ทั่วไป

ครั้งแรก "จุฬาฯ" ออกประกาศให้นิสิตแต่งกายตามเพศสภาพได้

Thai PBS
อัพเดต 12 พ.ย. 2562 เวลา 10.51 น. • เผยแพร่ 12 พ.ย. 2562 เวลา 11.32 น. • Thai PBS

มิตรภาพที่ดีและสวยงาม อาจเกิดจากความหลากหลายในความคิดที่เห็นต่าง แต่สิ่งเหล่านั้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ

คือข้อความที่ "จิรภัทร" นิสิตข้ามเพศ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก พร้อมหนังสือประกาศ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พิจารณาอนุญาตให้นิสิตข้ามเพศ สามารถแต่งกายตามเพศสภาพได้ หลังจากก่อนหน้านี้ จิรภัทร เข้ายื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) เพื่อขอให้คืนสิทธิในการแต่งกายและการใช้ชีวิตตามเพศสภาพในรั้วมหาวิทยาลัย

หนังสือ ลงประกาศไว้ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 เรื่อง การแต่งกายของนิสิตไว้ 7 ข้อ ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญระบุว่า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นิสิตอาจแต่งเครื่องแบบตามเพศกำเนิดหรือเพศที่แสดงออกก็ได้

จิรภัทร ยังขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ช่วยนิสิตข้ามเพศทุกคน ได้รับความเท่าเทียม ในการแสดงออกทางเพศสภาพ ที่สอดรับกับ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 ทั้งบัณฑิตหญิงข้ามเพศคนแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วลพ. นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ครอบครัว รวมถึง บุคลากร และฝ่ายบริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมผลักดัน ทำให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัย

เกือบ 1 ปี ในการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2561 เมื่อ จิรภัทร ถูกอาจารย์พิเศษ สั่งห้ามแต่งกายตามเพศสภาพเข้าชั้นเรียน และอ้างว่าถูกอาจารย์พูดเหยียดเพศตลอดการสอน

11 ม.ค.2562 คณะครุศาสตร์ มีคำสั่งถอนคำร้องขอแต่งกายตามเพศภาพของจิรภัทร ที่เคยยื่นขอไว้ตั้งแต่เข้าเรียน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

14 ม.ค.2562 จิรภัทร เดินทางพร้อมนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เข้าขอคำชี้แจงต่อทางมหาวิทยาลัย

16 ม.ค.2562 หลังกลายเป็นกระแสในวงกว้าง มหาวิทยาลัย มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับ จนกว่าคณะกรรมการพิจารณาฯ จะมีมติเป็นอย่างอื่น

29 ม.ค.2562 จิรภัทร และเพื่อนนิสิตอีก 2 คน พร้อมนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ยื่นเอกสารขอแต่งกายในชุดนักศึกษาหญิงถูกต้องตามระเบียบ เพื่อประกอบคำร้องถึง วลพ. ผ่านกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรณีถูกเพิกถอนคำร้องขอแต่งกายตามเพศสภาพ

18 ก.พ.2562 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุญาตให้จิรภัทร แต่งชุดนิสิตตามเพศสภาพได้

7 พ.ย.2562 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออก ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การแต่งกายของนิสิต พ.ศ.2562 ให้นิสิตอาจแต่งเครื่องแบบและชุดสุภาพตามเพศกำเนิดหรือเพศที่แสดงออกได้

นักปกป้องสิทธิฯ ชี้ ประกาศจุฬาฯ สร้างบรรทัดฐานใหม่

ก่อนหน้านี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุญาตให้บัณฑิตแต่งกายตามเพศสภาพเข้าพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร พร้อมไม่ระบุคำนำหน้านาม แต่ยังถูกมองว่าไปไม่ถึงความเท่าเทียม เนื่องจากนิสิตจะต้องเขียนคำร้องขอแต่งกาย ซึ่งขัดตามหลักสิทธิเสรีภาพที่ควรแสดงออก

นาดา ไชยจิตย์ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ระบุกับทีมข่าวไทยพีบีเอส หลังรับทราบประกาศฉบับดังกล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี และถือเป็นความก้าวหน้าครั้งหนึ่งในแวดวงการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมา การที่นิสิตข้ามเพศถูกบังคับไม่ให้แต่งกายตามเพศสภาพ สร้างแรงกดดันให้กับนิสิตนักศึกษาเป็นอย่างมาก รวมถึงทัศนคติของบุคลากรในสถาบันการศึกษา ที่พบว่ายังมีการเหยียดในเรื่องเพศอยู่มาก

จุฬาฯ ที่เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเก่าแก่ อันดับต้น ๆ ของประเทศ ยังกล้าเปลี่ยนแปลงระเบียบให้สอดคล้องกับพลวัตของสังคม ที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยอื่น ๆ กล้าที่จะเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม

2 ปี พบเรื่องร้องเรียน 22 กรณี

สถิติการร้องเรียนความไม่เป็นธรรม ไปยังคณะกรรมการ วลพ. ตั้งแต่ปี 2558-2560 ตาม พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ มีผู้เสียหาย 22 คน ส่วนใหญ่พบในสถาบันการศึกษา เช่น การบังคับให้แต่งกาย หรือ ไว้ทรงผมตามเพศกำเนิด การเลือกปฏิบัติในการฝึกสอน รับเข้าทำงานในวิชาชีพครู รวมถึงการสวมชุดครุยตามเพศสภาพเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร แต่นี่ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมดของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่ยังถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน หากมาตรฐานของสังคม ยังหยุดอยู่ที่การวัดความสามารถ ที่ว่าใคร เป็นเพศ ชาย หรือ หญิง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สำเร็จ! บรรจุหลักสูตร “ความหลากหลายทางเพศ” ตั้งแต่ ป.1

 

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 17
  • ผู้หญิงที่อยากจะเป็นผู้ชาย แต่งตัวเสื้อผ้าผู้ชายทรงผมผู้ชาย เหตุผลเป็นเพราะตนเองไม่สวย?แต่งตัวไม่ขึ้น? มีกิริยามารยาทไม่ดีไม่อ่อนน้อมยอมคน?
    12 พ.ย. 2562 เวลา 18.35 น.
  • niyom siripong
    เอาที่สบายใจ
    12 พ.ย. 2562 เวลา 13.50 น.
  • มันเป็นเรื่องของธรรมชาติควรยอมรับเปิดใจกว้างให้เป็นไปตามธรรมชาติเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นของธรรมดา แล้วก็ไม่ได้ผิดไม่ได้เสียหายอะไร
    12 พ.ย. 2562 เวลา 13.30 น.
  • ยอดเยี่ยมครับ ผมขอสนับสนุนแนวคิดครับ เรื่องสิทธิเสรีภาพต้องเปิดกว้างครับ
    12 พ.ย. 2562 เวลา 13.25 น.
  • ❤ Sandy ❤
    เขาเลือกเกิดไม่ได้ แค่เขาได้แต่งตัวตามที่ใจเขาเป็น แค่นี้เขาก็ดีใจแล้ว เขาเรียนจบก็แล้วกัน บางคนได้เกียรตินิยมด้วยซ้ำ ทำไมต้องไปดูถูกเพศเขา ชายหญิงแท้จิตใจเป็นแบบนี้เหรอ
    12 พ.ย. 2562 เวลา 12.56 น.
ดูทั้งหมด