หากนึกย้อนไปตอนที่เราเป็นเด็กตัวเล็กๆ อยู่ในวัยหัดอ่าน หัดเขียน พ่อแม่และคุณครูจะเป็นคนอ่านหนังสือ และเล่านิทานให้เราฟังก่อนเราจะสามารถอ่านได้เอง
*แท้จริงแล้ว… เราหลายคนจึงเริ่ม “ฟัง” ก่อน “อ่าน” หนังสือเสียอีก !! *
เชื่อว่าเมื่อโตมาหลายคนคงคุ้นชินกับการอ่านหนังสือมากกว่า แต่เมื่อโลกถึงยุคที่จากหนังสือเล่มขยับเป็น E-Book ในคอมพิวเตอร์และขยับต่อไปเป็น Audiobook หรือหนังสือเสียง
เมื่อมีตัวเลือกให้เสพหนังสือได้หลายแบบ การเสพหนังสือแบบไหนจะดีกว่ากัน ?
การฟังแทนอ่าน จะถือว่าเป็นการอ่านหนังสือเหมือนกันไหม ?
ที่จริงแล้ว ไม่มีการอ่านแบบไหนที่ทดแทนกันได้ “ฟัง” และ “อ่าน” ล้วนดีคนละแบบ เมื่อ “ฟัง” หนังสือ จะมีโทนเสียงหรือน้ำเสียงของคนอ่าน ทำให้โอกาสตีความคลาดเคลื่อนมีน้อยกว่า
ในขณะที่เมื่อ “อ่าน” หนังสือ เราจะอ่านในใจ ทำให้การตีความและโทนเสียงที่ใช้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวของเราคนเดียวล้วนๆ
การ “อ่าน” เหมาะกับการทำความเข้าใจเนื้อหายากๆ ที่ต้องให้เวลาสมองประมวลผลและครุ่นคิดมากกว่า เพราะการคิดไปด้วยจะทำให้การอ่านช้าลงจึงเหมาะกับการอ่านจากหน้ากระดาษ ที่เราสามารหยุดอ่าน อ่านซ้ำ และพลิกหน้าใหม่ได้ตามสะดวก
ในทางกลับกัน ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดของ Audiobook คือ สามารถฟังระหว่างเดินทาง หรือ ขับรถได้ ซึ่งการอ่านหนังสือเป็นเล่มอาจไม่สะดวกที่จะทำแบบนั้น จึงเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ
หากอยากอ่านด้วยความเร็ว และอ่านได้หลายเล่มต่อปี การฟังหนังสือก็จะช่วยในเรื่อง Speed Reading เร่งเสียงพูดให้พูดเร็วขึ้นได้ด้วย จะเห็นว่าการอ่านแต่ละแบบให้ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และหนังสือแต่ละเล่มล้วนเหมาะกับวิธีอ่านท่ีต่างกัน
เมื่อการฟังหนังสือเป็นที่นิยมมากขึ้น ในอนาคตนักเขียนอาจจะผลิตชิ้นงานออกมาในรูปแบบที่เหมาะแก่การฟังมากขึ้นด้วยก็ได้
ไม่ว่าจะเลือกอ่านหนังสือด้วยวิธีไหน ประสบการณ์ในการอ่านที่ดีที่สุดมาจากการที่เราเข้าใจว่า หนังสือที่อยากอ่านเหมาะกับการอ่านแบบไหนและไลฟ์สไตล์ของเราเป็นแบบไหน เพื่อที่จะได้อ่านหนังสือสนุกและได้ใจความที่คนเขียนอยากจะบอกเราด้วยค่ะ
ที่มา:
https://bookriot.com/2018/07/10/audiobooks-vs-reading/
https://www.nytimes.com/2018/12/08/opinion/sunday/audiobooks-reading-cheating-listening.html
About Me
Instagram: http://www.instagram.com/faunglada
Facebook: http://www.facebook.com/faunglada
Youtube: http://www.youtube.com/faunglada
Twitter: @faunglada
Website: www.faunglada.com
Ben฿Ben฿Ben฿Ben฿Ben อ่านมันได้จินตนาการภาพตามในหัว นี่คิดว่ามันได้อรรถรสมากกว่าอ่ะ เพราะว่าตัวคิดว่าหนังสือมันเก็บรายละเอียดมากว่า เช่น ดูหนังที่มีออกมาเป็นหนังสือ หนังจะตัดรายละเอียดยิบย่อยออก มันคนล่ะฟิลกะอ่านจริงๆ เป็นนักอ่านค่ะ
10 ม.ค. 2562 เวลา 11.48 น.
สุ จิ ปุ ลิ หัวใจของนักปราชญ์
สุ = ฟัง
จิ =การคิด
ปุ =การถาม
ลิ =การเขียน
เราถนัดไม่เหมือนกันค่ะ
ฉันชอบฟังบรรยายมากกว่า แล้วค่อยๆคิดตาม
แต่จริงๆ แล้ว ถ้าอยากให้ประโยชน์ถึงพร้อมต้องอาศัย ทั้ง 4 อย่าง
อายตนะ ถ้ามีกำลังทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
จะรับรู้ถึงสิ่งที่กระทบ
ถ้าหูเรามีกำลัง. ฟังเสียงบรรยายธรรม
จะไพเราะมาก ทำให้เราสนใจเนื้อหา. ค่อยๆ คิดตาม จะซาบซึ้งในคำบรรยาย
จะทำให้เราศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ศรัทธาเรามี ก็จะกำลัวใจบำเพ็ญความเพียร
ดึงสติเวลาที่จิตเราตกได้ค่ะ
10 ม.ค. 2562 เวลา 11.44 น.
@... แต่ที่รู้ๆผมชอบอ่านบทความต่างๆของนักเขียนหลายๆท่านครับ เพราะนั่นสามารถทำให้ผมได้รู้ถึงในมุมมองที่แตกต่างกันออกไปจากเพื่อนๆที่ได้เข้ามาคอมเม้นท์กัน ชึ่งตรงนั้นก็สามารถที่จะทำให้ผมนำมาเพื่อปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับตัวของผมเองได้เหมือนกันนะครับ.
10 ม.ค. 2562 เวลา 11.15 น.
(ปฏิบัติธรรม) Ekapol เขียนได้ดีครับ นานๆจะเห็นบทความที่เป็นประโยชน์ใน Line today ซักที
11 ม.ค. 2562 เวลา 03.41 น.
coffeekrap ถ้ามีใครอ่านหนังสือแนวอีโรติคให้เราฟังมันจะไม่ได้อารมณ์เท่าอ่านเอง
12 ม.ค. 2562 เวลา 03.27 น.
ดูทั้งหมด