เขาได้รับการดูแลเป็นอย่างดี สวมเสื้อผ้าอย่างชนชั้นสูง ถูกขังตามลำพัง และที่สำคัญเขาถูกย้ายตัวไปมาภายใต้ความดูแลของ Bénigne de Saint-Mars อดีตทหารเสือพระราชาที่ผันตัวเองมาเป็นผู้คุมเรือนจำ 

นักโทษปริศนาเสียชีวิตในปี 1703 ร่างของชายวัย 50 กว่า ว่ากันว่าถูกฝังที่สุสาน Saint-Paul ในปารีส เสื้อผ้าและข้าวของส่วนตัวถูกเผาทำลาย แม้แต่ผนังห้องขังก็ถูกขูดทำความสะอาดจนเกลี้ยงเกลา ราวกลับไม่เคยมีใครถูกคุมขังในห้องมาก่อน ชายที่ว่าเป็นใคร ทำไมทุกอย่างเกี่ยวกับเขาจึงเต็มไปด้วยม่านหมอกของความลับ? 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถือเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศส เขาเทียบตัวเองเป็นสุริยกษัตริยาธิราช (Le Roi Soleil) และปกครองครั้งเศสด้วยความรุ่งเรืองที่แฝงด้วยอำนาจเผด็จการปราศจากการตั้งคำถาม เรื่องราวของชายสวมหน้ากากเพิ่งเริ่มมาเป็นที่สนใจหลังพระเจ้าหลุยส์เสียชีวิต ตำนานแรกของชายสวมหน้ากากเชื่อกันว่าถูกสร้างโดยชาวดัชต์ระหว่างฝรั่งเศสทำสงคราม 9 ปี กับเนเธอร์แลนด์ในปี 1688-1697 โดยเล่าว่านักโทษปริศนาคือคนรักของพระนางแอนน์แห่งออสเตรีย สมเด็จแม่ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีความเชื่อว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ไม่ใช่พระบิดาที่แท้ของกษัตริย์แห่งพระอาทิตย์ เพราะทรงมีรสนิยมรักร่วมเพศไม่สนใจสตรี พระเจ้าหลุยส์ทราบความจริงข้อนี้จึงจับกุมพ่อแท้ๆ และลงโทษด้วยการบังคับให้สวมหน้ากากตลอดชีวิต เรื่องเล่านี้ถูกแพร่ไปไกลโดยมีเป้าหมายเพื่อโจมตีพระเจ้าหลุยส์ว่าไร้ความชอบธรรมในฐานะกษัตริย์ 

ในประเทศฝรั่งเศส ตัวตนของชายสวมหน้ากากมีการสันนิษฐานออกไปไกล ส่วนใหญ่เชื่อว่าเขาผู้นี้เป็นชนชั้นสูง และน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ไม่มากก็น้อย หนึ่งในผู้ต้องสงสัยรายแรก คือ Louis de Bourbon, Count of Vermandois ลูกชายนอกสมรสของพระเจ้าหลุยส์ที่14 กับชู้รัก ตามประวัติศาสตร์บอกว่า Louis de Bourbon ถูกขับออกจากราชสำนักหลังถูกจับได้ว่าเป็นพวกรักร่วมเพศ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่กำลังโกรษหนักต้องการสั่งสอนลูกชายด้วยการส่งไปรบในสงครามที่ฟลันเดอร์ (ปัจจุบันคือแคว้นที่พูดภาษาดัชต์ในประเทศเบลเยี่ยม) Louis de Bourbon ป่วยและเสียชีวิตในปี 1683 อายุเพียง 16 ปี ว่ากันว่าเขาไม่ได้เสียชีวิตจริง แต่ถูกจับขังเป็นนักโทษและปล่อยข่าวว่าเสียชีวิตเพื่อปกปิดตัวตน 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ผู้ต้องสงสัยรายที่สอง François de Bourbon, Duke of Beaufort คือญาติสนิทและศัตรูทางการเมืองของพระเจ้าหลยุส์ เขามีแนวคิดต่อต้านพระเจ้าหลุยส์อย่างแรงกล้า ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าเขาเสียชีวิตในสนามรบตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาล แต่ข่าวลือบอกว่าเขาถูกจับขังและลงโทษด้วยให้สวมหน้ากากตลอดชีวิต 

