ทั่วไป

ศาล รธน. : การตีความปมเลือกตั้ง 150 วัน?

SpringNews
เผยแพร่ 10 ม.ค. 2562 เวลา 07.31 น. • SpringNews

“ส่วนจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เพื่อความชัดเจนหรือไม่นั้น ยอมรับว่า เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำได้ แต่เมื่อยังไม่มีการกำหนดวันเลือกตั้ง จึงยังไม่มีเหตุที่จะต้องส่งให้ศาลตีความ”

“อิทธิพร บุญประคอง” ประธาน กกต.รับว่าเป็นช่องทางหนึ่ง ที่จะหาข้อยุติประเด็นกรอบเวลา 150 วัน ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ที่จะต้องจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาด และที่ต้องรอการกำหนดวันเลือกตั้งก่อน ก็เพราะต้องให้มีเหตุที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยเสียก่อน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จู่ๆ คงมิอาจหยั่งรู้ล่วงหน้าได้ว่า จะมีการเลือกตั้งวันนั้น วันนี้ โดยที่ยังไม่มี พ.ร.ฎ.การเลือกตั้ง!?

เห็นใครต่อใครในรัฐบาลโยนให้ กกต.เคาะวันเลือกตั้งที่แน่นอน ก็ได้แต่เห็นใจ 7 กกต.เพราะการที่ กกต.จะกำหนดวันเลือกตั้งได้ ต้องมี พ.ร.ฎ.การเลือกตั้งออกมาก่อน ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการ จากนั้น ถึงจะเป็นหน้าที่กกต.ไปกำหนดวันเลือกตั้งภายใต้กรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด

ฟังผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเปรียบเทียบการเลือกตั้งหนนี้ได้เห็นภาพชัดว่า เปรียบประชาชน พรรคการเมือง เสมือนคนนั่งล้อมวงรอรับประทานอาหารมื้อสำคัญ ที่ 7 กกต.ทำหน้าที่พ่อครัวปรุงอาหารเสิร์ฟขึ้นโต๊ะ ซึ่งรอแล้วรอเล่าอาหารก็ไม่มาเสียที บางคนใจร้อนก่นด่า 7 กกต.ตามประสาโมโหหิว แต่หารู้ไม่ว่า 7 พ่อครัวใหญ่ ก็รอรัฐบาล รอนายกฯ ลุงตู่ อยู่ว่าเมื่อไหร่จะไปจ่ายตลาดเสียที

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เพราะสารพัดเมนูเด็ดที่จะเสิร์ฟขึ้นโต๊ะโดยฝีมือ 7 กกต.นั้น ยังรอวัตถุดิบจากคนจ่ายตลาดอยู่!?

เอาล่ะ ไม่ว่า พ.ร.ฎ.การเลือกตั้ง จะออกมาในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ ถ้าหากยังติดใจสงสัยเรื่องกรอบเวลา 150 วัน และคำว่า”ให้แล้วเสร็จ” แค่ไหนถึงจะเรียกว่าแล้วเสร็จ แค่หย่อนบัตร ปิดการลงคะแนน หรือต้องนับคะแนน ประกาศผล และต้องให้ได้ร้อยละ 95 เพื่อให้เพียงพอต่อการนำไปสู่การเปิดสภานัดแรกด้วย เพราะนาทีนี้รัฐบาล-กกต.ยังมองต่างมุมกัน

รัฐบาลยึดตาม กรธ.ที่ยืนยันกรอบเวลา 150 วัน เพียงแค่การกำหนดวันเลือกตั้ง ดังรายละเอียดในเนื้อหา มาตรา 171 พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ซึ่งอยู่ในบทเฉพาะกาล แต่ กกต.เล่นเกมเพลย์เซฟ ยึดหลักปลอดภัยไว้ก่อน ต้องให้ครอบคลุมถึงการรับรองผล ร้อยละ 95 ด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ประเด็นนี้จะไม่เป็นปัญหา หาก กกต.รวบเอาทุกอย่าง ทั้งการหย่อนบัตรลงคะแนน ไปจนถึงประกาศรับรองผล ร้อยละ 95 ไว้ในกรอบ 150 วัน แต่ถ้าหลุดกรอบออกไปแม้เพียงวันเดียว นั่นแหล่ะปัญหาใหญ่ ที่จะต้องใช้บริการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตาม รธน.มาตรา 210 (2)

แม้ศาลรัฐธรรมนูญ จะไม่ใช่ที่ปรึกษากฎหมายให้ใคร?

แม้ศาลรัฐธรรมนูญ จะไม่มีหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ?

แต่กรณีนี้เข้าเกณฑ์ตาม รธน.มาตรา 210(2) ที่จะยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความแล้ว เหลือองค์ประกอบสำคัญอีกเรื่องเดียวเท่านั้น คือ พ.ร.ฎ.การเลือกตั้ง ส่วนถ้ายื่นไปแล้วจะต้องใช้เวลากี่วันกี่คืนกว่าจะได้คำตอบ และระหว่างที่รอจะเจอ ”โรคแทรกซ้อน” มีปัญหาหลุดกรอบ ล้นกรอบตามมาอีกหรือเปล่า..อยู่ที่ดุลยพินิจศาลครับ!?

 

โดย บอน ณ บางแก้ว

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 24
  • จำชื่อมีชัยถุงยางอนามัยและบริกรแว่นหนากลาคอบ
    10 ม.ค. 2562 เวลา 08.33 น.
  • ประเทศกูมี เขียนกฎหมายเพื่อมาตีความ แล้วเมื่อไหร่มันจะเจริญ
    10 ม.ค. 2562 เวลา 08.13 น.
  • AUZZIE888 JMP GROUP
    ไอ้คนที่เขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาแมร่งยังตอบไม่ได้เลย แต่ถ้าดูจากคำว่าต้องแล้วเสร็จภายใน 150 วัน ความหมายก็น่าจะเป็นแบบที่ กกต คิด คือเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลคะแนนได้ 95 เปอร์เซ็นต์ เพราะคำว่าแล้วเสร็จ หมายถึง การเสร็จสมบูรณ์....
    10 ม.ค. 2562 เวลา 08.24 น.
  • วิศิษฐ์
    รัฐตียาวไว้ก่อนจะได้อยู่ยาว กกต.ตีสั้นไว้ก่อน จะได้ไม่ติดคุกยาว
    10 ม.ค. 2562 เวลา 08.30 น.
  • Tham
    โมฆะ.. เมื่อไหร่.. แผ่นดิน ลุก เป็น ไฟ.. แผดเผา... ลายพราง ... แน่นอน
    12 ม.ค. 2562 เวลา 13.55 น.
ดูทั้งหมด