ไลฟ์สไตล์

เผยรายชื่อต้นไม้ 35 ชนิด มีประสิทธิภาพในการดักฝุ่นละออง

BLT BANGKOK
อัพเดต 23 ม.ค. 2562 เวลา 02.59 น. • เผยแพร่ 23 ม.ค. 2562 เวลา 02.52 น.

ประโยชน์ของพืชกับการบรรเทามลพิษในเมืองใหญ่ นอกจากจะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ยังเป็นตัวช่วยดูดซับสารพิษในอากาศ รวมถึงสารพิษที่ถูกปล่อยออกมาจากวัสดุที่ใช้ตกแต่งอาคารได้ 10 - 90%
โดยผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ต้นไม้เป็นสิ่งกำบังชั้นดีในการดักจับฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ โดยพืชทุกชนิดสามารถดักจับฝุ่นละอองได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ผิวใบและสิ่งปกคลุมบนผิวใบ
อ้างอิงจากงานวิจัยในหลายๆ ประเทศ พบว่า ต้นไม้ใหญ่ในเมืองโดยทั่วไป สามารถดักจับฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนได้ประมาณ 100 กรัม เช่น ต้นไม้ใหญ่ในกรุงปักกิ่งสามารถดักจับฝุ่นละอองได้ประมาณ 300 กรัมต่อปี ขณะที่ต้นไม้ที่โตเต็มที่ในประเทศเนเธอร์แลนด์สามารถดักจับฝุ่นละอองได้ถึง 1.4 กิโลกรัม ทั้งนี้ปริมาณการดักจับฝุ่นละอองจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของฝุ่นละอองด้วย
ชนิดของพืช มีผลต่อประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่น
สำหรับการคัดเลือกพืชเพื่อดักจับฝุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องยึดเกณฑ์เลือกไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่มที่ใบมีผิวหยาบ หรือมีขน ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าผิวเรียบมัน ต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบจะมีประสิทธิภาพดีกว่าไม้ผลัดใบ และพืชที่มีผิวใบโดยรวมมากกว่าจะสามารถดักจับฝุ่นละอองได้มากกว่าพืชที่มีผิวใบน้อย ดังนั้นต้นไม้ใหญ่และไม้พุ่มที่มีขนาดเล็กจำนวนมากจึงมีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละอองสูงกว่าต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่
ส่วนชนิดของใบที่เหมาะสมในการดักจับฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน จะมีลักษณะเรียวเล็ก ใบหยาบ มีขนและเหนียว และนอกจากลักษณะของใบแล้ว ลักษณะของลำต้น และกิ่งก้านที่พันกันอย่างสลับซับซ้อน ก็มีส่วนช่วยในการดักจับฝุ่นละอองได้เช่นกัน
รายชื่อ 35 พรรณพืชที่ช่วยดักจับฝุ่น
จากการศึกษาพรรณพืช 35 ชนิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่น โดยแบ่งเป็น ระดับ 1 ถึง ระดับ 5 จากประสิทธิภาพต่ำที่สุดถึงมากที่สุด พบว่า
- ระดับ 5 ยังไม่พบพืชที่มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นได้มากในระดับนี้
- ระดับ 4 ได้แก่ ทองอุไร, ตะขบฝรั่ง, เสลา, จามจุรี และแคแสด
- ระดับ 3 ได้แก่ สร้อยอินทนิล, เล็บมือนาง, กะทกรก, ไผ่รวก, แก้ว, หางนกยูงไทย, กรรณิการ์, คริสตินา, ข่อย, โมกมัน, สกุลชงโค, ตะแบก และอินทนิล
- ระดับ 2 ได้แก่ พวงชมพู, อัญชัน, พวงคราม, วงศ์ส้มกุ้ง, ฉัตรพระอินทร์, วาสนา, โมกบ้าน, สั่งทำ, โพทะเล, พฤกษ์, ขี้เหล็กเลือด, ปอกระสา, ตะลิงปลิง, ขี้เหล็กบ้าน, ชมพูพันธ์ทิพย์ และพังแหร
- ระดับ 1 ได้แก่ โมกหลวง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ ระบุว่า ประโยชน์ของพืชพรรณกับการบรรเทามลพิษสำหรับชุมชนเมืองและเมืองใหญ่ จะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ช่วยดูดซับสารพิษในอากาศ และดูดซับสารพิษที่ถูกปล่อยออกมาจากวัสดุที่ใช้ตกแต่งอาคารได้ 10 - 90% ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่เลือกใช้และช่วยกรองฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการปลูกไม้พุ่มที่มีใบเล็กละเอียดช่วยเก็บฝุ่นได้มากถึง 60 - 80% ของพุ่มทั้งหมด
ทั้งนี้หากเป็นชีวิตคนเมืองที่อยู่คอนโดหรือมีพื้นที่น้อย แนะนำให้ปลูกคริสตินา ซึ่งจะมีใบมาก และเป็นพุ่ม สามารถปลูกไว้ที่ระเบียงได้ หรือทำสวนแนวดิ่งด้วยการปลูกต้นไม้แขวนที่มีใบห้อยลงมา และปลูกให้เป็นแพก็จะช่วยได้เช่นกัน

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • ปลูกต้นไม้ก็ให้อ็อกซิเจนทั้งนั้น ที่บ้านปลูกผักสวนครัว พริก กะเพรา อย่างละ 10 กระถาง ทั้งกินทั้งแจกเลย.
    23 ม.ค. 2562 เวลา 08.20 น.
  • มีแต่ ปูน จะปลูกยังไง
    23 ม.ค. 2562 เวลา 09.26 น.
  • ☆~☆
    ในใจคิดไว้ว่า..สาธุขออย่ามีชื่อต้นตีนเป็ดนะ.เหม็นจนภูมิแพ้มาเยี่ยม55
    23 ม.ค. 2562 เวลา 14.46 น.
  • Kai
    เยี่ยม
    23 ม.ค. 2562 เวลา 14.51 น.
  • เต็ม
    วัวหายล้อมคอก ทำงานเชิงรับ ตนเป็นทีพึ่งแห่งตนใช้ได้เสมอ
    24 ม.ค. 2562 เวลา 02.52 น.
ดูทั้งหมด