เรื่องเล่าของชายสวมหน้ากากยังเป็นปริศนาแม้เวลาผ่านมาหลายร้อยปี ในศตวรรษที่ 18 จำนวนผู้ต้องสงสัยเพิ่มขึ้นไปจนถึงข้อสันนิษฐานว่าเขาอาจเป็นน้องชายคนละพ่อ (ลูกนอกสมรสของพระนางแอนน์แห่งออสเตรีย), ชายชู้ของพระนางมารี เทเรซา - ราชินีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่ทฤษฎีที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุด คือเรื่องเล่าที่ว่าเขาผู้นี้อาจเป็นพี่ชายฝาแฝดของพระเจ้าหลุยส์เอง ทฤษฎีสมคมคิดนี้ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะชายผู้กระพือข่าวลือไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือนักเขียนและนักปรัชญาชื่อดัง วอลแตร์ (Voltaire)  

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วอลแตร์เคยถูกตัดสินจำคุกในปี 1717 เขาเล่าว่าตัวเองได้ฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับชายสวมหน้ากากจากนักโทษชรา ชายชรากล่าวถึงนักโทษปริศนาว่า “เป็นชายหนุ่มร่างสูงมีบุคลิกสง่างาม มารยาทของเขาได้รับการขัดเกล่ามาเป็นอย่างดี เขาเล่นกีตาร์และได้รับเสิร์ฟแต่อาหารที่ดีที่สุด นักโทษคนอื่นๆ ถูกกันไม่ให้เขาใกล้ มีแต่ผู้สำเร็จราชการเท่านั้นที่สามารถเข้าเยี่ยมและพูดคุยกับเขาได้”

บันทึกของวอลแตร์กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ Alexandre Dumas นักเขียนชื่อดังที่นำเรื่องของชายสวมหน้ากากมาเพิ่มสีสันกลายเป็นหนึ่งในฉากสำคัญในนวนิยายชุด “สามทหารเสือ” ซึ่งเวอร์ชั่นนี้ถูกนำมาเป็นต้นแบบของภาพยนต์ชื่อดัง The Man in the Iron Mask(1998) โดยมีแสดงชื่อดังอย่างลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ รับบทเป็น ฟิลลิป พี่ชายฝาแฝดของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 

ปัจจุบันนี้ตัวตนของชายสวมหน้ากากถูกสันนิษฐานไปมากกว่าสมาชิกราชวงศ์ มีข้อเสนอว่าเขาอาจะเป็น Nicolas Fouquet อดีตขุนนางคนสนิทที่รับผิดชอบเรื่องการเงินในสมัยต้นรัชกาล Fouquet ถูกจับในข้อหาคอรัปชั่นและเป็นกบฎ เขาถูกปลดและจำคุกตลอดชีวิต ตามประวัติศาสตร์เชื่อว่า Fouquet เสียชีวิตระหว่างรับโทษในปี 1680 ไม่มีหลักฐานว่าเรื่องนี้จริงหรือเท็จ 

ข้อคิดเห็นที่น่าจะได้รับการเชื่อถือมากที่สุดในปัจจุบัน เป็นของ Paul Sonnino ศาสตราจารย์ด้านประวิติศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียร์ 

“นักประวัติศาสตร์ส่วยใหญ่เชื่อว่าชายสวมหน้ากากไม่ได้มีชาติกำเนิดสูงส่งดังที่มีการกล่าวอ้าง แต่น่าจะเป็นผู้รับใช้ และหน้ากากที่สวมใส่ก็ไม่ใช่เหล็กอย่างที่เข้าใจ แต่เป็นหน้ากากผ้ากำมะหยี่แบบที่สตรีชั้นสูงนิยมสวมกันในศตวรรษที่ 16-17” 

