วันนี้(6มิ.ย.64)ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Yong Poovorawan" ระบุ ว่า
โควิด 19 วัคซีน การให้วัคซีนเข็ม 1 และ 2 ต่างชนิดกัน
ในทางปฏิบัติ วัคซีน covid 19 เป็นวัคซีนใหม่ จึงยังไม่แนะนำที่ให้เข็ม 1 และ 2 ต่างชนิดกัน
ตามหลักทฤษฎี ที่มีการใช้วัคซีนในเด็ก การใช้วัคซีน มีการสลับกันได้ และมีการศึกษามาแล้วทั้งสิ้น เช่นวัคซีนป้องกันท้องเสียโรต้า วัคซีนตับอักเสบเอ ตับอักเสบบี คอตีบไอกรนบาดทะยัก เพราะโดยหลักการ เชื้อโรคไม่รู้หรอกว่าฉีดวัคซีนยี่ห้ออะไร
ขณะนี้ มีแนวทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการให้วัคซีนสลับยี่ห้อ
ทางศูนย์ กำลังเริ่มดำเนินการวิจัย โดยขอทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และจะนำเสนอโครงการวันนี้ การวิจัยไม่น่าจะนานก็จะรู้ผล โดยเข็มแรกให้วัคซีน Sinovac เข็มที่ 2 ให้วัคซีน AstraZeneca และในทำนองกลับกัน เข็มแรกให้วัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 2 ให้ Sinovac
การศึกษาจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในกรณีเมื่อฉีดเข็มแรกแล้วเกิดแพ้วัคซีน เข็ม 2 จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน หรือในกรณีที่วัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่งขาดแคลน ก็สามารถใช้อีกชนิดหนึ่งได้เลย ไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บวัคซีนไว้เข็ม 2 การบริหารวัคซีนจะง่ายขึ้นมาก ทำให้การให้วัคซีนเร็วขึ้น
จากข้อมูลเบื้องต้น ในผู้ที่แพ้วัคซีน เข็มแรก และไปฉีดเข็ม 2 ต่างชนิดกัน เราพยายามหาผู้ที่ฉีดดังกล่าว
ขณะนี้ได้มีการตรวจสอบได้ 5 คน เชื่อว่ายังมีอีกมาก
จากข้อมูลที่ได้ แสดงในกราฟข้างล่าง จะเห็นว่า 4 รายที่ฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรก และเข็ม 2 ได้รับ AstraZeneca ภูมิต้านทานที่ขึ้นสูงกว่าการได้รับวัคซีนชนิดเดียว Sinovac 2 ครั้ง และทำนองกลับกัน ก็เช่นเดียวกันมีเพียง 1 ราย ที่ได้รับ AstraZeneca แล้วเข็ม 2 ได้ Sinovac อีก 1 เดือนต่อมา ภูมิคุ้มกันที่ขึ้นก็สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย
การศึกษาจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย หรืออาการข้างเคียงว่าจะเพิ่มขึ้นหรือไม่
ท่าการสลับวัคซีน ปลอดภัย จะเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ในยามที่วัคซีนขาดแคลน หรือแพ้วัคซีน และเป็นแนวทางในการที่จะนำมาใช้ในการกระตุ้นเข็มที่ 3 โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้วัคซีนชนิดเดียวกัน
โครงการทั้งหมดอยู่ในแนวทางการวิจัยของศูนย์ที่ทำอยู่แล้ว คงจะมีการประกาศรับอาสาสมัครเร็วๆนี้ หลังจากที่โครงการผ่านคณะกรรมการจริยธรรม การศึกษาวิจัย
ความคืบหน้าทั้งหมด จะเรียนให้ทราบ และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
Bunleng หมอพูดเองหรือเปล่า เรื่องสุขภาพประชาชน ไม่ใช่คิดเอา แล้วเสนอข่าวสารออกมา ในประเทศไทยเรื่องราวเช่นนี้ ต้องใช้เวลา วิจัย ถ้าเอาของฝรั่งมั่วมาพูด เอวัง
06 มิ.ย. 2564 เวลา 16.27 น.
kaikohmak นาวิน หมอ ใครเขาก็รู้ว่าทำได้ แตาไม่ควรทำบริษัท์ เขาไม่รับรอง และประกันคงไม่จาายถ้าเกิดเหตุอะไรขึ้นมา
06 มิ.ย. 2564 เวลา 12.13 น.
God เอาอะไรมายืนยันครับคุณหมอ นอกจากคำพูด🤣 เป็นงานวิจัยที่มีเฉพาะรัฐบาลไทยรึเปล่าครับ
06 มิ.ย. 2564 เวลา 11.21 น.
Bung หมอลองฉีดตัวเองก่อน แล้วค่อยมาบอกดีมั๊ยค่ะ
06 มิ.ย. 2564 เวลา 11.21 น.
อยู่คนเดียว หมอพูดแต่ด้านดีอย่างเดียว
06 มิ.ย. 2564 เวลา 11.01 น.
ดูทั้งหมด