ทั่วไป

เปิดเงื่อนไขค่าชดเชย กรณีเลิกจ้าง พนักงาน ซันโยฯ

NATIONTV
อัพเดต 22 ก.ค. 2562 เวลา 05.29 น. • เผยแพร่ 22 ก.ค. 2562 เวลา 05.25 น. • คมชัดลึก
เปิดเงื่อนไขค่าชดเชย กรณีเลิกจ้าง พนักงาน ซันโยฯ

เฟซบุ๊กเพจ"ทนายคู่ใจ"ได้โพสต์พูดถึงการจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้าง หลังจากที่ผู้บริหารบริษัทซันโยฯ แจ้งปิดกิจการพร้อมสั่งเลิกจ้างพนักงานอย่างกะทันหัน……

หลังจากที่ผู้บริหารบริษัทซันโย เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ และซ่อมแซมแม่พิมพ์ ชิ้นส่วนโลหะ แจ้งปิดกิจการพร้อมสั่งเลิกจ้างพนักงานทุกคน ซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป ตามที่นำเสนอข่าวไปก่อนหน้านี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เกี่ยวกับเรื่องนี้เพจ ทนายคู่ใจ ได้โพสต์พูดถึงการจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 ระบุว่า

จากกรณีข่าวดัง "ซันโย" ประกาศปิดกิจการเลิกจ้างพนักงานกะทันหัน วันนี้เลยจะมาพูดถึงการจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 ค่าชดเชยหมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

กรณีเลิกจ้างให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เลิกจ้าง ดังนี้

(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 90 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย180 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 180 วัน สุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 240 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบยี่สิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(6) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้าง หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปได้และไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6298/2545 หนังสือของนายจ้างที่มีไปยังลูกจ้างระบุว่า "เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและปัญหาค่าใช้จ่ายเกินรายได้ ทำให้บริษัทมีความจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย ไม่สามรถจ้างท่านในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่ท่านได้รับอยู่ได้ จึงขอให้ท่านลาออกจากงาน มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป โดยบริษัทยินดีจ่ายค่าชดเชยให้ท่านตามกฎหมายแรงงาน" เป็นกรณีที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้เนื่องจากเหตุอื่นใด จึงเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • BanK
    เศรษฐกิจดีจะตาย!!!!!!!!!! โถ่!!!!!
    22 ก.ค. 2562 เวลา 08.48 น.
  • Bill สุรพล
    จ่ายให้คนงาน ตามกฎหมาย บริษัทนี้ไม่น่าเบี้ยว เพราะมีเงินเยอะ
    22 ก.ค. 2562 เวลา 06.43 น.
ดูทั้งหมด