ไอที ธุรกิจ

ตรวจสอบเงินเยียวยา www.เยียวยาเกษตรกร.com เร่งโอนเงินต่างบัญชีอีกแสนราย

ฐานเศรษฐกิจ
อัพเดต 02 ส.ค. 2563 เวลา 01.24 น. • เผยแพร่ 02 ส.ค. 2563 เวลา 17.09 น. • Thansettakij

 

โครงการมาตรการเยียวยาเกษตรกร เป็นหนึ่งในโครงการที่กระทรวงเกษตรงและสหกรณ์ หรือ กษ. ได้มีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19  สำหรับเกษตรกร จำนวนไม่เกิน 10 ล้านราย โดยช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือนเริ่มต้นระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฏาคม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ตรวจสอบสถานะ www.เยียวยาเกษตรกร.com โอนสำเร็จแล้ว 7.3 ล้านราย

ตรวจสอบสถานะ www.เยียวยาเกษตรกร.com รอเกษตรกรแจ้งเลขที่บัญชีใหม่

"เยียวยาเกษตรกร" เช็กสิทธิ์รับเงิน "ประกันรายได้มันสำปะหลัง" ที่นี่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อัพเดท "เยียวยาเกษตรกร" ชงขยายเวลาจ่ายเงินถึง 15 ส.ค. เช็กสิทธิ์ www.moac.go.th ด่วน

สำหรับความคืบหน้ามาตรการเยียวยาเกษตรกรนั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า คาดว่าจะดำเนินการโอนเงินเยียวยาเกษตรกรแล้วเสร็จภายในกลางเดือนสิงหาคมนี้ เนื่องจาก ธ.ก.ส.อยู่ระหว่างโอนเงินต่างบัญชีจำนวน 1 แสนราย ทั้งนี้ ธ.ก.ส.ได้โอนเงินเยียวยาทั้ง 3 กลุ่มเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม- มิถุนายน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 7.3 ล้านราย จากผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 7.4 ล้าน ดังนั้นเหลืออีก 1 แสนราย  เป็นบัญชีของธนาคารอื่นที่อยู่ระหว่างการโอน ดังนั้นเกษตรกรสามารถตรวจสอบสิทธิ์ได้ที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com เพื่อตรวจสอบสิทธิ์และสามารถแจ้งช่องทางการชำระเงิน

ขณะที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหนังสือถึงสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอขยายเวลาการจ่ายเงินเยียวยาให้เกษตรกรที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนหรืออยู่ระหว่างการปรับปรุงทะเบียนให้สมบูรณ์ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จำนวน 38,737 ราย รวมถึงกรณีที่อยู่ระหว่างดำเนินการแต่ ยังไม่สามารถจ่ายเงินได้ทันภายใน 31 กรกฎาคม 2563  โดยให้ขยายไปถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2563 และจ่ายงวดเดียว 15,000 บาท เกษตรกรสามารถตรวจสอบสิทธิ์ได้ที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ได้รายงานผลการดำเนินโครงการเยียวยาเกษตรกร ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ถึง 29 กรกฎาคม 2563 โอนเงินเยียวยาให้กับเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ไปแล้ว 3 รอบ  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 112,025 ล้านบาท รายละเอียดดังนี้

กลุ่มที่  1 เดือนพ.ค. จำนวน 7.4 ล้านราย วงเงิน 37,402 ล้านบาท

กลุ่่มที่ 2 เดือนมิ.ย. จำนวน 7.46 ล้านราย วงเงิน 37,328 ล้านบาท

กลุ่มที่ 3 เดือนก.ค. จำนวน 7.45 ล้านราย วงเงิน 37,294 ล้านบาท

ดูข่าวต้นฉบับ