ทั่วไป

มนุษย์เงินเดือนต้องรู้! 6 เงื่อนไขถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับเงินทดแทน

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์
อัพเดต 21 ก.พ. 2566 เวลา 01.32 น. • เผยแพร่ 21 ก.พ. 2566 เวลา 08.24 น.

มนุษย์เงินเดือนต้องรู้! 6 เงื่อนไขถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับเงินทดแทน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ประกันสังคม อัปเดต 6 เงื่อนไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กรณี ผู้ประกันตน มาตรา 33 ถูกนายจ้าง เลิกจ้าง และจะไม่สามารถรับสิทธิชดเชยหรือเงินทดแทนใดๆได้ ตามกรณีดังต่อไปนี้

1.ทุจริตทำผิดกฎหมาย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หากลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่น ลูกจ้างกระทำการโกงเงิน ยักยอกเงิน หรือแสวงหาผลประโยชน์จากบริษัทเพื่อไปเป็นของตัวเอง

2.จงใจทำให้บริษัทฯ เสียหาย

ลูกจ้างทำโดยความตั้งใจ หรือเจตนาที่จะสร้างความเสียหายให้กับนายจ้าง หรือบริษัท ถือว่าเข้าข่ายกระทำความผิดโดยบริษัทสามารถเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

3.ฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรง

การทำงานย่อมมีกฎระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งจากนายจ้างที่ต้องถือเป็นข้อถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนหรือทำผิดระเบียบอย่างร้ายแรง หรือกระทำความผิดซ้ำๆ แม้ได้รับจดหมายตักเตือนแล้ว

4.ไม่มาทำงานติดต่อกัน 7 วัน

ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งลา ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าติดต่อไม่ได้ต่อเนื่อง 7 วัน และทำให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหาย และไม่มีเหตุผลอธิบายการละทิ้งหน้าที่อย่างสมเหตุสมผลมากพอ

5.ประมาทเลินเล่อ

การกระทําการใดๆ โดยปราศจากความระมัดระวัง หรือละเลยในสิ่งที่ควรกระทํา ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

6.ติดคุกและต้องโทษคดี

ลูกจ้างที่กระทำความผิดและถูกศาลพิพากษาให้รับโทษจำคุก นายจ้างมีสิทธิให้ออกจากงานได้ทันที และลูกจ้างไม่สามารถเรียกร้องขอค่าชดเชยหรือเงินทดแทนต่างๆ ได้

สำหรับ เงินทดแทนกรณีว่างงาน ประกันสังคม คือ สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้างหรือลาออก โดยผู้ประกันตนต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนว่างงานผ่านระบบของ กรมการจัดหางาน (คลิก) และมีคุณสมบัติครบถ้วนตรงจามข้อกำหนดถึงจะได้รับสิทธิ

ซึ่งการถูกเลิกจ้าง หรือให้ออกจากงานอาจเป็นสิ่งที่หลายๆคน ไม่อยากให้เกิดขึ้น ยิ่งกรณีที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า อาจยิ่งทำให้ลำบาก ยิ่งการออกโดยมีความผิดติดตัว นอกจากจะเสียโอกาสดีๆแล้ว ยังเสียโอกาสในการรับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆด้วย

ผู้ประกันตน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ดูข่าวต้นฉบับ