“หาบเร่แผงลอย” ชีวิตที่ “ไม่มีทางเลือก” ของทั้ง “คนขาย” และ “คนซื้อ”
ปัญหาการจัดระเบียบทางเท้า คือหนึ่งในปัญหาคาราคาซังที่ดูไร้ทางออกในการจัดการปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืนและถาวร จนกลายเป็น ‘วาระสำคัญ’ แห่งชาติที่หลายฝ่ายพยายามออกมามีส่วนร่วม
รวมทั้งบรรดา ‘ผู้พิพากษา คีย์บอร์ด’ ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างดุเดือด ถึงความเดือดร้อนที่กล่าวโทษว่าบรรดาพ่อค้าแม่ค้าเป็นผู้ก่อขึ้น แล้วพอสาแก่ใจได้สำเร็จความใคร่ทางศีลธรรมก็เดินไปซื้อของกินจากร้านรถเข็นข้างถนน (ที่เพิ่งด่าไปเมื่อกี๊นี่แหละ) อย่างสบายอารมณ์
แน่นอนว่าหากว่ากันตามกฎหมายคงมีหลายข้อที่สามารถใช้ ‘เอาผิด’ คนเหล่านี้ได้ไม่ยาก แต่ถ้ามองลงไปให้ลึกอีกด้าน เราอาจพบว่าแท้จริงแล้ว ทุกคนล้วนมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับปัญหานี้ด้วยกันแทบทั้งนั้น
1. เพราะมีคน‘ซื้อ’ ถึงมี‘คนขาย’ หลักเศรษฐศาสตร์ง่ายๆที่ลืมกันไปได้อย่างไร
หนึ่งในข้อกล่าวหาคลาสสิกที่มีคนหยิบมาใช้โจมตีอยู่เสมอคือ ‘ความจนไม่ใช่ข้ออ้างในการทำความผิด’ แน่นอนว่าคำพูดนี้ถูกต้อง แต่มีแค่พ่อค้าแม่ค้าอย่างเดียวหรือเปล่าที่ ‘จน’ แบบที่ถูกกล่าวหา
เพราะจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และองค์กร WEIGO พบว่า กลุ่มลูกค้าสำคัญของร้านค้าแผงลอยคือพนักงานออฟฟิศ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักเรียน รวมไปถึงแรงงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ (330 บาท) โดย 60% ของประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 9,000 บาทต่อเดือนจะมีการซื้อของจากร้านหาบเร่แผงลอยทุกวัน
หากร้านค้าเหล่านี้หายไป กลุ่มคนดังกล่าวจะต้องซื้ออาหารในราคาที่แพงขึ้นและจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มถึงเดือนละ 357 บาท หรือมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่พวกเค้าได้รับในหนึ่งวันด้วยซ้ำ
2. เพราะทุกคนล้วนโหยหาความสะดวกสบายด้วยกันทั้งกัน
ต่อจากเรื่องดีมานด์และซัพพลายในข้อที่แล้ว ไม่ใช่แค่เรื่องสินค้าราคาถูกที่ร้านค้าแผงลอยตอบโจทย์ตรงนี้ได้ เพราะลองลบภาพเมืองในอุดมคติ แล้วมองที่โลกแห่งความเป็นจริง ในวันที่แสนวุ่นวาย คนส่วนมากเดินทางไปทำงานด้วยรถสาธารณะ และด้วยเวลาอันแสนจำกัด ลองถามใจตัวเองดีๆ ว่ามีกี่คนที่ยอมเดินเข้าไปซื้อของตามร้านในสถานที่ถูกต้อง เพราะร้านขายของชำอาจอยู่ไกลจากป้ายรถเมล์หลายร้อยเมตร และร้านค้าในห้างก็ต้องเดินเข้าไปอีกไกล แถมราคาก็ไม่น่ารัก
