ไอที ธุรกิจ

3 เทคโนโลยีที่อาจจะไม่เคยเห็นที่เมืองไทยแต่เห็นได้ที่สิงคโปร์

Marketing Oops
อัพเดต 23 ก.ย 2560 เวลา 10.28 น. • เผยแพร่ 23 ก.ย 2560 เวลา 05.06 น. • Watokung

merlion-picsay
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เนื่องจากมีโอกาสได้มาทำงานที่สิงคโปร์ 3 วัน แถมสิงคโปร์ยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองของเทคโนโลยีและธุรกิจต่างๆ มากมาย วันนี้จึงมาดูกันว่าเทคโนโลยีอะไรบ้างที่มีในสิงคโปร์ แต่สำหรับในประเทศไทยอาจจะยังไม่มี หรือกำลังจะมีก็ได้ในอนาคต แต่บอกได้เลยว่าทั้ง 3 เทคโนโลยีที่จะมานำเสนอในครั้งนี้เป็นเรื่องของ FinTech ล้วนๆ

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เทคโนโลยี ERP

เทคโนโลยีนี้ในบ้านเรารับรองได้เลยว่ายังไม่มี ถ้าจะมีก็อาจจะเป็นลักษณะคล้ายๆ กัน โดย ERP ที่คนไทยรู้จัก คือ โซลูชั่นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำธุรกิจในการบริหารจัดการวัตถุดิบรวมถึง Supplier แต่สำหรับที่นี่ ERP คือระบบที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการด้านจราจร โดยสิงคโปร์ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กและหากบริหารจัดการจราจรไม่ดี ก็อาจจะกลายเป็นประเทศที่มีรถติดมากที่สุดในโลก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
20170923_015506-picsay

รัฐบาลสิงคโปร์จึงมีกฎหมายรถคันใดจะวิ่งเข้ามาในเมืองจะต้องเสียภาษีเข้าเมือง ซึ่งเทคโนโลยี ERP คือ การชำระเงินเสียภาษีค่าเข้าเมืองนั่นเอง โดยรูปแบบการทำงานจะเหมือนกับ Easy Pass ในประเทศไทย แต่แตกต่างกันตรงที่นี่จะขับรถผ่านด้วยความเร็วที่กฎหมายกำหนดโดยไม่มีไม้กั้น ขณะที่รถยนต์แทบจะทุกคันในสิงคโปร์จะต้องติดอุปกรณ์ชำระเงินค่าผ่านทางนี้ทุกคันที่หน้ารถ

นอกจากนี้แต่ละช่วงเวลายังมีการจัดเก็บราคาที่ไม่เท่ากัน จากข้อมูลที่ได้มาทำให้ทราบว่าชั่วโมงเร่งด่วนจะมีการคิดอัตราค่าผ่านทางสูงกว่าช่วงเวลาปกติ และ ERP ในสิงคโปร์แต่ละจุดก็จะมีเรทราคาแตกต่างกันตามความใกล้ของจุดศูนย์กลางเมือง เรียกว่าคนไหนที่ทำงานอยู่กลางใจเมืองก็ต้องเสียค่าผ่านทางแพงกว่าชาวบ้าน นอกจากนี้ยังสามารถชำระค่าทางด่วนได้อีกด้วย

 

Kios Order Instant Food

เรียกได้ว่าเทคโนโลยีนี้ประเทศไทยไม่มีแน่นอน สำหรับ Kios การสั่งอาหาร แต่สำหรับที่สิงคโปร์แล้วกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งสามารถสั่งงานได้ง่ายๆ ด้วยการสัมผัสที่หน้าจอ จากนั้นชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ซึ่งจะได้ใบเสร็จและคำสั่งซื้อ จากนั้นก็รอคิวเพื่อรับอาหาร ซึ่งระบบนี้ McDonald สิงคโปร์นำมาใช้แล้ว และ KFC เตรียมจะเปิดให้บริการในเร็วๆ นี้ เป็นไปได้ว่า ในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาระบบยืนยันตัวบุคคลผ่านระบบจดจำใบหน้าเช่นเดียวกับที่เมืองจีน

