ตอนเด็กๆ ในชั่วโมงศิลปะ
เมื่อไหร่ก็ตามที่นักเรียนกำลังวาดรูป ‘คน’ แล้วมีการต้องลงสี
สีที่เราเรียกว่า ‘สีเนื้อ’ นั้นจะเป็นสีเหลืองอมชมพูตุ่นๆ ออกไปในแนวขาว
ทำไมมาตรฐาน ‘สีเนื้อ’ ที่คนทั่วประเทศใช้มันถึงอ่อนจัง?
แล้วถ้าเราอยากระบายสีผิว ‘คน’ ที่เข้มขึ้นล่ะ?
เราก็ต้องเอาสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอ่อนมาลงให้กลายเป็นสีเนื้อแทน
แต่สีพวกนั้น ไม่มีใครที่ไหนเรียกว่า ‘สีเนื้อ’
และแน่นอน
คงไม่มีเด็กคนไหนสนใจจะเลือกหยิบสีโทนนั้นมาใช้
เป็น ‘สีเนื้อ’
.
.
.
คำว่า ‘Colorism’ หรือ คัลเล่อริซึ่ม ถูกกำหนดขึ้นมาโดย อลิซ วอล์คเกอร์ นักเขียนสาวผิวดำชื่อดังในอเมริกา เธอบอกว่าคำนี้หมายถึง
‘การที่คนใน ‘เชื้อชาติเดียวกัน’ ปฎิบัติตัวอย่างลำเอียงและมีความคิดชื่นชม/นิยมอีกฝ่ายหนึ่งมากกว่าเพียงเพราะ สีผิวของพวกเขา’
พูดง่ายๆ ก็คือ Racism (เรซซิซึ่ม) เป็นเรื่องของ เชื้อชาติ
แต่คำว่า Colorism (คัลเล่อริซึ่ม) นั้นหมายถึง สีผิว โดยตรงเลย
‘ใครก็ตามที่มีสีผิวอ่อนกว่า มักได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าคนที่มีสีผิวเข้มกว่าเสมอ’
.
.
.
ในกลุ่มคนผิวดำเองนั้น ถึงจะเชื้อชาติเดียวกัน ก็ยังมีการแอบเหยียดกันด้วย
‘คนไหนมีสีผิวที่เข้มกว่า’
นางเอกสาวผิวดำที่ได้รับรางวัลออสการ์อย่าง ลูพิต้า นิยองโก้ เคยกล่าวเอาไว้ว่า
‘คัลเล่อริซึ่ม นั้นเปรียบเสมือนน้องสาวของ เรซซิซึ่ม’
เธอคือเหยื่อของ คัลเล่อริซึ่มนี้ตั้งแต่ยังเด็ก เธอเติบโตที่ประเทศเคนย่า ก่อนย้ายมาสหรัฐอเมริกา
‘ฉันเป็นเด็กที่รู้สึกอึดอัดกับสีผิวของตัวเองมาก ฉันเชื่อว่าโลกรอบตัวของฉันมักให้รางวัลกับคนที่มีสีผิวอ่อนกว่า'
น้องสาวของเธอที่มีสีผิวที่อ่อนกว่า ผู้คนมักชมน้องสาวเธอว่า สวย เสมอ
เธอบอกว่า บางครั้งเธอก็รู้สึก ทำไมตัวเองไม่มีค่าเอาซะเลย
.
.
.
นักสังคมวิทยาชื่อมาร์กาเร็ต ฮันเตอร์ เคยเล่าถึงสถิตินี้ว่า คนเชื้อชาติเม็กซิกันในอเมริกาที่มีผิวที่ขาวกว่า มักได้เงินเดือนเยอะกว่า เรียนระดับสูงกว่า อยู่อาศัยในสังคมที่รุ่งเรืองกว่า และมีสุขภาพจิตที่ดีว่าคนเม็กซิกันด้วยกันที่มีสีผิวที่เข้มกว่า
นักวิจัยอีกทีมจากมหาวิทยาลัยจอร์เจีย ก็เล่าถึงสถิติในปี 2006 ว่าผู้จ้างงานต่างๆ มักเลือกผู้ชายผิวดำที่มีสีผิวที่ อ่อนกว่า ผู้ชายผิวดำที่สีผิวเข้ม โดยไม่ได้เน้นที่ความโดดเด่นในคุณสมบัติการทำงานอะไรเลย
.
.
.