และบางทีเวลารีบๆ เราก็อยากได้แค่หมูปิ้ง 3 ไม้ ข้าวเหนียว 2 ห่อ มาประทังชีวิต แล้วรีบไปทำงานต่อเท่านั้นเอง
3. เพราะทางเลือกชีวิตมีจำกัดบางคนเลยต้อง‘เลือก’ เพราะความจำเป็น
จากงานวิจัยชิ้นเดิมพบว่า มากกว่า 70% ของผู้ค้าเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี โดยส่วนหนึ่งเป็นผู้หญิงและจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาเท่านั้น ทำให้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพอื่นน้อยมาก ซึ่งหากจะคิดถึงต้นเหตุเรื่องนี้จริงๆ ก็คงต้องย้อนไปถึงระบบโครงสร้างการศึกษาในยุคก่อน ที่อาจต้องว่ากันอีกยาวหลายหน้ากระดาษ
ลองคิดดูดีๆ ว่ามีใครบ้างที่ไม่อยากมีการศึกษาสูงๆ มีโอกาสเลือกทำงานหรือเปิดร้านค้าเป็นแหล่งหลักตามปกติ ไม่ต้องเก็บข้าวเก็บของทุกวันซ้ำไปซ้ำมา พ่อค้าแม่ค้าเหล่านี้ก็เช่นเดียวกัน หากพวกเขาสามารถ ‘เลือก’ อะไรในชีวิตได้มากกว่านี้ เชื่อว่าพวกเขาก็อยากเปลี่ยนสถานะจากผู้ขายให้กลายเป็นขี้ปากชาวบ้าน มาเป็นฝั่งผู้ซื้อที่ทำอะไรก็ไม่เคยผิดดูบ้างเหมือนกัน
4. เพราะทางเลือกที่ดูมากมายแต่สุดท้ายเราสามารถ‘เลือก’ ได้แบบที่เขาว่าจริงหรือ
ถ้าไม่นับเรื่องความจำเป็น แล้วมามองที่การประกอบธุรกิจทั่วไป ก็จะเห็นว่าเต็มไปด้วยปัจจัยที่กีดกันบรรดาพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอยออกไปจากสารบบการ ‘เลือก’ ตั้งแต่ต้น
ยิ่งเป็นแผงลอยที่อยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้า หากคิดย้ายตัวเองเข้าไปอยู่ในนั้น ก็ต้องจ่ายค่าเช่าต่อเดือนหลักหมื่นเป็นอย่างน้อย หลายคนก็จะบอกอีกว่า ก็ยังมีอีกหลายห้างที่เปิดให้เช่าพื้นที่บริเวณฟู้ดคอร์ทราคาถูกอยู่
ข้อนี้ยอมรับว่าใช่ แต่ยิ่งเป็นพื้นที่ที่ดีเท่าไร ก็ยิ่งมีคนต้องการจับจองมากเท่านั้น และคนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและจับจองได้ก่อน รวมถึง ‘เส้นสาย’ มากมายที่มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนบางกลุ่มเท่านั้น ส่วนมากก็จะเป็นเจ้าของธุรกิจหรือร้านอาหารเจ้าใหญ่ ที่ต้องการขยายสาขาเพิ่มเติมเท่านั้น พ่อค้าแม่ค้าทั่วไปแทบไม่มีโอกาสเข้าถึง ‘โอกาส’ ที่ดีแบบนั้นได้เลย
5. เพราะการจัดระเบียบเปรียบเสมือนการไล่ให้ไป‘ตาย’ ไม่ใช่‘ตั้งตัว’ อย่างที่หลายคนเข้าใจ