20170923_103654-picsay

20170923_110416-picsay

 

Self service Supermarket

อีกหนึ่งระบบที่ไม่สามารถเห็นได้ในเมืองไทย คือ เรื่องของการบริการจ่ายสินค้าเองโดยเฉพาะค่าสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตและดูเหมือนว่าระบบนี้จะยังเป็นของใหม่สำหyรับคนสิงคโปร์ ซึ่งในซุปเปอร์มาร์เก็ตจะมีปัญหาบ่อยที่สุดคือ คิวในการชำระเงินที่ยาวมาก แม้จะมีการสร้างช่องทางด่วนจำกัดจำนวนชิ้นก็ตาม ปัญหาคิวที่ยาวและรอนานในการชำระเงินก็ยังคงมีอยู่ นั่นจึงทำให้ Supermarket ส่วนใหญ่ในสิงคโปร์เปิดบริการ Self Service

20170923_105444-picsay

ซึ่งมีขั้นตอนก็ง่ายๆ เพียงหยิบสินค้ามากดปุ่ม Start เพื่อใช้บริการ Self Service จากนั้นนำสินค้าไปยิงบาร์โค้ดแล้วใช้บัตรเครดิตในการจ่ายเงินแล้วแพ็คของใส่ถุง เท่านี้ก็เสร็จด้วยระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที เรียกว่าเป็นการบริหารจัดการคิวในการชำระเงินของซุปเปอร์มาร์เก็ตได้เป็นอย่างดี ขณะที่ประเทศไทยยังคงต้องต่อแถวคิวยาวต่อไปแม้จะเป็นช่องทางด่วนก็ตาม

 

Copyright © MarketingOops.com

อ่านบทความทั้งหมด ที่ MarketingOops.com

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • Satayu P.
    ผมว่าคนเขียนบทความไม่ค่อยมีความรู้ ERP ที่เป็น solution software คือ enterprise resource planning แต่ ERP ที่สิงคโปร์คือ Electronic road pricing ตัวย่อ ERP เหมือนกัน แต่ไม่ใช่เอา enterprise resource planning มาทำเป็นตัวเก็บค่าผ่านทาง ส่วน Kios เมืองไทยก็มีหมดแช้วเหมือนกัน ถ้ายังไม่แม่นควรหาข้อมูลเพิ่มเยอะๆ
    23 ก.ย 2560 เวลา 06.55 น.
  • Non_Tatchanon
    ผมว่าคนเขียนบทความไม่เคยเดินกรุงเทพฯครับสิ่งที่พูดมาข้อ2กับ3ผมเห็นเกิดขึ้นในกรุงเทพฯแล้วนะส่วนข้อ1เอาเป็นว่าโดยภูมิศาสตร์แล้วเมืองไทยไม่ค่อยเหมาะสมที่จะทำนะครับ(อยากรู้ว่าบรรณาธิการปล่อยผ่านบทความมาได้ยังไง้นี้ยครับ)
    23 ก.ย 2560 เวลา 07.31 น.
  • Starwar and Eiw
    Self Service Supermarket มีแล้วครับ...ลองไปใช้บริการที่TOPS สาขาเซนทรัลแจ้งวัฒนะดูนะครับ
    24 ก.ย 2560 เวลา 06.38 น.
  • Sam Suwat H.
    ไล่คนเขียนข่าวออกเฮอะ จ้างคนดูข่าวไปเขียนแทน ความรู้มากกว่ากันเยอะ
    23 ก.ย 2560 เวลา 16.35 น.
  • Norvis
    ไม่รู้จริง แต่มาเขียนข่าวมั่วๆ หากินกันง่ายดีเน๊อะ เรื่องแรก ลองรถยนต์ทุกคันถูกเก็บค่าผ่านทางเข้าเมืองแบบสิงค์โปร์สิ จราจรก็จะไม่เป็นแบบนี้ ยิ่ง kiosk แบบเรื่องที่ 2 ในเมืองไทยก็มีมาเป็นปีแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลาย
    24 ก.ย 2560 เวลา 11.35 น.
ดูทั้งหมด