ไลฟ์สไตล์

โรงทานสังฆราชยามวิกฤติ “พระเมตตา สังฆบิดรชาวไทย”

PostToday
อัพเดต 05 เม.ย. 2563 เวลา 05.24 น. • เผยแพร่ 05 เม.ย. 2563 เวลา 05.03 น. • webmaster@posttoday.com
โรงทานสังฆราชยามวิกฤติ “พระเมตตา สังฆบิดรชาวไทย”
โรงทานสังฆราชยามวิกฤติ “พระเมตตา สังฆบิดรชาวไทย”
โรงทานสังฆราชยามวิกฤติ “พระเมตตา สังฆบิดรชาวไทย”
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
โรงทานสังฆราชยามวิกฤติ “พระเมตตา สังฆบิดรชาวไทย”
โรงทานสังฆราชยามวิกฤติ “พระเมตตา สังฆบิดรชาวไทย”
โรงทานสังฆราชยามวิกฤติ “พระเมตตา สังฆบิดรชาวไทย”
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดย…อุทัย มณี (เปรียญ)

******************

ผมฟังคลิปการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้เดือดร้อนจากภัยไวรัสโควิด-19 ท่ามกลาง“ข้าวยาก หมากแพง” ที่อาจารย์นายประดับ โพธิกาญจนวัตร และคณะสงฆ์ทำงานร่วมกับสำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว รู้สึกปลาบปลื้มและตื้นตันใจอย่างยิ่ง ที่สังฆบิดรของไทยคือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ของประชาชนชาวไทยมีพระดำริว่า วัดในฐานะเป็นศูนย์กลางของชุมชนคู่กับสังคมไทยมานับแต่โบราณตราบจนปัจจุบัน วัดไม่เพียงแต่เป็นที่พำนักของพระภิกษุสามเณร แต่ยังเป็นสถานสาธารณสงเคราะห์ของชุมชนด้วย จึงสมควรที่จะให้วัดที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะอนุเคราะห์ประชาชนผู้ประสบความยากลำบาก ดำเนินภารกิจตามบทบาทหน้าที่ที่ดำรงอยู่นับแต่อดีตกาล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พระองค์จึงมีพระบัญชาโปรดให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้ประสานงานกับวัดทั่วราชอาณาจักรซึ่งมีศักยภาพเพียงพอ จัดตั้งโรงทาน ช่วยเหลือผู้ประสบความยากลำบากในสถานการณ์โรคระบาด ทั้งนี้ มิใช่การบังคับ แต่เป็นการกำหนดแนวทางประสานความร่วมมือ โดยให้คำนึงถึงความความพร้อมของแต่ละวัด

ประกอบกับการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในชุมชนนั้นๆ เป็นสำคัญ อีกทั้งให้ประสานภารกิจร่วมกับหน่วยงานและบุคลาการทางการแพทย์และการสาธารณสุขซึ่งมีประจำอยู่ในแต่ละพื้นที่ ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงทาน และการแจกจ่าย ให้เป็นไปตามหลักสุขอนามัย โดยต้องไม่มีการจัดพิธีการ พิธีกรรม กิจกรรม หรือการบริหารจัดการใดๆ ที่ต้องให้บุคคลจำนวนมากมารวมตัวกัน กับทั้งให้ปฏิบัติตามคำสั่ง มาตรการ และคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด

หลังจากพระบัญชาออกมาผมว่า “เหมือนฟ้าประทานฝนมายามหน้าแล้งที่อากาศร้อนอบอ้าวแบบนี้” ประชาชนคนชั้นกลางแบบเรา ๆ ท่าน ๆ พอจะมีเงินประทังชีวิตอยู่บ้าง “อาจไม่มีความรู้สึก” แต่ประชาชนในต่างจังหวัด ในชุมชนรอบวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีกำลังทรัพย์น้อย ต่างก็ปลาบปลื้มใจในพระเมตตาสมเด็จพระสังฆราช

ผมอยู่ในเพื่อนไลน์กลุ่มของผู้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เห็นคำสั่งการ เห็นภาพการทำงานที่ลงพื้นที่ตามวัดต่าง ๆ แล้วต้องขอชื่นชมว่า “รัฐมนตรีเทวัญและผู้บริหารสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ” ทำดี

ส่วนคณะสงฆ์วัดที่มีกำลังทรัพย์หลายวัด ต่างก็ขานรับพระบัญชานี้อย่างกว้างขวาง ทางให้ดีผมว่า อาจต้องกำหนดกฎเกณฑ์ให้ชัด เช่น ตำบลหนึ่ง จะทำกี่วัด การคัดกรองบุคคลที่จะเข้ามาในวัด รวมทั้งมาตรฐานอาหารการกิน หากสถานการณ์บานปลายมากกว่านี้ คงต้องทำงานกับหน่วยงานภาครัฐอีกหลายหน่อยงาน ที่จะให้วัดเป็นศูนย์กลางตั้งโรงทานช่วยเหลือประชาชน

ผมเห็น พระสงฆ์หลายรูป นอกจากจะทำในวัดแล้ว ยังออกจากวัดไปเดินแจกจ่ายอาหารให้กับคนสูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียงด้วย พวกท่านเหล่านี้ ชาตินี้คงไม่ได้ไปนิพพาน แต่ทุกท่านล้วนตั้งอยู่ในข่ายแห่ง “พระโพธิสัตว์” มีสิทธิเป็น “พระพุทธเจ้าในอนาคต” ตามคติความเชื่อของฝ่ายมหายานแน่แท้

โรงทานพระดำริสังฆราช ถือว่า เป็น นิมิตหมายที่ดีในการช่วยเหลือประชาชนชาวไทยที่กำลังเผชิญอยู่กับโรคโควิด-19 และโรงทานสังฆราชนี้ ความจริงคณะสงฆ์ควรทำอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป และอาจจะต้องใช้งบกลาง เช่น เงินกองทุนวัดช่วยวัด เงินศาสนสมบัติกลาง หรือแม้กระทั่งเงินนิตยภัตรของพระสังฆาธิการ ตัดออกมาช่วย

อย่าบอกว่า นำออกมาใช้ไม่ได้ กฎทุกกฎมันแก้ได้หมด ยามวิกฤติแบบนี้กฎทุกกฎมันแหกได้หมด และควรพิจารณาความดี ความชอบให้กับวัด ให้กับพระสังฆาธิการที่ให้ความร่วมมือในคราวนี้ด้วย ฝากเป็นการบ้านถวาย สมเด็จพระมหาวีวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ด้วยครับ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • อนุโมทนาบุญค่ะ พระเมตตาที่ทรงห่วงใย
    05 เม.ย. 2563 เวลา 14.18 น.
ดูทั้งหมด