จากปัญหาที่ปล่อยปะละเลยสะสมจนจำนวนหาบเร่แผงลอยเพิ่มมากขึ้นจนเกินเยียวยา ประกอบกับการแก้ ‘ปัญหา’ ของหน่วยงานภาครัฐแบบสุกเอาเผากิน ทำให้เป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่จะทำให้เมืองในอุดมคติเกิดขึ้นได้จริงขึ้นมา
อย่างแรกคือ สิ่งเดียวที่หน่วยงานของก.ท.ม.ทำได้ มีเพียงแค่ขอ ‘ความร่วมมือ’ จากภาคเอกชน เพื่อให้ใช้พื้นที่บางส่วนให้กับพ่อค้าแม่ค้าแบบ ‘ไม่มีค่าใช้จ่าย’ ซึ่งถ้าโชคดีอาจจะได้พื้นที่ด้านข้างสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันที่ยอมให้เข้าไปขายของในพื้นที่ แต่ก็มีข้อจำกัดที่สามารถรองรับผู้ค้าได้เพียง 84 แผงเท่านั้น (จากทั้งหมดประมาณ 8,000 ราย)
แน่นอนว่าเราไม่สามารถหาพื้นที่ดังกล่าวได้มากนัก สิ่งต่อมาที่ก.ท.ม.ทำได้ก็คือ การ ‘จัดระเบียบ’ และจัดหาพื้นที่ใหม่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าแผงลอยโดยเฉพาะ ฟังดูเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ แต่ยกตัวอย่างที่ชัดที่สุด คือกรณี ‘Siam Night Plaza’ ที่เปิดพื้นที่โล่งใต้ทางด่วนพงษ์พระรามเมื่อปีพ.ศ. 2559
ในช่วงแรกก็มีพ่อค้าแม่ค้าย้ายร้านไปพอสมควร แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ‘ลูกค้า’ ไม่ตามมาด้วย เพราะสถานที่นั้นอยู่ไกลเกินไป สุดท้ายผ่านไป 1 ปี เหลือผู้ค้าไม่ถึงสิบราย จนก.ท.ม.ต้องออกมาบอกว่าจะปรับพื้นที่และการสัญจรใหม่เพื่อให้สะดวกต่อการเดินทางมากขึ้น แต่จนกระทั่งถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด
รวมไปถึงการจัดระเบียบย่านท่าพระจันทร์ ปากคลองตลาด และอีกหลายพื้นที่ ที่พ่อค้าแม่ค้าต้องรับผลกระทบจากการจัดระเบียบที่ไม่มี ‘ระเบียบ’ จนมีการเปิดเผยจากบริษัทปล่อยสินเชื่อแห่งหนึ่งว่า ในช่วงที่มีนโยบายจัดระเบียบทางเท้า สัดส่วนหนี้เสียในเขตกรุงเทพมหานครนั้นมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
6. เพราะประเทศอื่น‘จัดระเบียบ’ ได้เราก็ต้องทำได้เหมือนกัน
ยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ ที่เผชิญปัญหาหาบเร่แผงลอยเหมือนกัน และต้องใช้เวลาถึง 50 ปี จนมีการจัดสรรพื้นที่ที่เรียกว่า Hawker Center มีจัดขึ้นมาเพื่อพ่อค้าแม่ค้าแผงลอยโดยเฉพาะ และไม่ใช่การไป ‘ขอ’ พื้นที่คนอื่นมาเฉยๆ แต่รัฐบาลจัดสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางทั้ง โต๊ะ เก้าอี้ ห้องน้ำ ไว้อย่างครบครัน และสร้างความเป็นธรรมด้วยการจับฉลากเลือกผู้ค้าอย่างเท่าเทียม
