ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ทีวี-สิ่งพิมพ์-นิตยสารติดลบอื้อ    “ทีวีไดเร็ค” ครองแชมป์ใช้เงินสูงสุด 6 เดือนแรก

ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่ 15 ก.ค. 2562 เวลา 10.18 น.

           สื่อโฆษณาติดลบกราวรูด  นีลเส็นเผยเม็ดเงินโฆษณาครึ่งปีแรกกว่า 5 หมื่นล้านบาท ติดลบ 2%  “ทีวี-เคเบิล-สิ่งพิมพ์-วิทยุ-แม็กกาซียน-โรงหนัง” วูบต่อเนื่อง  ขณะที่ “ทีวีไดเร็ค” ครองแชมป์ใช้เงินโฆษณาสูงสุดกว่า 738 ล้านบาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

          นีลเส็น ประเทศไทย เปิดเผย การใช้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ในช่วง 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน 2562 ) พบว่า มีมูลค่ารวม  50,702 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 2%  ที่มีมูลค่า 51,735 ล้านบาท แบ่งเป็น สื่อโทรทัศน์ 33,079 ล้านบาท ติดลบ 0.58 %  ทีวีดาวเทียม 1,075 ล้านบาท ติดลบ 13.31%   วิทยุ 2,176 ล้านบาท ติดลบ  3.63 %  หนังสือพิมพ์  2,388 ล้านบาท ติดลบ 17.74 %  นิตยสาร 515  ล้านบาท ติดลบ 21.13 %  โรงภาพยนตร์ 3,681 ล้านบาท ติดลบ 4.04% สื่อนอกบ้าน 3,373 ล้านบาท เติบโต 1.32%  สื่อเคลื่อนที่ 3,147 ล้านบาท เติบโต 6.07% สื่อ ณ จุดขาย 514 ล้านบาท และ สื่อดิจิทัล 302 ล้านบาท

            ขณะที่ตัวเลขการใช้เม็ดเงินโฆษณาเฉพาะในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีมูลค่ารวม  9,044 ล้านบาท  ติดลบจากปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน 5.38% ที่มีมูลค่าราว 9,588 ล้านบาท แบ่งเป็น สื่อโทรทัศน์ 5,929 ล้านบาท ติดลบ 6.72%  ทีวีดาวเทียม 174 ล้านบาท ติดลบ 20.91%   วิทยุ 418 ล้านบาท เติบโต 1.95%  หนังสือพิมพ์  398ล้านบาท ติดลบ 22.72%  นิตยสาร 81  ล้านบาท ติดลบ 22.12 %  โรงภาพยนตร์ 626 ล้านบาท ติดลบ  5.44% สื่อนอกบ้าน 607 ล้านบาท เติบโต 6.12%  สื่อเคลื่อนที่ 556 ล้านบาท เติบโต 9.66% สื่อ ณ จุดขาย 97 ล้านบาท เติบโต 15.48% และ สื่อดิจิทัล 157 ล้านบาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับแบรนด์สินค้าที่ใช้เม็ดเงินโฆณาสูงสุด 10 อันดับแรกในช่วง 6 เดือนแรก ได้แก่ 1.  ทีวีไดเร็ค ใช้งบโฆษณา 738 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่ใช้เงินกว่า 1,281 ล้านบาท  2. สนุก ช้อปปิ้ง  637  ล้านบาท 3.โคคา โคล่า  587 ล้านบาท  4.ธนาคารออมสิน 535  ล้านบาท   5.โอ ช้อปปิ้ง  528  ล้านบาท  6. น้ำยาปรับผ้านุ่มดาวน์นี่  410  ล้านบาท  7.เป๊ปซี่   358   ล้านบาท  8.โทรศัพท์มือถือซัมซุง 339  ล้านบาท 9.รถยนต์โตโยต้า  327 ล้านบาท และ 10.รถกระบะฟอร์ด 308  ล้านบาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