Sonnino เสนอว่าชายสวมหน้ากากน่าจะเป็น Eustache Dauger ผู้รับใช้ที่ดูแลคลังสมบัติให้คาดินัล Mazarin อัครมนตรีผู้มั่งคั่งแห่งฝรั่งเศสในช่วงที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังทรงพระเยาว์ 

ว่ากันว่าทรัพย์สมบัติมหาศาลของ Mazarin เป็นเงินที่โกงมาจากอดีตพระราชาและพระราชินีแห่งอังกฤษ - พระเจ้าชาร์ลที่ 1 และพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย ช่วงนั้นอังกฤษเกิดสงครามกลางเมือง พระเจ้าชาร์ลถูกจับและสำเร็จโทษด้วยการตัดศรีษะในขณะที่พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พาครอบครัวลี้ภัยมาในฝรั่งเศส ทรัพย์สมบัติที่ว่าภายหลังตกทอดมาถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในภายหลัง เป็นไปได้ว่า Dauger เกิดไปรู้เรื่องที่ไม่สมควรเข้าจึงถูกจับกุมและบังคับไม่ให้เผยตัวตนไม่เช่นนั่นจะถูกฆ่าในทันที แน่นอนว่าเรื่องนี้ยังฟังดูไม่ตื่นเต้นเท่าเรื่องเล่าของวอลแตร์ 

“เป็นความผิดของนักประวัติศาสตร์ที่ไม่ออกมาฟันธงให้ชัดเกี่ยวกับตัวตนของชายสวมหน้ากาก พวกเขายังมองว่าเรื่องนี้ไม่มีเหตุผล อะไรคือข้อหาที่ทำให้ชายหนุ่มหนึ่งคนโดนลงโทษหนักถึง 30 ปี? บางทีประวัติศาสตร์ก็ไม่เป็นไปตามเหตุและผล มนุษย์เราสับสนและซับซ้อนกว่านั้นมาก”

.

ติดตามบทความของเพจพื้นที่ให้เล่า ได้บน LINE TODAY ทุกวันเสาร์

.

อ้างอิง

1,2,3

ความเห็น 6
  • 5009
    ถ้าเล่าสักขนาดนี้ก็คงจะจริงแล้วล่ะ แต่ประวัติศาสตร์ สอนสิ่งหนึ่งเสมอ ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ทำดีกันไว้นะครับ
    18 ม.ค. 2563 เวลา 08.18 น.
  • Pirun
    ตรวจสอบคำผิดก่อนโพสต์จะดีมากเลย
    18 ม.ค. 2563 เวลา 11.00 น.
  • SAYOM
    ต้องถามไอ้ปิ๊บูด เรื่องฝรั่งเศสนี่มันรู้ดีกว่าโคตรพ่อโคตรแม่ของมันซะอีก #ผมเพื่อนโชค™
    18 ม.ค. 2563 เวลา 08.20 น.
  • 𝕊𝔸𝕀𝔽𝔸ℍ⚡ផ្គរលាន់⚡
    แปลกที่ให้สวมหน้ากาก เพราะขนาดพวกโจรผู้ร้ายที่ถูกจับประชาชนยิ่งอยากเห็นหน้า เสียบหัวประจาน คนที่รู้คงจะเป็นคนที่ใส่หน้ากากให้? คำผิดที่คิดว่าน่าจะมาจากเพจแล้ว เช่น ครั้งเศส/โกรษ/พระเจ้าหลยุส์/ขัดเกล่า/เขาใกล้/ภาพยนต์/ศรีษะ/ส่วยใหญ่ เป็นเพราะบทความดูมีความจริงจัง เป็นเชิงประวัติศาสตร์ วิชาการ. เลยทำให้กลุ่มผู้อ่านตำหนิและเพ่งเล็งในจุดนี้เป็นพิเศษครับ ทุกคนมีส่วนร่วมชี้แจงได้
    18 ม.ค. 2563 เวลา 13.17 น.
  • THAILAND-ไทยฯอ๋อยไลน์ได้แต่ประวัติศาสตร์สอนสสี่งหนี่งสวัสดีค่ะใจทําดีกันค่ะ
    08 ก.พ. 2563 เวลา 12.00 น.
ดูทั้งหมด