ทั่วไป

ราชินีลงพระปรมาภิไธยกฎหมายข้อตกลงเบร็กซิต

Manager Online
เผยแพร่ 23 ม.ค. 2563 เวลา 16.33 น. • MGR Online

เอเอฟพี - สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในวันพฤหัสบดี(23ม.ค.) ทรงลงพระปรมาภิไธยร่างกฎหมายถอนตัวจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ(เบร็กซิต) อย่างเป็นทางการ สิ้นสุดความเกี่ยวข้องยาวนานหลายทศวรรษกับสหภาพยุโรปและเปิดทางสำหรับการมีอิสระเพิ่มเติมหลังจากสิ้นเดือนนี้ อย่างไรก็ตามสำหรับอนาคตนั้นยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

ด้วยองค์พระประมุขแห่งรัฐเห็นชอบร่างกฎหมายถอนตัวอย่างเป็นทางการ ท้ายที่สุดแล้วอังกฤษก็สามารถถอนตัวออกจากเพื่อนบ้านและพันธมิตรทางการค้าที่ใกล้ชิดที่สุด หลังจากหลายปีแห่งความยุ่งเหยิงและต้องเลื่อนการเบร็กซิตมาแล้ว 3 รอบ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คาดหมายว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอียู 2 คนในบรัสเซลส์จะลงนามในสนธิสัญญาแยกตัวอย่างเป็นทางการในวันศกร์(24ม.ค.) และนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน จะลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวหลังจากนั้นอีกไม่กี่วันข้างหน้า

"หลายต่อหลายครั้งที่เรารู้สึกว่าคงไม่อาจข้ามผ่านเส้นชัยของเบร็กซิตได้ แต่เราทำสำเร็จแล้ว" จอห์นสันกล่าว หลังจากทั้ง 2 สภาของอังกฤษให้การรับรองร่างกฎหมายถอนตัวไปเมื่อวันพุธ(22ม.ค.) "ตอนนี้เราสามารถวางความเคียดแค้นและความแตกแยกตลอด 3 ปีที่ผ่านมาไว้เบื้องหลัง และพุ่งเป้าไปที่การส่งมอบอนาคตที่สว่างไสวและน่าตื่นเต้น"

การแยกตัวในวันที่ 31 มกราคม จะเป็นการคัมแบ็กทางการเมืองอันน่าทึ่งของจอห์นสัน ในณะที่เขาเข้ามากุมบังเหียนประเทศในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคหลังสงครามของอังกฤษ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จอห์นสันถอนตัวจากรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ในปี 2018 เพื่อประท้วงสิ่งที่เขามองว่าเงื่อนไขแยกตัวต่างๆที่เอนเอียงเข้าทางยุโรปของเมย์

จากนั้นจอห์นสันก็คืนสู่เวทีอีกครั้ง ด้วยการก้าวขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งของเมย์เมื่อเดือนกรกฎาคมปีก่อน และนับตั้งแต่นั้นเขาได้ดำเนินการเจรจาข้อตกลงของเขาเองกับบรัสเซลส์ และสามารถทวงคืนเสียงข้างมากในรัฐสภาให้แก่พรรครัฐบาล ในศึกเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงเมื่อเดือนที่แล้ว

เมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม สภาสามัญชนอังกฤษลงมติ 330 ต่อ 231 เห็นชอบร่างกฎหมายว่าด้วยข้อตกลงการถอนอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Withdrawal Agreement Bill) ซึ่งรองรับการปฏิบัติตามข้อตกลงเบร็กซิตที่เห็นชอบกับอียูเมื่อปีที่แล้ว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในวันพุธ(22ม.ค.) สภาสามัญชนคว่ำร่างแก้ไขของวุฒิสภา(สภาขุนนาง) แล้วตีกลับไปยังวุฒิสภา ก่อนท้ายที่สุดแล้วทางวุฒิสภาก็ยอมอ่อนข้อ ลงมติให้การรับรอง แม้ฝ่ายไม่เห็นด้วยจะวิพากษ์วิจารณ์ว่ามันเลวร้ายสำหรับอังกฤษมากกว่าข้อตกลงของเมย์ก็ตาม

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • JO-TK
    ทรงปรีชายิ่งนัก
    23 ม.ค. 2563 เวลา 18.07 น.
  • ไม่ทราบฝ่ายที่วิจารณ์จะคิดในด้านไหนนะ! เหนื่อยนะแค่จะบอกว่า เห้ยที่มันประเทืองนี่หว่า
    23 ม.ค. 2563 เวลา 18.51 น.
  • Lavanaporn
    อ่านข่าวแล้ว ไม่มีอะไรมาก ในโลกใบนี้ ไม่ประชาธิปไตย ของจริง สักใบ ทีในโลกใบนี้ต้องการ มคิดต่างจากข้าว และคิดเห็นส่วนตัวนะ ในการแ่านเนื้อข่าว
    24 ม.ค. 2563 เวลา 02.20 น.
  • อดิสรณ์ใจดี
    แล้วแต่เขาเราไม่เกี่ยวเราก็จะปกป้องประเทศเราพระพุทธศาสนาเราก็พอสามสถาบันนี้เราต้องปกป้องให้ดีที่สุดอย่าให้มุสลิมมันมารุกรานต่อไปอีกเจอดีแน่
    24 ม.ค. 2563 เวลา 06.49 น.
  • เอฟ(ไลน์สำรอง)
    นานาจิตตัง.จิตมยุษย์ยากแท้หยั่งถึง.
    24 ม.ค. 2563 เวลา 02.17 น.
ดูทั้งหมด