ทั่วไป

ทำไมใคร ๆ ก็ “หวยหาย”

LINE TODAY
เผยแพร่ 22 ธ.ค. 2560 เวลา 09.37 น. • Pimpayod
ภาพจาก TVpoolonline

นอกจากทุกวันที่ 1 และ 16 จะทำให้คนไทยมีความหวังกันถ้วนหน้าแล้ว เดี๋ยวนี้หลังจากวันหวยออกพักใหญ่ ๆ เรามักจะได้ยินข่าว “หวยหาย” ติด ๆ กันมาหลายงวดจนคิดว่าน่าจะเป็นเทรนด์แฟชั่นอะไรสักอย่าง เพราะไม่ใช่คนเดียวหรือสองคนที่ถูกรางวัลที่ 1 แล้วทำหาย แต่ที่ผ่านมามีข่าวหวยหายจนกลายเป็นคดีความไปเรียบร้อยเกือบ 10 คดี 

ทั้งหายจริงบ้าง แอบอ้างบ้าง ซึ่งข้อพิสูจน์ว่าหายจริงหรือไม่ เป็นขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องสืบค้นกันต่อไป แต่ประเด็นก็คือ ทำไมใคร ๆ ก็หวยหายกันทั้งนั้น หรือว่านี่จะเป็นวิธีหากินรูปแบบใหม่ในยุคนี้กันแน่ ลองมาดูความน่าจะเป็นว่าทำไมช่วงนี้ถึงมีหลายคนทำ “หวยหาย” กันบ่อย ๆ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1. แอบอ้างมีโอกาสลุ้นกว่าถูกเอง

ถ้าพูดถึงโอกาสถูกรางวัลที่ 1 ที่มีอยู่น้อยนิดแค่หนึ่งในล้าน ในขณะที่การแอบอ้างว่าตัวเองเป็นเจ้าของหวยที่ถูกรางวัลกลับมีโอกาสลุ้นมากกว่า ซึ่งจะหายจริงหรือแกล้งหายก็ตาม ทำให้ตรงนี้เป็นช่องทาง ในกรณีหวยหายที่นางรอง แม้การตรวจสอบดีเอ็นอีเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าผู้ที่แจ้งความว่าหวยหายไม่ได้เป็นเจ้าของหวยที่ถูกรางวัลดังกล่าว ก็ไม่ต้องรับผิดฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการแจ้งความว่าสลากฯ หายเพื่อให้เจ้าหน้าที่สอบสวนตรวจสอบ จึงไม่ใช่การแจ้งความเท็จแต่อย่างใด

2. พิสูจน์ยาก ช่องโหว่เยอะ ใช้เวลานาน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ของหายเป็นสิ่งที่พิสูจน์ยากอยู่แล้วว่าใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง โดยเฉพาะหวย เพราะแม้จะเขียนชื่อที่ด้านหลังสลากฯ แต่คนที่ไปขึ้นเงินกับชื่อที่เขียนไม่ตรงกันก็สามารถรับเงินที่ถูกรางวัลได้ กรณีนี้เป็นที่ถกเถียงของคนซื้อสลากฯ ทั่วประเทศว่าในเมื่อเป็นแบบนี้จะให้เขียนชื่อไปเพื่ออะไร แต่ สนง. สลากฯ ก็ยืนยันถึงข้อกำหนดที่ชัดเจนว่าจะจ่ายเงินที่ถูกรางวัลให้กับคนที่ถือสลากฯ มาขึ้นเงินเท่านั้น ซึ่งเมื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ยาก แถมยังต้องใช้เวลานาน ก็เลยกลายเป็นช่องโหว่ให้แอบอ้างเป็นเจ้าของรางวัลกันมากขึ้น

3. ทำงานเป็นทีม เพิ่มความน่าเชื่อถือ ได้ประโยชน์ร่วมกัน

กรณีของหวย 30 ล้านที่เป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ พบว่ามีการทำงานเป็นทีม ทั้งแม่ค้าขายสลากฯ ครูที่ซื้อสลากฯ และตำรวจที่รับแจ้งความ ซึ่งยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสลากฯ ที่หายมากยิ่งขึ้น เพราะมีพยานที่แน่นหนา ผิดกับอีกฝ่ายที่ถูกรางวัลและสลากฯ ไปรับรางวัล กลับไม่มีทั้งพยานและหลักฐานใด ๆ มีเพียงแค่สลากฯ ที่นำไปขึ้นรางวัลแล้วที่ต้องไปตรวจสอบดีเอ็นอีกันต่อไปเท่านั้น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ภาพจาก TVpoolonline

จากกรณีหวยหายที่กำลังเป็นข่าวอยู่นี้ ทำให้หลายคนกังวลกลัวว่าถ้าถูกรางวัลแล้ว จะมีคนมาแอบอ้างบ้าง บางคนถึงขั้นไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ล่วงหน้าก่อนหวยออกเพื่อป้องกันการแอบอ้างภายหลัง ซึ่งข้อแนะนำที่ถูกต้องจาก สนง. สลากฯ ก็คือเมื่อซื้อสลากฯ แล้วให้ถ่ายรูปกับพ่อค้า แม่ค้าสลากฯ ไว้ในเบื้องต้น จากนั้นถ่ายรูปสลากฯ เซ็นชื่อ-นามสกุลด้านหลัง และหมั่นตรวจสอบว่าสลากฯ ยังอยู่ดีหรือไม่ หากรู้ว่าหายตั้งแต่ยังไม่ได้ออกรางวัลก็ให้รีบแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ก่อน เพราะหากสลากฯ นั้นถูกรางวัลก็สามารถนำบันทึกประจำวันไปแจ้ง สนง. สลากฯ เพื่ออายัดรางวัลได้

ความเห็น 197
  • Punnee kaha 59
    เฮ้อ คนเมืองเหนือว่า. หันเงินหน้าดำ หันคำหน้าเศร้าไค่ได้ของเปิ่น ว่าอั้น ทำมาหากินอยู่ไปวันวันดีแล้ว
    19 ม.ค. 2561 เวลา 06.59 น.
  • '0'
    ยกเลิกไปให้หมด ปัญญาอ่อน ถูกรางวัลยังต้องมานั่งปวดหัวอีกรึไง55
    01 ม.ค. 2561 เวลา 03.13 น.
  • C.m.
    คดีหวย30ล้าน ถ้าฝ่ายครูชนะคดี รับรองกลายเป็นแฟชั่นแน่ เพราะประเทศไทยมีคนแบบนี้เยอะมาก
    31 ธ.ค. 2560 เวลา 07.35 น.
  • ข้าวหอม3/3น้ำเพชร3/1
    จับดำเนินคดีทุกคนที่แจ้งหายหลังหวยออกแจ้งความเท็จทำให้คนถูกหวยเสียชืีอเสียงหมิ่นประมาทอีกกระทงกองสลากก็ระบุแล้วใครถือสลากไปขึ้นเงินก็จ่ายรางวัลคนนั้น
    30 ธ.ค. 2560 เวลา 05.52 น.
  • ทำร่วงคือหมดสิทไปสิ
    30 ธ.ค. 2560 เวลา 03.27 น.
ดูทั้งหมด