ไลฟ์สไตล์

"ธรรมฤทธิ์ จิรา" นักสะสมคนไทย ผู้ส่งมอบโบราณวัตถุบ้านเชียง-แม่น้ำมูล104ชิ้นอายุ1,800-5,000 ปีให้กรมศิลป์ฯดูแล

ไทยโพสต์
อัพเดต 22 ก.พ. 2562 เวลา 07.08 น. • เผยแพร่ 22 ก.พ. 2562 เวลา 07.08 น. • ไทยโพสต์

 

22 ก.พ. 62- เหตุผลที่นายธรรมฤทธิ์ จิรา นักสะสม ผู้ครอบครอง โบราณวัตถุและศิลปโบราณ รส่งมอบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสมัยบ้านเชียงอายุ1,800-5,000 ปี  จำนวน 104 รายการ  เพือเป็นสมบัติของชาติ และุอยู่ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร โดยได้มีการนำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุบางส่วนมาจัดแสดง ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 นายธรรมฤทธิ์ จิรา กล่าวว่า ครั้งหนึ่งได้เคยไปเห็นโบราณวัตถุบ้านเชียง จัดโชว์อยู่ที่ประเทศอเมริกา ทำให้เกิดความรู้สึกชอบและอยากสะสม เพราะทำให้เห็นอารยธรรม และความเป็นอยู่ของคนสมัยก่อน ของสะสมส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ ที่ได้มากจากพ่อบ้าง และคนอื่นให้มาบ้าง และก็มีซื้อเองด้วย  มีทั้งเครื่องปั้นดินเผา สำริด กระเบื้องโบราณทั้งไทยและจีน และภาพวาด แต่ชิ้นที่นำมามอบให้ทั้ง 104 ชิ้น ของทั้งหมดที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาอสำริด ที่ยังคงเหลือเก็บไว้ก็จะเป็นกระเบื้อง ภาพวาด และงานอาร์ต และจะไม่มีการซื้อเพิ่มอีก 

เครื่องประดับสมัยประวัติศาสตร์ภาคกลาง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“มีหลายชิ้นที่ชอบและรัก ทุกชิ้นจึงพิเศษ และบางชิ้นก็หาได้ยาก หรือไม่สามารถนำออกนอกประเทศได้ อย่างชิ้นที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ที่ไม่สามารถนำออกนอกประเทศได้ หรือ ชิ้นที่อยู่ลึกในดินดำ ที่ค่อนข้างมีความสมบูรณ์ ส่วนใหญ่จะมีอายุราวๆ 3,500 ปี หรือชิ้นที่เป็นกำไล หรือสำริด ที่มีความสวยงามและผมก็ชื่นชอบมาก  โดยก่อนที่จะนำมามอบให้กับกรมศิลปากร ได้มีการปรึกษากับลูกๆ เพราะผมก็อายุมากขึ้น และคิดว่าหากมอบให้ก็จะได้รับการดูแลรักษาอย่างดี และยังแบ่งปันให้กับผู้อื่นให้ได้ชมด้วย เพราะอย่างไรถึงแม้ว่าของเหล่านี้จะไม่ได้อยู่ที่บ้านแล้ว แต่เราก็ยังสามารถเดินทางมาชมได้ และอยากให้คนที่สะสมของวัตถุโบราณได้นำมาแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ขมด้วยเช่นกัน” ธรรมฤทธิ์ กล่าว 

ครอบครัวจิรา นำชมโบราณวัตถุ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 สำหรับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ได้รับการมอบให้เป็นสมบัติของชาติในครั้งนี้ มีโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุราว 1,800 – 4,300 ปีมาแล้ว ประกอบด้วยเครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้สำริด เครื่องประดับทำด้วยหิน แก้ว และเปลือกหอย บางชิ้นได้รับการซ่อมแซมต่อเติมให้มีสภาพสมบูรณ์ และมีวัตถุจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นศิลปวัตถุทำขึ้นเลียนแบบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่สามารถกำหนดอายุสมัยตามแหล่งที่มาได้ อาทิ 

   1.กลุ่มโบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภาคกลาง  หลักฐานประเภทภาชนะดินเผาที่พบ ที่มีลักษณะโดดเด่นคือ ภาชนะดินเผาทรงก้นกลม คอคอด ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่มีฐานเตี้ย และไม่มีฐาน ภาชนะดินเผาที่มีลักษณะพิเศษของวัฒนธรรมนี้น่าจะได้แก่ภาชนะดินเผาทรงพานสูง และทรงบาตร  นิยมตกแต่งผิวภาชนะด้วยการทาน้ำดินสีแดง กดประทับด้วยลายเชือกทาบ หรือขูดขีดด้วยเครื่องมือปลายแหลม  มีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ อาทิ แหล่งโบราณคดีบ้านพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวดลพบุรี กำหนดอายุราว 1,500 - 2,500 ปีมาแล้ว

