ภูมิภาค

รพ.สุรินทร์ จับมือนวัตกรรมสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี ม.ขอนแก่น พัฒนาศักยภาพการดูแลรักษามะเร็งท่อน้ำดี พยาธิใบไม้ตับในจังหวัด

สยามรัฐ
อัพเดต 02 พ.ค. 2567 เวลา 13.05 น. • เผยแพร่ 02 พ.ค. 2567 เวลา 13.05 น.

วันนี้( 2 พฤษภาคม 2567 ) ที่ห้องประชุมกุญชรศุภศรี ชั้น 9 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย โรงพยาบาสุรินทร์ นายวสันต์ ชิงชนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลรักษามะเร็งท่อน้ำดี ในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งโรงพยาบาลสุรินทร์ และสานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับ สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์มะเร็งท่อน้ำดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (NCI), สมาคมศัลยศาสตร์ตับ ตับอ่อน และทางเดินน้ำดีแห่งประเทศไทย (THPBA) และ มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี ร่วมกันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 4 พฤษภาคม 2567

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในการนี้ได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) การพัฒนาศักยภาพการดูแลรักษามะเร็งท่อน้ำดี ในจังหวัดสุรินทร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี นำโดย ผศ.ดร.นพ.อรรถพล ติตะปัญ รองผู้อำนวยการสถาบันฯ และโรงพยาบาลจังหวัดสุรินทร์ โดย นพ.ชวมัย สืบนุการณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ โดย นายวสันต์ ชิงชนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และ นพ.สินชัย ตันติรัตนานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรทุกภาคส่วนและประชาชนมีความเข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับอันตรายของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ยกระดับศักยภาพเจ้าหน้าที่และหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี รวมทั้งสร้างเครือข่ายการแก้ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีจากทุกภาคส่วน ซึ่งการดำเนินทั้งหมด 4 วัน โดยเริ่มจากการตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับด้วยการใช้ชุดตรวจชนิดเร็ว OV-RDT เป็นการใช้วิธีการตรวจหาสารคัดหลั่งของพยาธิใบไม้ตับที่ปนออกมาทางปัสสาวะ ที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดที่คิดค้นโดยสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้นำมาตรวจตรวจหาพยาธิใบไม้ตับ และการตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยอัลตราซาวด์แก่ประชาชนชาวสุรินทร์ การเสวนาทางวิชาการ และมีการบรรยายทางวิชาการพัฒนาศักยภาพการดูแลรักษามะเร็งท่อน้าดี วันที่ 3 พฤษภาคม จะเป็นการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี และติดตามอาการอีกด้วย

นพ.สินชัย ตันติรัตนานนท์ นายแพทย์ สสจ. กล่าวว่า มะเร็งท่อน้ำดีเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของชาวไทยกว่าปีละ 20,000 รายต่อปี และ จังหวัดสุรินทร์ มีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจพบติดพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 25.78% และสงสัยเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ร้อยละ 2 % หรืออาจเพิ่มขึ้น 2-3 ร้อยคน ซึ่งมีการค้นพบมากขึ้นเนื่องจากศักยภาพในการค้นหาที่มีมากขึ้น ความร่วมมือนี้จะพัฒนากระบวนการตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เพื่อค้นหาความผิดปกติในระยะเริ่มแรก ซึ่งปัจจุบันอยากให้มีการนำผู้ป่วยมาเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันท่วงทีในระยะเริ่มแรกให้มากที่สุด รวมถึงการพัฒนาระบบการส่งต่อรักษา พร้อมกับการพัฒนาศักยภาพด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีของโรงพยาบาลสุรินทร์

ผศ.ดร.นพ.อรรถพล ติตะปัญ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในบทบาทด้านการวิจัยรักษามะเร็งท่อน้ำดีที่เป็นอัตราการเสียชีวิตสูงสุดของประชากรเพศชาย ปัจจุบันการรักษาที่ดีที่สุดยังเป็นวิธีการผ่าตัด ที่จะต้องเอาเนื้อมะเร็งออกให้หมด อัตราการรอดของผู้ป่วยจึงจะดี คือสามารถอยู่ได้มากกว่า 5 ปีถ้าค้นพบในระเริ่มต้นที่ตอนนี้วิธีดีสุดคือการอัลตราซาวด์ พัฒนาขีดความสามารถของการผ่าตัด การให้เคมีบำบัดด้วย โดยปัจจุบันโรงพยาบาลสุรินทร์ก็มีความพร้อมทั้งบุคคลากรและสถานที่

นพ.ชวมัย สืบนุการณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ กล่าวด้วยว่า การทำ MOU ด้วยความร่วมมืออย่างยั่งยืนนี้ โรงพยาบาลสุรินทร์มีศักยภาพดำเนินการได้เต็มร้อย เรียกว่าเป็นศูนย์การผ่าตัดดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีอย่างครบวงจร ส่วนหนึ่งก็ได้รับศักยภาพมาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น อีกนวัตกรรมการตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับด้วยการใช้ชุดตรวจชนิดเร็ว จากการค้นพบและพัฒนาของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะทำให้ผู้ตรวจมีความสะดวกขึ้น ที่สำคัญทำให้การแพทย์มีการตรวจได้ครอบคุลมขึ้น ซึ่งเป็นการตรวจที่ได้ผลดีและน่าพอใจมาแล้วกับประชากรกลุ่มเสี่ยงในภาคอีสานตอนบน

ดูข่าวต้นฉบับ