ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานอกจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ร้อนแรงในทุกๆ วัน แต่ก็ยังมีเรื่องราวที่ร้อนระอุไม่แพ้กันในประเด็น ‘ขนมอาลัวและขนมเค้ก’ ที่ได้รังสรรค์มาในรูปแบบ ‘พระเครื่องและน้ำตาลปั้นเป็นรูปแบบวัตถุมงคล’ สามารถเรียกเสียงฮือฮาเป็นอย่างมาก จนโลกออนไลน์ต่างถกเถียงเสียงแตกเป็นสองฝั่ง ทั้งมองว่าสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับขนมในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี แต่อีกมุมมองว่าไม่เหมาะสมนับเป็นการล่วงเกินศาสนา สุดท้ายแล้วสำนักพระพุทธศาสนาได้ลงพื้นที่พร้อมยืนยันว่าไม่เหมาะสม
เสาร์นี้ในอดีต : สัปดาห์นี้เรื่องราวอาจจะไม่ตรงกับวันที่ 8 พ.ค. แต่ก็ยังคงคอนเซ็ปถึงอดีตดังเดิม จากกระแสข่าวดังกล่าวที่ได้เผยไปข้างต้นทำให้หวนนึกถึงข่าวดังในช่วงหนึ่งที่ พระภิกษุสงฆ์ ได้ลงมือผลิตขนมไม่ว่าจะเพื่อจำหน่ายหรือแจก เรียกได้ว่าผู้ที่ได้รับจะซาบซึ้งถึง ‘รสพระทำ’ อย่างถ่องแท้
‘คุกกี้จตุคำ’
‘จตุคามรามเทพ’ ครั้งที่เฟื่องฟูสุด ๆ ในช่วงปี 2549-2550 ด้วยแรงศรัทธาที่ฟีเวอร์ พ่อค้าแผงพระต่างปั่นราคาค่าบูชาจนทะลุแสนบาทนั้น ทางด้านพระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้วได้เปิดตัวตัว ‘คุกกี้จตุคำ’ มาในรูปทรงกลมขนาดใกล้เคียงกับองค์จตุคามรามเทพ พร้อมปั้มลายตัวหนังสือและยันต์คาถามหาเศรษฐี "อุ อา กะ สะ"
วัตถุประสงค์ในการทำคุกกี้จตุคำในครั้งนั้น พระพยอมได้เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า เพื่อเตือนสติผู้ที่หลงใหลวัตถุมงคลและให้คนไทยได้ฉุกคิดเข้าถึงหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ไม่ยึดติดในวัตถุมงคลจนเกินไปและคำสอนที่ระบุอยู่บนคุกกี้ที่ว่า อุ อา กะ สะ นั้นหมายถึง ขยันหา ขยันเก็บ เลือกคบ เลือกใช้ ดังนั้นเมื่อฉุกคิดและเข้าถึงคำ 4 คำนี้ได้ ก็จะรวยได้รวยดีอย่างแน่นอน จึงเป็นที่มาของจตุคำ ซึ่งสามารถเรียกเสียงฮือฮาให้ลูกศิษยานุศิษย์ในช่วงนั้นเป็นอย่างมากและยอดการสั่งซื้อถล่มลายในช่วงนั้น
วันที่ 28 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ‘คุกกี้จตุคำ’ ก็กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง สืบเนื่องกระแสดังกล่าวและโลกออนไลน์ตั้งคำถามการที่พระพยอมเคยทำคุกกี้ในรูปแบบจตุคามรามเทพ โดยเผยว่าในสมัยนั้นผู้ที่เลื่อมใสจตุคามก็โกรธหาว่าไปล้อเล่น ทั้งที่จริงต้องการเตือนสติ และไม่มีสัญลักษณ์รูปเทพ ก่อนทิ้งท้ายที่ว่า “อย่านำรูปพระมากินเล่น เพราะเป็นสิ่งที่ไม่สมควร”
‘ขนมปังรสพระทำ’
เชื่อได้ว่าผู้ที่เดินไปทางไปจังหวัดพิษณุโลก ต่างต้องเคยแวะที่แห่งนี้แน่นอนคือ ‘วัดโพธิญาณ’ นับเป็นต้นตำรับขนมปังที่มาในชื่อ ‘ขนมปังรสพระทำ’ ที่เริ่มก่อตัวตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งในช่วงแรกเรียกได้ว่าเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากถึงการที่ให้พระมาทำขนมปังเป็นอย่างมาก แต่จวบจนมาถึงปัจจุบัน ขนมปังรสพระทำก็ยังคงอยู่ เพียงแต่พระไม่ใช่กำลังหลัก เพราะในระยะเวลาที่ผ่านมาการทำขนมปังรสพระทำได้กลายเป็นกลุ่มการเรียนรู้ด้านอาชีพที่สามารถให้กลุ่มคนเข้ามาทำเรียนรู้ได้
#หลวงพี่ไอซ์ไขอาชีพ
อาจจะไม่ได้เปิดมาเป็นชื่อเมนูอาหาร แต่ขอมาเป็นแฮชแท็ก ซึ่งเป็นของ พระใบฎีกานพรัตน์ ขนฺติจารี สกุล ภาคพิธเจริญ วัดโบสถ์สมพรชัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือที่ชาวบ้านเรียกขาน ‘หลวงพี่ไอซ์’ เจ้าของแฮชแท็ก #หลวงพี่ไอซ์ไขอาชีพ เมื่อลองเข้าไปส่องดูแฮชแท็กจะพบว่าหลวงพี่จะบอกสูตรอาหารแบบไม่มีกั๊ก เพื่อให้ญาติโยมนำไปทำกิน หรือสร้างอาชีพได้ตัวเอง มีทั้งอาหารคาว อาหารหวาน อาทิข้าวเหนียวมะม่วง , ขนมตาล ,น้ำพริกเผาป่า, แกงเส้นแกงร้อน และอีกมากมาย
โดยหลวงพี่ไอซ์เคยให้สัมภาษณ์กับเส้นทางเศรษฐีพร้อมเผยว่าสูตรอาหารต่างๆ ที่ได้มาแจกนั้นได้มาจากโยมย่าเมื่อท่านเสีย ก็กลัวสูตรจะหายจึงนำมาโพสต์ลงเฟซบุ๊ก จนกลายเป็นมีคนเข้ามาติดตามเพิ่ม สามารถสร้างรายได้ก็เลยต่อยอดมาเป็นโครงการหลวงพี่ไอซ์ไขอาชีพซึ่งช่วงแรกก็โดนทัวร์ลงว่า พระอะไรมาทำกับข้าวมันไม่ใช่กิจ แต่ทนได้
พระปรุงอาหารผิดหรือไม่ ?
