หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “สติมา ปัญญาเกิด” กันมาบ้าง
คำว่า “สติ” ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิต แปลว่า ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ
ส่วนในวิกิพีเดีย “สติ” แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไม่ประมาท
ในทางพระพุทธศาสนามีการเจริญสติ ซึ่งก็คือการอยู่กับปัจจุบันไม่คิดเรื่องอื่นใด และรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นการโฟกัสอยู่ที่การกระทำทั้งกายและใจของตนเอง โดยการเจริญสติแตกต่างจากการทำสมาธิตรงที่สามารถกระทำได้ทุกอิริยาบถ จะนั่ง ยืน เดิน หรือนอน ก็เจริญสติได้ทั้งนั้น แค่ระลึกไว้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ณ ขณะนั้น เช่น เวลาเดินก็ระลึกรู้ตัวอยู่ว่าเดิน หรือเวลาทำก็ระลึกรู้ว่ากำลังทำสิ่งนั้น ๆ อยู่
เมื่อมี “สติ” ก็ทำให้เกิด “ปัญญา” สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรควร-ไม่ควร เรียกว่ามีความตระหนักรับรู้อยู่ทุกขณะว่ากำลังทำอะไร คิดอะไร และเมื่อรู้แล้ว “สติ” ก็จะเป็นเครื่องมือที่ดีที่ให้ทำทุกอย่างได้อย่างแน่วแน่มากขึ้น เช่น พอมีสติก็ทำให้เกิดความละเอียดรอบคอบในการทำงาน ไม่สะเพร่า ไม่ชะล่าใจว่าสิ่งนั้น ๆ เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่เป็นไร สุดท้ายก็ทำให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ถ้าไม่มีสติ อะไรจะเกิดขึ้น
หากไม่มีสติ ก็แปลว่าไม่มีการรับรู้กับสิ่งที่ตนทำอยู่ ไม่มีความรู้สึกผิดชอบหรือรู้สึกตัว และอาจดำรงตนอยู่ในความประมาทก็เป็นได้ และบางครั้ง บางเหตุการณ์ ความไม่มีสติอาจทำให้ถึงตายได้เลย เช่น เมื่อจมน้ำแม้ว่ายน้ำไม่เป็น หากมีสติก็อาจมีชีวิตรอดได้ แต่ถ้าไม่มีสติ มัวแต่ตื่นกลัวก็ยากที่จะเอาตัวรอดไปจากสถานการณ์นั้นได้
แต่ใช่ว่าทุกคนจะมีสติหรือตั้งสติกันได้ง่าย ๆ ของแบบนี้ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ เพราะคนเราส่วนใหญ่มักจะตื่นตระหนกกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันอยู่แล้ว ถ้าไม่ฝึกจิต ฝึกควบคุมสติมาก่อน น้อยคนนักที่จะตั้งสติเอาไว้ได้
วิธีฝึกจิตให้มีสติแตกต่างจากการทำสมาธิที่ต้องสูดลมหายใจเข้า-ออกลึก ๆ กำหนดลมหายใจ ปล่อยวางให้ว่างเปล่า แต่การฝึกให้มีสตินั้น เป็นการทำให้จิตอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นการกำหนดรู้ว่าจิตกำลังคิดอะไรอยู่ จดจ่อกับสิ่งที่คิดหรือทำอยู่เท่านั้น ไม่ล่องลอย คิดเรื่อยเปื่อยนอกลู่นอกทาง ถ้ายังไม่รู้ว่าจิตคิดอะไร จิตก็จะไม่อยู่กับตัว สติก็ไม่มี วิธีนี้จะทำให้เรามีสติไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ
อย่างที่บอกว่าการมี “สติ” เป็นเรื่องต้องฝึกฝน อย่าคิดว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่มองข้ามไปได้ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์คับขันขึ้นจริง ๆ “สติ” เป็นสิ่งที่ทำสำคัญมาก และเป็นสิ่งที่ทำให้คุณหลุดพ้นจากหายนะได้ง่าย ๆ ด้วยเหมือนกัน
ณัฏฐากร เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติทั้งในทางโลกและทางธรรม
13 ธ.ค. 2560 เวลา 12.28 น.
Y0S แล้วสมมุต ถ้ามีโจรมาดักปล้นเราแล้วเรามีสติ และมีวรยุทรบังเอิญพรั้งมือทำโจรตายด้วยมือเปล่า เราต้องติดคุกไหม
13 ธ.ค. 2560 เวลา 15.33 น.
ยุ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิด้วยนะคะที่แนะนำสิ่งดีๆๆนำมาปรับปรุงชีวิตการดำรงชีวิตมาใช้อย่างมาสติการมีสติมีชัยไปกว่าครึ่งหรือมากกว่าครึ่งสาธุขอบคุณมากๆๆค่ะ
13 ธ.ค. 2560 เวลา 18.50 น.
สาธุค่ะ
13 ธ.ค. 2560 เวลา 15.00 น.
wilawan ชอบคะ
13 ธ.ค. 2560 เวลา 16.55 น.
ดูทั้งหมด