กลับมาที่ประเทศไทย
นอกจากตัวอย่างของ ‘สีเนื้อ’ ที่พูดไปเมื่อข้างต้น
เราว่าการเหยียดเชื้อชาติน่ะ ไม่ใช่ปัญหาหลักของประเทศไทยหรอก
ถ้าเห็นกันอยู่ทั่วไป มักเป็นการเหยียดสีผิวมากกว่า
ที่มักเกิดจากสิ่งแวดล้อมและบุคคลรอบตัวของเราตั้งแต่เด็ก
- ทำไมตอนเด็ก เวลาจะออกไปวิ่งเล่นข้างนอก หลายครั้งถึงโดนห้ามแล้วผู้ใหญ่ก็พูดว่า ‘เดี๋ยวดำ!’ วางบทบาทของสีผิวว่าเป็นผู้ร้าย แทนที่จะกลัวว่าเด็กจะเป็นมะเร็งผิวหนัง
- ทำไมโฆษณาความสวยงามหลายตัวต้องเปรียบสีผิวที่เข้มขึ้นเป็น ‘ความเศร้า’
- ทำไมคนเราถึงใช้สีผิว เป็นเกณฑ์ในการทั้งด่าและชม ‘ขาวขึ้น ผ่องจังช่วงนี้’ ‘ว้าย ดำขึ้นนะ ไปทำอะไรมา’
- ทำไมรายการต่างๆ ถึงล้อเลียนคนที่ผิวเข้มเป็น ‘ตัวตลก’
- ทำไมการตำหนิกันด้วยสีผิวถึงเกิดขึ้นได้ ทั้งจากผู้ใหญ่ที่เคารพรัก ญาติห่างๆ ครอบครัว เลยไปถึงเพื่อนสนิท
- และทำไม ทุกครั้งคนที่โดนล้อเลียน คนที่ถูกล้อต้องแสร้งทำเป็นขำตามไปกับคำกล่าวหาที่กระทบจิตใจนั้น?
.
.
.
ปัญหาการเหยียดมันฝังรากลึกกว่าที่หลายคนมองเห็น
และหลายครั้งมันไม่ได้เกิดขึ้นจากศัตรูของเรา แต่อาจเกิดขึ้นได้กับคนใกล้ชิด
การห้ามจิตและความคิดของตัวเองนั้น เป็นเรื่องยากเหลือเกิน
เพราะหลายความเชื่อมันผูกติดอยู่ในจิตสำนึกของเราอย่างแน่นหนา
สิ่งที่เราทำได้คือ ‘พยายามรู้ทันใจตัวเอง’
ศึกษาและตัดสินคนให้ลึกซึ้งกว่าสิ่งที่เห็นด้วยสายตา
และที่สำคัญ
เมื่อไหร่ก็ตามที่มีใครบอกว่า เราทำให้เขาเสียใจ
ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่เราแกล้งเล่นด้วยความสนุกสนาน
เราควร รับฟัง, ขอโทษ, ปรับปรุงตัว
ไม่ใช่บ่ายเบี่ยงและโบ้ยให้คนที่กำลังเจ็บ ‘ต้องทำใจ’
ในพฤติกรรมทำร้ายจิตใจ
ที่เรานั้นเป็นคนทำ
.
.
.
.
.
อ้างอิง
https://time.com/4512430/colorism-in-america/
https://www.bbc.com/news/entertainment-arts-49976837
อ่านบทความใหม่จากเพจ Beautiful Madness by Mafuang ได้บน LINE TODAY ทุกวันอังคาร
คนเรานั้นไม่ว่าคิดที่จะทำอะไรก็ตาม ถ้าหากว่าได้คำนึงถึงในความรู้สึกของกันบ้างก็คงจะดี เพราะว่านั่นก็สามารถที่จะช่วยทำให้ลดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมาได้เหมือนกันนะครับ.
16 มิ.ย. 2563 เวลา 21.49 น.
ผมไม่ใช่ว่าจะเหยียดใครง่ายๆ ถ้าไม่ทำให้ผมเกียจ .....ควรทำตัวให้เหมาะสมให้สมกับสิ่งที่คุณดราม่า อย่าทะลึ่งมากเกินไป ผมพูดถูกไหม
16 มิ.ย. 2563 เวลา 12.40 น.
คนสมัยนี้มันเรียนรู้จักคำว่าเชื้อชาติด้วยรึ คำว่าเชื้อชาติ มันละเอียดอ่อนและซับซ้อนปะปนกันจนกลายพันธ์ไปหมด มันจึงเอาสีผิวมาแบ่งกลุ่มเชื้อชาติตามรสนิยมทางจิตใจของคนแต่ละจำพวกเพราะมันแยกง่ายกว่า
17 มิ.ย. 2563 เวลา 05.01 น.
not ผมก็รังเกียจน่ะครับ
เวลาเจอตุ็กแกผิวเป็นจุดๆลื่นๆ
จะถือเป็น colorism มั้ย
17 มิ.ย. 2563 เวลา 04.50 น.
โจโจ้ สิทธิมนุษยชนในการ ง่วง มึน ควรตะได้สิทธิ์ในการพักผ่อนในรถยนต์ มิใช่มุ่งแต่จะกล่าวหา เพื่อใส่กุญแจมือ
17 มิ.ย. 2563 เวลา 04.35 น.
ดูทั้งหมด