ไอที ธุรกิจ

นศ. ปี 4 แบ่งเบาภาระพ่อแม่ เปิดร้านยำออนไลน์ ส่งดีลิเวอรี่ หาค่าขนมระหว่างเรียน

เส้นทางเศรษฐี
อัพเดต 20 ส.ค. 2562 เวลา 10.14 น. • เผยแพร่ 20 ส.ค. 2562 เวลา 08.57 น.

นศ. ปี 4 แบ่งเบาภาระพ่อแม่ เปิดร้านยำออนไลน์ ส่งดีลิเวอรี่ หาค่าขนมระหว่างเรียน

เพราะอยากหารายได้ระหว่างเรียน ทำให้ น้องจิ้ว-ธนัชพร รัตนชมภู วัย 22 ปี นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดร้านยำออนไลน์ ธุรกิจเล็กๆ ที่เพิ่งเปิดตัวได้เพียง 2 เดือน เป็นของตัวเอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นักศึกษาสาวปี 4 เล่าให้ฟังว่า อยากทำธุรกิจเป็นของตัวเองมานานแล้ว เพราะอยากมีรายได้ระหว่างเรียน เป็นค่าขนมเล็กๆ ที่หาได้ด้วยตัวเอง เธอเลือกเปิดร้านยำ เพราะกำลังเป็นเทรนด์ของกินที่กำลังมาแรงมากๆ ในตอนนี้ อีกทั้งยังมีฝีมือการยำรสเลิศ ที่ได้รับการยืนยันจากเพื่อนๆ แล้วว่า อร่อย ทำให้เธอตัดสินใจเปิดร้านยำออนไลน์ “ยำลูกอีดอก” ซึ่งชื่อนี้มาจาก บุคลิกของเธอที่เป็นคนแรงๆ อีกทั้งชื่อนี้ยังสะท้อนถึงความร้อนแรงของยำ

“ถ้าเปิดหน้าร้าน ต้องใช้เงินทุนสูงในการเช่าพื้นที่ เลยอยากลองทดลองตลาดด้วยการขายออนไลน์ ที่สำคัญ ยังเรียนอยู่กลัวว่าเปิดหน้าร้านแล้วจะไม่มีเวลา และขายออนไลน์ก็มีข้อดีเหมือนกัน คือ สะดวกกับลูกค้าในการสั่งออร์เดอร์ ไม่ต้องเสียค่าเช่าหน้าร้าน ช่วยเซฟเงินไปได้มาก” น้องจิ้ว บอกถึงเหตุผลของการเปิดร้านยำออนไลน์

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อมีแนวคิด สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือ ลงมือทำ เธอใช้เงินเก็บที่ได้จากค่าขนมหลักพันบาท เป็นเงินทุนก้อนแรกซื้อวัตถุดิบคุณภาพ และใช้ทักษะด้านนิเทศศาสตร์ ทำคอนเทนต์ร้านยำออนไลน์ออกมาได้อย่างลงตัว

โดยจุดเด่นของร้านยำลูกอีดอก อยู่ที่ ปลาร้า วัตถุดิบหลักที่ต้องบอกว่าขาดไม่ได้สำหรับเมนูยำ น้องจิ้ว เล่าว่า ทำปลาร้าเอง โดยได้สูตรมาจากคุณแม่ คือ ใส่ผลไม้รสเปรี้ยวลงไป เช่น สับปะรด หรือ ตะลิงปลิง ช่วยดับกลิ่นคาว และยังเพิ่มความหอมให้น้ำปลาร้า แตกต่างจากร้านอื่น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปรุงเข้ากับสูตรยำของตัวเองที่ศึกษาจากอินเตอร์เน็ต ได้ 6 เมนู รสชาติแซ่บเหมือนชื่อร้าน คือ ยำหมูยอ/ยำไส้กรอก ราคา 80 บาท ยำหมูยอไข่เค็ม 100 บาท ยำปลาหมึก 140 บาท ยำกุ้งสด 150 บาท และยำรวมมิตร 300 บาท

เพื่อให้ลูกค้าได้กินยำที่สดใหม่ทุกวัน สมราคา น้องจิ้วจึงเปิดรับออร์เดอร์วันจันทร์ พุธ และศุกร์ เท่านั้น และจัดส่งในวันถัดไป เธอบอกว่า ช่วงเช้าจะไปเรียน เลิกประมาณบ่ายสอง เป็นเวลาตลาดเปิดพอดี ซื้อวัตถุดิบ และจะรีบกลับมาทำยำตามออร์เดอร์ที่ลูกค้าสั่งทันที การจัดส่งนั้นทางร้านใช้บริการรับ-ส่งของจากแอพพลิเคชั่น แกร็บ (Grab)

ปัจจุบันออร์เดอร์ยังไม่เยอะมาก ประมาณวันละ 20 กล่อง เธอบอกว่า รายได้จากออร์เดอร์นี้เพียงพอเป็นค่าขนมระหว่างเรียน และหากกระแสดีขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้น เธอตั้งใจอยากเปิดหน้าร้านจริงจัง หากเรียนจบแล้วก็ยังจะขายต่อ

สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ เฟซบุ๊ก ยำลูกอีดอก 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 11
  • pinthong c.
    สีสันรสชาติคงจะจี๊ดจ๊าดน่าดูชม แต่ตั้งชื่อร้านแรงอ่ะ น่าจะตั้งชื่อร้านว่า ร้าน"ยำลูกขยัน"
    21 ส.ค. 2562 เวลา 18.21 น.
  • Rojer
    นี่สิ net idol
    21 ส.ค. 2562 เวลา 17.20 น.
  • ส่งออนไลน์ ไม่บูดหรอ ?
    21 ส.ค. 2562 เวลา 16.58 น.
  • dang
    ใช้คำผวน ร้านยำลูกดีออก ความหมายเดียวกัน
    21 ส.ค. 2562 เวลา 16.51 น.
  • 🦄🐸💚lida💚🐸🦄
    แพงอยู่นะแก
    21 ส.ค. 2562 เวลา 16.51 น.
ดูทั้งหมด