ซึ่งคำตอบก็เป็นที่แน่ชัดว่าพระไม่สามารถปรุงอาหารได้เองโดยข้อมูลจาก พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ ได้เผยข้อมูลที่ว่า
ครั้งนั้นพระผู้พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน นครราชคฤห์ ในวันนั้นท่านป่วยด้วยโรคลมในท้อง พระอานนท์จึงไปหา งา ข้าวสาร ถั่วเขียว มารวบรวมไว้แล้วต้มเป็นข้าวยาคูที่ภายในที่พักแล้วนำไปถวาย พระพุทธเจ้าจึงถามว่า
“ดูกรอานนท์ ยาคูนี้ได้มาแต่ไหน?”
เมื่อพระอานนท์รายงานให้ทราบ ท่านจึงตำหนิว่า “การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ”
จากนั้นท่านจึงตรัสห้ามและบัญญัติอาบัติดังนี้
-ห้ามเก็บอาหารค้างคืนในที่อยู่ (อันโตวุฏกะ)
-ห้ามหุงต้มอาหารในที่อยู่ (อันโตปักกะ)
-ห้ามหุงต้มเอง (สามปักกะ)
ผู้ล่วงละเมิดต้องอาบัติทุกกฎ แต่อนุญาตให้อุ่นของที่สุกแล้วได้
ขณะที่ ด้าน พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระวัดสร้อยทอง เคยเปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าวเช่นกันว่า “ตามหลักพระวินัย ห้ามไม่ให้พระปรุงอาหาร เพราะเมื่อไหร่ที่พระปรุงอาหารพระก็จะติดในรสชาตินั้น หมายความว่า พระจะเลือกที่ชอบไม่ชอบแล้ว เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านทรงห้าม เพราะไม่ต้องการให้พระติดในรสชาติอาหาร เขาถวายอย่างไรมาก็ฉันไปตามนั้น”
“ทั้งนี้ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เราอาจยึดติดกับกฎดั่งเดิมไม่ได้มากนัก แต่ขอเพียงอย่ายึดติดอยู่กับอดีตจนทำให้ปัจจุบันพังทลาย”
อ้างอิง พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ , เฟซบุ๊ก วัดโพธิญาณ พิษณุโลก ,เส้นทางเศรษฐี,dhammahome.com,palungdham.com
เอ๋สามัคคี สาธุ สาธุ สาธุ กราบนมัสการพระอาจารย์ธรรมเป็นสิ่งไม่ตาย
14 พ.ค. 2564 เวลา 14.06 น.
กิจของสงฆ์
10 พ.ค. 2564 เวลา 14.30 น.
TuiTui เอาไปขายให้ตระกูลที่ช่วยหลวงพี่ซื้อที่คนตายเถอะครับ
10 พ.ค. 2564 เวลา 13.31 น.
ดราม่าเหี้ยไรนักหนาวะ เค้าเขียนว่าจตุคำ อย่าโยง อย่ามาทำตัวประยุทธ์ๆ ไอ้สัส 😂😂😂😂😂
10 พ.ค. 2564 เวลา 07.25 น.
บวชแล้ว ไม่ศึกษาพระวินัย ...บวชแล้วผิดศีล คือ พระวินัยกล่าวอย่างชัดเจน ว่า ภิกษุห้ามทำอาหาร (จะบอกว่าทำให้ชาวบ้าน กิน ก็ผิด ศีล) เป็นพระ แต่ ทรยศ ต่ออาชีพพระ อย่างนี้เขาเรียกว่า ...บวชเลี้ยงชีพ หรือเปล่า?
ศาสนาพุทธ เสื่อมลงทุก ไม่ใช่มครทำลายหรอก พระนี่แหละ ...ยูนิฟอมพระ เลี้ยงชีพได้ มีคนกราบไหว้ ให้มนุษย์ ที่ด้อยความสามารถ และ ขี้เกียจทางโลก จึงหันเข้ามาสวมใส่กัน
**แต่ แน่ๆ กฏแห่งกรรมก็มีจริง
10 พ.ค. 2564 เวลา 03.28 น.
ดูทั้งหมด