อีกกรณีที่น่าสนใจคือไต้หวัน ซึ่งจัดระเบียบให้หาบเร่แผงลอยค้าขายอยู่ภายในซอย โดยซอยดังกล่าวจะมีเพียงสตรีตฟู้ด ส่วนรัฐได้เข้ามาจัดการควบคุมเรื่องความสะอาด เช่น ห้ามเทน้ำมันลงท่อ มีการจ่ายคืนการใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อนำเงินจำนวนนี้ไปใช้เป็นงบฯ รักษาความสะอาด เป็นต้น
เพราะปัญหาหาบเร่แผงลอยนั้นเกิดขึ้นได้ในทุกๆ ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมปะปนอยู่ แต่หลายประเทศก็แสดงให้เห็นแล้วว่าพวกเขาสามารถหาทางออกที่ได้ประโยชน์กันทุกฝ่ายได้อย่างยั่งยืนจริงๆ
ไม่ใช่ว่าปัญหาที่พวกเขาเจอนั้นเบาบางกว่าประเทศเรา แต่เป็นเพราะเขาเข้าใจหัวอกของคนทุกระดับ จริงใจในการหาทางแก้ปัญหา และจริงจังกับการคิดมาตรการจัดระเบียบอย่างเป็นรูปแบบมากกว่าเราเท่านั้นเอง
อ้างอิง
S. จัดให้ในพื้นที่- เอื้อคนรวยหรอ
ให้เสียภาษี - ไม่เสีย ทำไมอะ
โดนปรับ - รังแกคนจน
มันเกะกะนะ - นิดหน่อยน่า ทำมาหากินสุจริตนะ
ฯลฯ
ขยะเหล่านี้ควรถูกกวาดล้าง
เลิกซื้อของข้างถนนและแผงลอยมาเกิน 5 ปี แล้ว
สมัยตอนสยามก่อนกวาดล้างพวกมัน
มีกี่ร้านที่เจ๊งไป เล่นก๊อปเสื้อผ้าเค้ามาขายแผงลอย ร้านแถวนั้นเสียค่าเช่าเดือนละ 1 แสน แต่แพ้ขยะหมู่มากที่อ้างความจน
รอดูวันที่พวกมันอดตาย และโดนกวาดล้างอย่างจริงจัง
06 พ.ย. 2561 เวลา 04.55 น.
€¥£ ไม่มีทางเลือก เลยเอาเปรียบคนอื่น เกะกะบนถนนได้
งั้นต่อไป ไม่มีทางเลือก เลยปล้นคน ก็ได้สิวะ ไม่มีทางเลือกเหมือนกัน มันใช่เหรอ
ก่อนจะไม่มีทางเลือก ต้องไม่ทำผิดกฏหมายแล้วอ้างนั่น อ้างนี่ นี่เลือกจะเอาเปรียบสังคมแต่แรก แล้วขอยืนยันการเอาเปรียบนั้น แถมจะให้ช่วยอีก เอาแต่ได้ ขยะ น้ำเสีย ไขมัน กวาดลงท่อเรียบ ไม่สนหมีสนแปด อ้างแต่จนๆๆ ไม่มีทางเลือกๆๆๆ ไม่พอนะ
06 พ.ย. 2561 เวลา 05.24 น.
A คนพวกนี้ก็คือคนกลุ่มนึงที่ใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์ของส่วนรวม มาเป็นประโยชน์ส่วนตัว แค่นี้ก็คิดต่อเอาเองว่าเห็นแก่ตัวระดับไหน ให้เข้าระบบเพื่อส่วนรวมต้องเสียภาษีเอาไหม ไม่เอาหรอก จะเอาแต่ประโบชน์ส่วนตัว
06 พ.ย. 2561 เวลา 05.28 น.
สุดท้าย วกกลับมาเรื่องภาษีครับ พวกแผงลอย ไม่เสียภาษี ถ้าจะจัดระเบียบจริง ข้าราชการ พร้อมเลิกรับใต้โต๊ะมั้ย มันต้องเริ่มจาก รัฐต้องสะอาดก่อน แล้ว บังคับ การค้าทุกระดับจดทะเบียนให้หมด แล้วก็จัดสรรที่ทางให้ พ่อค้าแม่ค้าทุนน้อยเหล่านี้ ขายตั้งตัวไปก่อน ...
06 พ.ย. 2561 เวลา 05.48 น.
โด่ง เยาวราชมีบอกเป็นจุดขายของประเทศ คนที่ซื้อขาย คนมีตังทั้งนั้น
แผงลอยรถเข็น คนจนซื้อคนจนขาย
บอกขวางทาง ถุย
06 พ.ย. 2561 เวลา 05.35 น.
ดูทั้งหมด