'ภาพยนตร์-ซีรีย์' ถือเป็นกิจกรรมที่หลายคนมักจะใช้เวลาอยู่กับสิ่งนี้เป็นเวลานาน เนื่องด้วยเนื้อหา บทบาท และการถ่ายทอดอารมณ์ผ่านตัวนักแสดงได้อย่างยอดเยี่ยม จนทำให้ผู้ชมเข้าถึงสิ่งที่ผู้สร้างได้กำหนดอย่างง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ฉาก, อารมณ์, และรูปแบบ ฯลฯ แต่ที่เห็นได้อย่างชัดเจนและอาจจำแนกผู้ที่ชื่นชอบได้นั้นก็คือประเภทของภาพยนตร์
ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาพยนตร์,ซีรีย์ หรือละคร ก็ล้วนมีการจำแนกผู้ชมแบบเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นแนวแอคชั่น,ผจญภัย,สงคราม,ดราม่า,โรแมนติก หรือระทึกขวัญ-สยองขวัญ ฯลฯ
ทั้งนี้ประเภทของภาพยนตร์,ซีรีย์ ก็ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกถึงการกำหนดผู้ชม ซึ่งถ้าเนื้อหามีความน่าสนใจและอยู่ในกระแสสังคม ทุกคนก็ล้วนเข้าถึง แต่ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมดุลยพินิจการรับชม
จากกระแสซีรีส์ Squid Game มีคนดูสูงที่สุดใน 90 ประเทศบน Netflix ใน 10 วันแรกหลังเริ่มสตรีม ถึงแม้ในฉากบางจะมีความรุนแรง การแข่งขัน และการแย่งชิง แต่ยังแฝงไปด้วยวัฒนธรรม-การละเล่นของเกาหลีใต้ ซึ่งถึงเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่แฟนซีรีย์มักได้เห็นกัน
ความร้อนแรง Squid Game ในไทยก็ไม่แพ้ชาติอื่น เพราะโลกออนไลน์ก็ต่างอัดคลิป สวมชุดคล้ายคลึงในซีรีย์พร้อมสมบทบาทของตัวละคร แต่มาในมุมน่ารักเรียกเสียงหัวเราะ
แต่ทว่าเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านรองโฆษก ตร.ได้ออกโรงเตือนผู้รับชมซีรีย์ถึงการเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรง เนื่องด้วยมีฉากการฆ่าผู้อื่น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเลียนแบบ จนอาจเกิดเป็นอาชญากรรมที่ส่งผลต่อชีวิตและร่างกาย จุดนี้เองได้กลายประเด็นร้อนระอุเพราะในต่างแดนได้ยกให้เป็นซีรีย์ที่มีการเผยแพร่วัฒนธรรมสู่สายตาชาวโลก
แล้วทำไมต้องเตือนถึงพฤติกรรมความรุนแรงที่เลียนแบบหนัง ?
LINE TODAY จึงหยิบ 3 คดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในไทย โดยผู้ต้องหาใช้วลีอ้าง "ที่ลงมือก่อเหตุนั้นเพราะทำเลียนแบบหนังที่ดูมา" ถึงจะเป็นข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้น แต่ 'ภาพยนตร์-ซีรีย์' จะเป็นชนวนเหตุที่สามารถจุดความโหดร้ายในตัวได้จริงเหรอ ?
'เปรี้ยว ฆ่าหั่นศพ'
เริ่มด้วยคดีที่สะเทือนขวัญ 'เปรี้ยว ฆ่าหั่นศพ' ก่อเหตุปี 2560 ซึ่งในช่วงเวลานั้นสื่อทุกแขนงต่างเสนอข่าวกันรายวันตั้งแต่วันเกิดเหตุจนถึงวันที่สามารถควบคุมตัวได้ ซึ่งปมเหตุเกิดจากมีปัญหาหนี้สินเก่ากับผู้ตาย รวมถึงคดียาเสพติด ต่อมาเจ้าหน้าที่ขยายผลถึงตน จนอดีตสามีถูกจับ จึงวางแผนอุ้มไปสั่งสอน แต่พลั้งมือจนเกิดเสียชีวิต จึงได้ทำการลงมือ ลงมือหั่นร่างจนขาดและนำไปฝั่งเพื่ออำพรางศพ
แต่ทว่าทางโลกออนไลน์ในช่วงนั้นได้เข้าไปสืบค้นเฟซบุ๊กส่วนตัวของเปรี้ยว จนทำให้ต้องขนลุกเพราะก่อนวันเกิดเหตุเพียง 10 วัน เจ้าตัวได้ใช้ภาพโปรไฟล์และหน้าปก ได้ใช้เป็นภาพตุ๊กตาชัคกี้จากภาพยนตร์แค้นฝังหุ่น ซึ่งที่มีเนื้อหาความรุนแรง แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ว่าจะออกมากี่ภาคก็ได้รับความนิยมเสมอ
โดยทางพี่สาวเปรี้ยวยอมรับว่า น้องสาวชอบดูหนังแนวฆาตกรรมด้วย จึงเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของคดีเลียนแบบหนัง
บังฟัต สังหารโหดยกครัว'
