ทั่วไป

กรมชลประทาน เผย 4 เขื่อนหลัก ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเหลือน้ำใช้การได้ร้อยละ22

SpringNews
เผยแพร่ 18 ม.ค. 2563 เวลา 02.14 น. • SpringNews

วันที่ 18 ม.ค. 2563 ศูนย์ปฎิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SwOC) กรมชลประทาน รายงานสรุปสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประจำวันศุกร์ที่ 17 มกราคม สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา (4 เขื่อนหลัก) มีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 10,722 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 43 (ปริมาณน้ำใช้การได้ 4,026 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 22) ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 3.91 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 28.06 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 14,149 ล้าน ลบ.ม. โดยแยกได้ดังนี้

1.เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำ 5,428 ล้าน ลบ.ม. (40 % ของความจุอ่างฯ) น้ำใช้การได้ 1,628
ล้าน ลบ.ม. ไหลลงอ่างฯ 0.10 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 7.00 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 8,034 ล้าน ลบ.ม.

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2.เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำ 4,679 ล้าน ลบ.ม. (49 % ของความจุอ่างฯ) น้ำใช้การได้ 1,829
ล้าน ลบ.ม. ไหลลงอ่างฯ 3.17 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 15.19 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 4,831 ล้าน ลบ.ม.

3.เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาณน้ำ 404 ล้าน ลบ.ม. (43% ของความจุอ่างฯ) น้ำใช้การได้ 361 ล้าน ลบ.ม. ไหลลงอ่างฯ 0.64 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 4.75 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 537 ล้าน ลบ.ม.

4.เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำ 211 ล้าน ลบ.ม. (22 % ของความจุอ่างฯ) น้ำใช้การได้ 208 ล้าน ลบ.ม. ไหลลงอ่างฯ 0.00 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 1.12 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 749 ล้าน ลบ.ม.

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งนี้ ตามแผนจัดสรรน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาฤดูแล้งปี 2562/63 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 มีความต้องการน้ำตลอดฤดูแล้งปี 2562/63 จำนวน 5,434 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็นแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้ง พ.ย.62 – เม.ย.63 จำนวน 4,000 ล้าน ลบ.ม. (ผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง 500 ล้าน ลบ.ม.) และสำรองต้นฤดูฝนปี 2563 จำนวน 2,284 ล้าน ลบ.ม. (ผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง 350 ล้าน ลบ.ม.)

ในปัจจุบัน( 17 ม.ค. 63) จัดสรรน้ำตามแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้ง (4,000 ล้าน ลบ.ม.) ไปแล้ว 2,124 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 53 ของแผน ทั้งนี้เนื่องจากสภาพน้ำต้นทุนมีจำกัด ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และปฏิบัติตามแผน อย่างเคร่งครัดเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สถานการณ์ความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา (ณ วันที่ 17 ม.ค. 63)
สถานีประปาสำแล ค่าความเค็ม 0.20 กรัม/ลิตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ
สถานีท่าน้ำนนท์ ค่าความเค็ม 2.39 กรัม/ลิตร สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
สถานีกรมชลประทานสามเสน ค่าความเค็ม 2.74 กรัม/ลิตร สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
(ค่าความเค็มของน้ำสำหรับการเกษตรไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร และ ส้าหรับการผลิตน้ำประปาไม่เกิน 0.50 กรัม/ลิตร)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 24
  • Wittaya 7148 🤣🤣🤣
    ทุกปีปัญหาแบบนี้ ยามฝนล้นทิ้ง พอหมดฝนบอกว่าน้ำเหลือน้อย
    18 ม.ค. 2563 เวลา 03.17 น.
  • Preechalucky
    ก็พวกมึงบริหารน้ำผิดมาตลอด สากจริง
    18 ม.ค. 2563 เวลา 03.15 น.
  • Tu..Tu...ตู้
    ทำไมไม่ทำฝนหลวง รอให้น้ำแห้งก่อนถึงค่อยคิดเหรอ
    18 ม.ค. 2563 เวลา 03.18 น.
  • มะเดี่ยว
    ตัดไม้ทำลายป่าเข้าไป ห่วงแต่ความเจริญด้านวัตถุ แต่ลืมนึกถึงรากเง้าภูมิลำเนาประเทศตัวเอง จะเจริญตามต่างชาติทำไม ในเมื่อการศึกษากับสามัญสำนึกยังไม่รู้จักพัฒนา
    18 ม.ค. 2563 เวลา 03.36 น.
  • chanin IETL-1
    จะสร้าง​เขื่อนเก็บน้ำก็มีแค่คนคัดค้าน​ ประเทศ​เรามันตลก​ เมื่อ​ 4 เดือนทีืแล้วทำเรื่องน้ำท่วม​ วันนี้น้ำแล้ง ไม่มีใครรักประเทศจริงๆ​ทุกคนไม่กล้ากับการต้องสู้​กับ​ NGO ที่รับเงินมาต่อต้าน​ ชาวนาก็น่าสงสารและน่าสมน้ำหน้า​ฝนตกเยอะก็ท่วม​ฝนขาดก็แล้งเขาเอาเงินมาให้​2,000​ มาชวนไปประท้วงก็ไปกับเขาลืความจนที่มีมาทั้งชีวิต​ ลองบอกสิเขื่อนที่สร้างมามีแห่งไหนที่ทำลารธรรมชาติบ้างสร้างแต่ความสมบูรณ์​และเศรษฐกิจ​ ไม่ที่เขาตัดคือในอ่างไม่ใช่ต้นน้ำคนเก่งบ้านเราไปช่วยลาวสร้าง​เขื่อน​หมดเพราะบ้ารเราทำไม่ได้​ 555
    18 ม.ค. 2563 เวลา 03.27 น.
ดูทั้งหมด