กลุ่มโบราณวัตถุกระดึงสำริด และดินเผาในลุ่มแม่น้ำมูล

   2.กลุ่มวัฒนธรรมลุ่มน้ำสงคราม หรือกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี สกลนครและหนองคาย หรือกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง ภาชนะดินเผาในกลุ่มนี้มีรูปทรงที่หลากหลาย และสามารถจำแนกลักษณะออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ 2.1 ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุระหว่าง 3,000 – 4,300ปีมาแล้ว เป็นภาชนะดินเผาสีดำหรือเทาเข้ม มีเชิงหรือฐานเตี้ย ตัวภาชนะมักจะตกแต่งด้วยลายขีดเขียนเป็นเส้นคดโค้ง ลายเชือกทาบ และลายกดประทับ 2.2 ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 2,300 - 3,000 ปี ลักษณะเด่น คือ มีขนาดใหญ่ ผิว นอกเป็นสีขาว ไหล่ภาชนะหักเป็นมุม มีทั้งแบบก้นกลมและก้นแหลม บางใบมีการตกแต่งด้วยลายขีดผสมกับลายเขียนหรือทา ด้วยน้ำดินสีแดง 2.3 ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 1,800 - 2,300 ปี นิยมเขียนลายและตกแต่งภาชนะด้วยสีแดง เป็นลวดลายที่สื่อถึงความหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ อาทิ ลายงู  ลายก้นหอย และลายรูปสัตว์ เป็นต้น โบราณวัตถุกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่นายธรรมฤทธิ์ จิรา มอบในครั้งนี้ ยังประกอบไปด้วย เครื่องมือเครื่องใช้โลหะ ซึ่งบ่งบอกถึงการสร้างสรรค์งานโลหะกรรมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมบ้านเชียง ได้แก่ เครื่องประดับสำริด

เครื่องปั้นดินเผายุตก่อนประวัติศาสตร์แม่น้ำมูล

 

   3.โบราณวัตถุกลุ่มแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ลุ่มแม่น้ำมูล  ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล พบวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปทรงหลากหลาย ที่โดดเด่นคือแหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง จังหวัดอุบลราชธานี ภาชนะดินเผากลุ่มนี้จะมีลักษณะพิเศษ คือ มีเนื้อดินสีส้ม การตกแต่งด้วยการขูดขีดที่บริเวณขอบปาก วัตถุประเภทเครื่องมือเครื่องประดับ เครื่องใช้สอยสำริด พบว่าเทคนิคการผลิตเพื่อใช้หล่อสำริดมีฝีมือประณีต ซับซ้อน มีเทคนิคและลวดลายกับเครื่องสำริดในคล้ายกับวัฒนธรรมดองเซิน ประเทศเวียดนาม กำหนดอายุสมัยอยู่ในราว 1,500 - 2,500 ปีมาแล้ว ภาชนะดินเผาและวัตถุทางโบราณดีต่างๆ เหล่านี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในการใช้ศึกษาวิเคราะห์ถึงวิถีชีวิตมนุษย์สมัยโบราณในแง่มุมต่าง ๆ ได้ อาทิ พฤติกรรมด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี ศิลปะ และสังคม เป็นหลักฐานในการจัดลำดับอายุสมัย และบ่งบอกช่วงเวลาของวัฒนธรรมและชุมชนในแหล่งโบราณคดีนั้น ๆ เป็นหลักฐานในการคำนวณความหนาแน่นของประชากร

 ภาชนะทรงก้นหม้อ โบราณวัตถุภาคกลาง และโบราณวัตุชิ้นอื่นๆ

เครื่องประดับสมัยประวัติศาสตร์ภาคกลาง

ด้าน นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ) กล่าวว่า วธ.ตระหนักถึงความสำคัญของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ มรดกอันล้ำค่าของชาติ จึงมีนโยบายในการติดตามหรือขอคืนโบราณวัตถุของไทยที่อยู่ในต่างประเทศให้กลับมาเป็นสมบัติของชาติ โดยบูรณาการความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนภาคส่วนต่าง ๆ และในช่วงที่ผ่านมา ได้รับคืนโบราณวัตถุของไทยจากประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลีย จำนวน 8 ครั้ง รวม 751 รายการ และในครั้งนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2561 วธ.ได้รับการติดต่อจากนายธรรมฤทธิ์ จิรา ว่ามีความประสงค์จะส่งมอบโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์วัฒนธรรมบ้านเชียง อายุราว 1,800 - 5,000  ปี จำนวน 104 รายการ ไว้เพื่อเป็นสมบัติของชาติ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประชาชนแสดงเจตจำนงจะมอบโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า จำนวนมากให้กับราชการ

ภาชนะดินเผาบ้านเชียงสมัยตอนต้น

 

 

 

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • Mom
    น่าชื่นชม และ นับถือความมีนำ้ใจ จริงกับคำที่ว่า สมบัติผลัดกันชม
    23 ก.พ. 2562 เวลา 01.27 น.
ดูทั้งหมด