ทั่วไป

“สมาคมลูกจ้างส่วนราชการฯ”ทวงคืนภารโรง รร.สังกัดสพฐ. ชี้ครูมีภาระทำความสะอาด ส่งผลกระทบการสอน

Khaosod
อัพเดต 18 ก.ค. 2565 เวลา 09.55 น. • เผยแพร่ 18 ก.ค. 2565 เวลา 09.10 น.
“สมาคมลูกจ้างส่วนราชการฯ”ทวงคืนภารโรง รร.สังกัดสพฐ. ชี้ครูมีภาระทำความสะอาด ส่งผลกระทบการสอน

“สมาคมลูกจ้างส่วนราชการฯ” ร้อง“ชวน”ทวงคืนภารโรง รร.สังกัดสพฐ. ชี้ครูมีภาระทำความสะอาด ลดประสิทธิภาพการเรียนการสอน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

วันที่ 18 ก.ค.65 ที่รัฐสภา นายวิชาญ ชัยชมพู นายกสมาคมลูกจ้างส่วนราชการการศึกษา เข้ายื่นหนังสือเรื่องขอตำแหน่งภารโรงคืนให้สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) ในรูปแบบการจ้างเป็นพนักงานราชการ ชื่อตำแหน่งพนักงานบริการ ถึงนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมี นพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาฯ รับหนังสือแทน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายวิชาญ กล่าวว่า ในปี 2548 ครม.มีมติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐ โดยให้ยุบเลิกตำแหน่งลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการ ลาออกจากราชการ และเสียชีวิต จึงทำให้โรงเรียนสังกัด สพฐ. ไม่มีลูกจ้างประจำ ทำให้ขาดบุคลากรที่ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการศึกษา ก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการศึกษาหลายประการตามมา และทำให้การจัดการศึกษาไม่มีคุณภาพตามที่สังคมคาดหวัง และมีผลกระทบต่อสถานศึกษา

ได้แก่ คุณภาพการศึกษาของนักเรียนลดลง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เนื่องจากครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษามีภาระบริหารจัดการเพิ่มขึ้น นักเรียนขาดความมั่นใจ ขาดความปลอดภัยในการไป-กลับโรงเรียน และขณะอยู่ในโรงเรียน ในกรณีที่โรงเรียนอยู่ห่างไกล เปลี่ยว ขาดครูชาย ไม่มีนักการภารโรง ดูแลความปลอดภัย และเวรยามแม้แต่ในช่วงเวลากลางวัน เป็นการเพิ่มภาระให้ครูและผู้บริหาร ต้องบริหารจัดการอาคารสถานที่ ความสะอาดของห้องน้ำ อาคารเรียน ห้องสุขา เป็นต้น บั่นทอนเวลาจัดการเรียนการสอน

นายวิชาญ กล่าวว่า นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มภาระงบประมาณของโรงเรียนในการจัดหา จัดจ้างบุคลากรภายนอกมาทำความสะอาด อยู่เวรยาม ดูแลอาคารสถานที่ และงานอื่นๆ เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณทุกปี โรงเรียนขาดการพัฒนาทางกายภาพ ภูมิทัศน์ ขาดการปรับปรุงตกแต่ง ไม่สะอาดร่มรื่นสวยงาม บรรยากาศส่งเสริมการเรียนการสอนไม่มี ส่งผลกต่อสภาพจิตใจของผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน ตลอดจนผู้ปกครอง ชุมชน ที่พบเห็น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทั้งนี้นักการภารโรงที่คงอยู่มีน้อยคน ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน ภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นไม่มั่นใจในชีวิตการทำงาน คุณภาพขงการทำงานด้อยลง สถานศึกษาขาดคนทำหน้าที่พิทักษ์ รักษาทรัพย์สินของราชการให้ได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ดังนั้นสมาคมฯ

จึงขอความเห็นใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอตำแหน่งภารโรงคืนให้สถานศึกษาสังกัด สพฐ.ในรูปแบบการจ้างเป็นพนักงานราชการ ชื่อตำแหน่งพนักงานบริการ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรได้อย่างยั่งยืน

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 4
  • AJ
    ผู้บริหารกระทรวงมีไว้ทำไม ทำให้อาชีพครูย่ำแย่ขนาดนี้เชียวรึ
    18 ก.ค. 2565 เวลา 11.28 น.
  • T.cho
    ก็ควรมีนะ แค่ลด สส..ลงจังหวัดละคนก็มาจ่ายได้แล้ว มีประโยชน์กว่าเยอะ
    18 ก.ค. 2565 เวลา 11.47 น.
  • Benny💻📚
    💚💙เรียนภาษาอังกฤษตัวต่อตัวกับครูใจดี+มากประสบการณ์ ผ่านZoom 😀📖🖌 สนใจแอด Line: belle_d
    18 ก.ค. 2565 เวลา 17.31 น.
  • ThanawathA,
    . ผู้มีอำนาจซึ่งเป็นหลักของประเทศชาติบ้านเมือง . หากเห็นแต่ผลประโยชน์ของตนเอง แลพวกพ้อง . บ่ได้เห็นแก่ประโยชน์สวนรวมแลสังคม อาทิ ไม่ทำเพื่อพื้นฐานการศึกษาของชาติ . อีกไม่กี่ทศวรรษ กฏแห่งกรรม ก็จักเห็นได้อย่างชัดแจ้งขึ้น ขัดเจนขึ้น . อีกไม่กี่สิบปีภายหน้าต่อไป ก็อย่าไปหาว่าคนรุ่นปัจจุบันในอนาคตนั่นไม่มีคุณธรรม ไม่กตัญญู ไม่รู้คุณน่ะ เพราะ ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองประเทศทำไว้ในปัจจุบัน Globalization 4g 5g โลกาภิวัตน์ ข้อมูลที่เยาวชน ณ ในกาลปัจจุบัน มี แลได้รับ จะส่งผลต่อวิถีชีวิต
    18 ก.ค. 2565 เวลา 13.15 น.
ดูทั้งหมด