ทั่วไป

‘โรคหัด’ อันตรายที่ควรระวัง หลังระบาดหนักใน’ญี่ปุ่น’

BRIGHTTV.CO.TH
อัพเดต 19 มี.ค. เวลา 12.14 น. • เผยแพร่ 19 มี.ค. เวลา 03.24 น. • Bright Today

ใครมีแพลนไป ‘ญี่ปุ่น’ ควรระวัง ‘โรคหัด’ กำลังระบาดหนัก หลังเชื้อจาก ‘สเตรปโตคอคคัส’ แพร่กระจายจากคนสู่คน

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2567 มีการออกมาประกาศเตือนผ่านทางหน้าเพจเฟซบุ๊ก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา タイ王国大阪総領事館 การแพร่ระบาดของโรคหัด (Measles) ในภูมิภาคคันไซ โดยระบุข้อมูลเอาไว้ว่า ญี่ปุ่นได้ควบคุมโรคหัดให้หมดไปตั้งแต่ปี 2558 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 ทางการญี่ปุ่นได้พบว่า มีผู้โดยสารการบิน Etihad เที่ยวบิน EY 830 จากกรุงอาบูดาบี สู่นครโอซากา เมื่อวันที่ 24 ก.พ.67 ติดเชื้อโรคหัด

จึงได้ออกประกาศตำเตือนให้ผู้โดยสารเที่ยวบินดังกล่าว ที่เดินทางไปสนามบินคันไซ ในวันดังกล่าวเฝ้าสังเกตตนเองหากมีอาการ เช่น ไข้สูงกว่า 39 องศา ไอ น้ำมูกไหลและผื่น ให้รีบพบแพทย์โดยทันที และต้องสวมหน้ากากอนามัยและหลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากนี้มีรายงานระบุว่า ล่าสุดนครโอซากายืนยันว่ามีผู้ติดเชื้อโรคหัดในจังหวัด รวม 2 คน และสื่อญี่ปุ่นรายงานยอดรวมผู้ติดเชื้อหัดในญี่ปุ่นรวม 8 คน ทั้งในภูมิภาคคันไซและภูมิภาคอื่น ๆ เช่น นครโอซากา ในจังหวัดเกียวโต จังหวัด ไอจิ จังหวัดกิฟุ และกรุงโตเกียว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแพร่ระบาดที่เริ่มขยายวงออกไปเรื่อยๆ

อาการของโรคหัด

โรคหัด เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Rubeola Virus เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย โดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่อากาศจากการไอจามของผู้ป่วยหรือจากการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง เชื้อไวรัสหัดสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึงสองชั่วโมงในอากาศหรือบนพื้นผิวสิ่งของที่มือของผู้ป่วยที่มีเชื้อติดอยู่สัมผัส

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • อาการโรคหัด

อาการของโรคหัดมักมีไข้สูงและมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูก, ไอ, ตาแดง และพบจุดสีเทาขาวบริเวณกระพุ้งแก้มตรงข้ามกับฟันกรามซี่ใน โดยจะขึ้นในช่วง 2-3 วัน ที่เป็นโรคหลังจากนั้นจะหายไป นอกจากนี้จะมีผื่นเป็นปื้นสีแดงซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัดขึ้น หลังจากเป็นไข้แล้ว 3-4 วัน โดยผื่นจะขึ้นจากบริเวณไรผม มาที่หน้า, ลำตัว, แขน และลงมาที่ขา แต่เมื่อใดที่ผื่นเหล่านี้ลงมาถึงบริเวณเท้าแล้วไข้ก็จะหายไป

  • ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในโรคหัด คืออะไร?

แม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายจากโรคได้เองและเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย แต่ก็อาจพบภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น โรคปอดอักเสบติดเชื้อ, โรคอุจจาระร่วง, หูชั้นกลาง ซึ่งจะพบได้ในเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคขาดสารอาหาร โดยมักพบในระยะหลังของโรค ซึ่งไข้เริ่มทุเลาลงแล้ว

  • ติดต่อได้อย่างไร ?

เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และติดต่อเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไปก็ทำให้เป็นโรคได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • วิธีป้องกัดโรคหัด

การป้องกันโรคหัดสามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีน สำหรับเด็กโดยทั่วไปจะได้รับวัคซีน 2 เข็ม เป็นวัคซีนรวมโรคหัด หัดเยอรมัน, คางทูม เข็มแรกจะฉีดตอนอายุ 9-12 เดือน เข็มที่สองจะฉีดตอนอายุ 2 ขวบ – 2 ขวบครึ่ง สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันสามารถรับวัคซีนได้ 2 เข็ม โดยเว้นช่วงการรับวัคซีนแต่ละรอบให้ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน อย่างไรก็ตาม วัคซีนป้องกันโรคหัดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น มีไข้ หรือมีอาการผื่นขึ้นคล้ายผื่นโรคหัดและหายไปเอง

อาการหัด

สำหรับใครที่กำลังเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ขอให้ระมัดรังตัวเองเอาไว้ให้ และคอยสวมหน้ากากอนามัยขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะหรืออยู่ในที่ชุมชน โดยเฉพาะการล้างมือ สังเกตอาการของตนเอง ถ้าหากมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยทันที

ดูข่าวต้นฉบับ