ไลฟ์สไตล์

รู้หรือไม่ว่า ในชีวิตจริง แม่ของซิมบ้าอาจเป็นจ่าฝูง!

WWF-Thailand
เผยแพร่ 24 ส.ค. 2562 เวลา 17.01 น.

ในภาพยนตร์ซาฟารีส่วนใหญ่ บทที่โดดเด่นที่สุดมักจะเป็นของสิงโตตัวผู้ หลายคนอาจไม่รู้ว่า ในชีวิตสังคมฝูงของสิงโตนั้น ผู้ที่ "เป็นใหญ่" ตัวจริงกลับเป็นสิงโตเพศเมียต่างหาก

เพราะหน้าที่ของเหล่านางฟ้านักล่าเหล่านี้ คือกองกำลังสำคัญในการหาอาหาร และเฝ้าระวังเขตแดนของฝูงจากผู้บุกรุก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

.

“สิงโตตัวเมียนั้นเป็นเสาหลัก พวกมันเป็นทั้งหัวใจและจิตวิญญาณของฝูง ขณะที่พวกตัวผู้แค่แวะมาและจากไปเท่านั้น” Craig Packer นักวิจัยด้านสิงโตชื่อดังของโลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสิงโตแห่งมหาวิทยาลัยมินเนสโซลตากล่าว

.

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นั่นคือ ระบบฝูงของสิงโตนั้นเป็นสังคมแบบ “มาตาธิปไตย”

.

“สิงโตตัวเมียจะเป็นผู้กำหนดเขตแดนของฝูง จากพื้นที่ที่เติบโตและคุ้นชิน และมันจะได้ยินเสียงเหล่าเพื่อนบ้านกำลังร้องคำรามไปตลอดชีวิต” Packer กล่าว พร้อมเล่าว่าเมื่อใดที่ฝูงนั้นใหญ่เกินไป เหล่าสิงโตตัวเมียจะสร้างเขตแดนใหม่ใกล้ ๆ กัน เพื่อให้ลูกสาวของมันได้สร้างพื้นที่ใหม่ให้กับฝูงใหม่ของตัวเอง โดย 99% ของสมาชิกในฝูงสิงโตนั้น คือสิงโตตัวเมีย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

.

โดยปกติแล้ว สิงโตตัวผู้จะไม่อาศัยอยู่ร่วมกับฝูงที่ตนเกิดมา ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกมันไม่อยากผสมพันธุ์กับญาติๆ ของตัวเอง เพราะสิงโตตัวเมียในฝูง จะมีความเกี่ยวโยงทางสายเลือดด้วยกันทุกตัว ดังนั้น เมื่อสิงโตตัวผู้โตเต็มวัย พวกมันจะออกจากฝูงเพื่อหาดินแดนใหม่ต่างสายเลือด

.

แม้ในภาพยนตร์เราจะเห็นสิงโตมีความสันโดษ ดูน่าเกรงขาม แต่ความจริงแล้วสิงโตตัวผู้จะไม่ค่อยฉายเดี่ยว เนื่องจากการแข่งขันเพื่อเข้าร่วมฝูงนั้นค่อนข้างรุนแรงถึงชีวิต ดังนั้นตัวผู้มักจะรวมกลุ่มเพื่อคุ้มกันให้อีกฝ่ายปลอดภัย

“พวกมันต้องมีคู่หูที่ไว้ใจได้ระดับหนึ่ง เพราะว่าถ้าเผลอสิงโตตัวผู้จากถิ่นอื่นอาจเข้ามาอยู่ในฝูง และผู้แพ้จะต้องถูกขับออกไปและนับศูนย์ใหม่ เพื่อเริ่มต้นหาฝูงที่ใช่อีกครั้ง”

.

แม้ความสัมพันธ์ของสิงโตตัวผู้จะดูแน่นเเฟ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปราว 2-3 ปี แก๊งค์เพื่อนร่วมชะตากรรมต่อสู้จะแตกคอกันในที่สุด (หรืออาจจะนานกว่านั้นหากในกลุ่มมีสมาชิกอยู่ 4-5 ตัว) เพราะไม่ว่าความสัมพันธ์จะเหนียวแน่นแค่ไหนก็ตาม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการแข่งขันเพื่อการยอมรับเข้าไปในฝูง

.

รับชมคลิปวิดิโอครอบครัวสิงโตสุดน่ารัก ที่แฝงความเป็น #LionQueen ได้ที่

https://twitter.com/BBCEarth/status/1151537045031903232

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.nationalgeographic.com/…/lion-pride-family-dy…/…

#WWFThailand #TogetherPossible #LionKing

ความเห็น 5
  • Achilles
    สิงโตตัวเมียจะออกล่าเพื่อหาอาหาร กลับกันสิงโตตัวผู้จะดูแลเสมือนแม่บ้าน คนที่ชอบเปรียบตัวเองเป็นเสือเป็นสิงห์น่ะ หึ หึ
    25 ส.ค. 2562 เวลา 07.15 น.
  • พรทิภา นิ่มแสวง
    สิงโตตัวผู้เป็นเจ้าป่า คือเหมือน "เจ้าโลก"ฟังดูใหญ่ค่ะแต่ต้องพึ่งตัวเมีย จึงจะใหญ่คับโลก (อย่าคิดลึกนะคะ)
    25 ส.ค. 2562 เวลา 07.41 น.
  • อิทธิชัย
    สิงโตตัวผู้ในฝูง จะเป็นผู้พิทักษ์รักษาฝูงให้ปลอดภัย จากภัยคุกคามครับ สิงโตตัวเมียจะไปล่าหาอาหาร มาแล้วจะให้สิงโตตัวผู้กินก่อน อิ่มแล้วก็ไปคอยเฝ้าระวังป้องกันขับไล่ ผู้ที่เข้ามารุกรานในฝูง แบ่งหน้าที่ใคร หน้าที่มันครับ
    25 ส.ค. 2562 เวลา 08.35 น.
  • เลือดสุ1000
    หึๆหน้าที่ยิ่งใหญ่คือขยายเผ่าพันธุ์
    25 ส.ค. 2562 เวลา 08.03 น.
  • "from the inside"
    กุต้องรู้มั้ย
    25 ส.ค. 2562 เวลา 07.28 น.
ดูทั้งหมด