เหตุการณ์สะเทือนขวัญเกิดขึ้นปี 2560 เช่นกัน นับเป็นคดีที่มีความโหดร้ายเป็นอย่างมากซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ จ.กระบี่ สาเหตุแค้นฝังใจเกิดจากเรื่องที่ดิน ที่ผู้ตายนำไปจำนองกับผู้ต้องหา แต่กลับเอาไปจำนองต่อกับธนาคาร โดยที่เจ้าของเดิมไม่รู้ เมื่อเอาเงินไปไถ่ถอนเรียบร้อยแทนที่จะคืนใบโฉนดให้กลับไม่ดำเนินการ จึงก่อเหตุฆ่ายกครัว 8 ศพ เหตุการณ์ในครั้งนั้นสามารถจับกุมได้ทั้งหมด 8 คน และคำให้การของ 'บังฟัต' ก็ต้องทำให้หลายคนได้อึ้งเพราะเจ้าตัวเล่าว่า
“ปกติชอบดูภาพยนตร์แนวสืบสวนสอบสวน ฆาตกรรม จึงได้นำพล็อตคนร้ายในภาพยนตร์ต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ในการก่อเหตุครั้งนี้ และการวางแผนหลบเลี่ยงกล้องวงจรปิดตามเส้นทางต่างๆ ”
'ฆ่าโหดสาวโรงงาน'
นอกจากภาพยนตร์แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่มักพบเป็นแรงจูงใจในการก่อเหตุสะเทือนขวัญนั้นคือ 'เกม' ที่มีเนื้อหารุนแรง ซึ่งวิดีโอเกมนั้นเปรียบเสมือนตัวเราได้สวมบทบาทและทำในสิ่งที่ในชีวิตจริงทำไม่ได้ แต่กลับกันถ้าเรานำพฤติกรรมในวิดีโอเกมมาใช้ในชีวิตจริง สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือความผิดที่จะติดตัว
ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เมื่อหนุ่มวัย 18 ปี ได้ก่อเหตุฆ่าทุบหัวหญิงวัย 40 ปี ซึ่งขณะนั้นผู้ก่อเหตุได้พยายามข่มขื่นแต่ไม่สำเร็จ ได้คว้าหินมาทุบหัวก่อนหลบหนีไป จากการให้ปากคำผู้ก่อเหตุเล่าว่าพฤติกรรมที่โหดร้ายนั้นจำมาจากเกมที่ตัวเองเล่น จึงได้นำวิธีการดังกล่าวมาใช้กับผู้ตาย
'ภาพยนตร์-ซีรีย์' ส่งผลถึงพฤติกรรมเลียนแบบ ?
ทั้ง 3 คดีในข้างต้นล้วนอ้างพฤติกรรมความรุนแรงที่นำมาก่อเหตุนั้น ส่วนหนึ่งนำมาจากภาพยนตร์-ซีรีย์ รวมถึงเกม ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเรียกว่า 'Copycat crime' หรือ อาชญากรรมเลียนแบบ โดยได้รับพฤติกรรมความรุนแรงจากสื่อที่มากเกินไป จนซึมซับและเกิดแรงบันดาลใจมาจากอาชญากรที่ได้รับชมแล้วนำไปก่อเหตุ ซึ่งจากผลวิจัยพบว่าอาชญากรมีความต้องการที่จะมีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่จดจำ เลยพยายามเลียนแบบเหตุการณ์ร้ายที่เคยเกิดขึ้นไม่ว่าจาก ข่าว ภาพยนตร์ ซีรีย์ เกม ฯลฯ
แต่ทว่าบุคคลผู้นั้นก็สามารถที่จะหลุดพ้น Copycat crime ได้เช่นกันโดยเริ่มได้จากการลดเสพสื่อที่มีความรุนแรง และหากิจกรรมคลายเครียดเพื่อเป็นการดูแลตัวเองและสุขภาพจิต รวมถึงหมั่นสังเกตตัวเองถ้าพบว่ามีพฤติกรรมที่รุนแรง,โมโหง่าย ควรรีบเปลี่ยนแปลงเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
'ดังนั้นการรับชมภาพยนตร์-ซีรีย์ ที่มีเนื้อหาสุ่มเสี่ยงความรุนแรงก็สามารถทำให้ผู้รับชมมีพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้นได้เช่นกันและขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจ ภาวะอารมณ์ รวมถึงความเครียดที่สะสมของแต่ละบุคคล แต่ก็ยังเชื่อว่าผู้รับชมสามารถแยกแยะความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ได้อย่างแน่นอน'
อ้างอิง
pontid เอาถุงดำคลุมหัว ท่านได้เเต่ไดมา
16 ต.ค. 2564 เวลา 05.40 น.
เมธาวีร์♥️🌷🌳 พวกที่ปฏิเสธความจริง เขากำลังเถียงว่า แยกแยะได้ ไม่เกี่ยวกับเกม หนัง ละคร
16 ต.ค. 2564 เวลา 05.15 น.
Rapeephat K. หนังบางระจัน ยังไม่ล้าสมัยครับพี่น้อง!
16 ต.ค. 2564 เวลา 04.52 น.
Never Give Up สิ่งล่อแหลมลมตอนนี้เยอะมากทั้งความรุนแรง,ฆาตกรรมจนถึงเรื่องเพศแต่ห้ามไปก็เท่านั้นจะโดนหาว่าปิดกั้นการมองเห็น
16 ต.ค. 2564 เวลา 06.01 น.
Pojsible ดูหนังเป็นล้านคน เกิดสร้างฆาตรกรต่อเนื่องมาสักหนึ่งคน ฆ่าคนเป็นสิบ ใครจะรับได้.. ยิ่งบางเรื่องสร้างซะแบบให้ความรู้ การวางแผน การจัดการศพ การฆ่าแบบแนบเนียน ก็เกินไปคุณ
16 ต.ค. 2564 เวลา 16.25 น.
ดูทั้งหมด